ผมรู้สึกตื่นเต้นและดีใจที่รัฐบาลไทยเข้าใจโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงเมื่อผู้นำมีความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงก็จะสามารถนำพาประเทศเข้าสู่ยุค 4.0 ได้หากสามารถทำได้จะเป็นการเปลี่ยนโฉมหน้าประเทศไทยเป็นอย่างมากอย่างไรก็ตามปัจจุบันนี้ก็ถือว่าไม่ช้าจนเกินไปเพราะประเทศไทยยังอยู่ในเส้นทางการแข่งขันยังไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบและประเทศไทยเองสามารถนำคนเก่งจากต่างประเทศเข้ามาช่วยขับเคลื่อนได้แต่ต้องขึ้นอยู่กับกฎหมายและนโยบายของประเทศว่าจะเอื้อประโยชน์มากน้อยเพียงไร
จากสินค้าโภคภัณฑ์ไปสู่สินค้านวัตกรรม
สิ่งที่เราต้องเข้าใจเป็นอันดับแรกก็คือก่อนที่ประเทศไทยจะก้าวมาสู่ยุค 4.0 นั้นเราเริ่มต้นมาจากยุค 1.0 คือเป็นสังคมเกษตรกรรมเน้นผลิตและขายวัตถุดิบเกษตรทั่วไปหลังจากมีเริ่มต้นพัฒนาภาคเกษตรกรรมต่อมาจึงค่อยปรับมาสู่ยุค 2.0 เน้นการลงทุนอุตสาหกรรมเบาที่มุ่งเน้นแรงงานราคาถูกเช่น สิ่งทอ อาหาร ต่อมาก็เป็นไทยแลนด์ 3.0 มุ่งเน้นการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมหนักและเรื่องของการส่งออกซึ่งการพัฒนาของประเทศไทยใน 3 ยุคแรกนั้นไทยมีการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงสุดเฉลี่ยถึง 7% ต่อปีแต่มาถึงจุดหนึ่งหลังปี 2540 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจลดลงมาเป็น 3-4% ต่อปีที่เป็นเช่นนั้นเพราะไทยไม่เคยปรับโครงสร้างเศรษฐกิจอย่างจริงจังมาก่อนและไม่เคยมีการพัฒนาเทคโนโลยีของตัวเองแรงงานไม่ได้มีทักษะจนกลายเป็นปัญหาความเหลื่อมล้ำของโอกาส
แต่สิ่งที่เป็นปัญหาอยู่ในตอนนี้ก็คือเรายังติดอยู่กับยุค 3.0 คือยังมีความคิดแบบ “ทำมากได้น้อย” อยู่แต่ตอนนี้ถึงเวลาเปลี่ยนแล้วเมื่อเราก้าวสู่ 4.0 เราจะต้องเน้น “ทำน้อยได้มาก” เปลี่ยนสินค้าโภคภัณฑ์ธรรมดาให้กลายมาเป็นสินค้าแบบนวัตกรรมคือเปลี่ยนเปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิม (Traditional Farming) ไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ (Smart Farming) ภาคอุตสาหกรรมก็ต้องมีแผนธุรกิจใหม่ต้องหันมาสนใจเรื่องเทคโนโลยีเครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะหุ่นยนต์ และระบบเครื่องกลที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาช่วยควบคุมการผลิตคือต้องรู้และเข้าใจหลักการในการบริหารการพัฒนาผลิตผลให้มีปริมาณที่มากและมีคุณภาพดีไปพร้อม ๆ กันอย่างนี้เป็นต้นโดยภาครัฐจะช่วยส่งเสริมเรื่องของการวิจัยและพัฒนาตรงส่วนนี้ด้วย
Inclusive Growth Engine ขับเคลื่อนประเทศด้วยเทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์
“การเปลี่ยนแปลงของโลกยุค 4.0 มีทั้งวิกฤติและโอกาสในเวลาเดียวกันวิกฤติก็คือบริษัทที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนแปลงไม่ทันท้ายสุดก็อาจต้องล้มละลายไปแต่ส่วนตัวมองว่ามีโอกาสมากกว่าวิกฤติ”
ธนินท์ เจียรวนนท์
เป็นการบริหารการพัฒนาเศรษฐกิจระดับฐานรากในชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในทุกภาคส่วนโดยภาครัฐจะให้การส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคมส่งเสริมและสนับสนุนให้ SMEs แบบเดิมไปสู่การเป็น Smart Enterprises และ Startups ที่มีศักยภาพสูงสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลกได้อย่างมั่นใจโดยจะพยายามผลักดันให้กลุ่ม Startups รุ่นใหม่งัดเอาความรอบรู้ในเรื่องเทคโนโลยีใหม่ที่เป็นเทรนด์กระแสโลกออกมาใช้เขียนแผนธุรกิจควบคู่ไปกับการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดใหม่ ๆ ที่สอดคล้องซึ่งจะนำไปสู่การผลิตนวัตกรรมใหม่อันทรงคุณค่าที่จะเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มธุรกิจอื่น ๆ ซึ่งเรามีโอกาสที่จะได้เทคโนโลยีการเกษตร (Agritech) เทคโนโลยีอาหาร (Foodtech) เทคโนโลยีสุขภาพ (Healthtech) E–Marketplace และอื่น ๆ อีกมากมายจากการส่งเสริมของภาครัฐในส่วนนี้ซึ่งภาครัฐก็ประกาศตัวแล้วว่าสนับสนุนเต็มที่แหล่งเงินทุนต่าง ๆ ก็เตรียมหการสนับสนุน Startups ไอเดียเลิศกันอยู่แบบนี้สิถึงเรียกว่า “ฝันมีโอกาสเป็นจริง”
แนะนำบทความน่าอ่าน
- ผู้นำธุรกิจ 4.0 บริหารงานคนนำพาธุรกิจให้ยั่งยืน
- ธุรกิจ STARTUP – ไม่ใช่แค่กระแสแต่เป็นทางเลือกใหม่
- นวัตกรรม – ผลผลิตทางความคิดที่เปลี่ยนวิถีผู้คน
- สร้างโอกาสให้ทุกธุรกิจ กับ 5 แหล่งเงินทุนที่สนับสนุนสตาร์ทอัพ
- รวมแหล่งเงินทุน SME และ STARTUP
- สร้างสรรค์โลก – ด้วยไอเดีย
- 3 เทคนิคเป็นฟรีแลนซ์ให้ได้งานอย่างสม่ำเสมอ
Green Growth Engine การเน้นภาคบริการมากขึ้น
การสร้างความมั่งคั่งของไทยในอนาคตข้างหน้านี้จะไม่เน้นเรื่องของการผลิตอย่างเอาเป็นเอาตายอย่างเดียวในคณะที่มีการผลิตก็จะหันกลับมาสนใจการบริหารการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างคนกับทรัพยากรธรรมชาติไปด้วยอีกทั้งยังหันมามุ่งเน้นเรื่องของ High Value Services มากขึ้นด้วยทั้งหมดนี้จัดว่าเป็นสิ่งที่องค์กรธุรกิจต่าง ๆ จะต้องใส่ลงไปในแผนธุรกิจอีกด้วยเป็นการเปลี่ยนจากการผลิตสูงแบบไม่ลืมหูลืมตาไม่สนใจผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องบริการคือยังยืดรูปแบบ Traditional Services ซึ่งเป็นการบริการที่ไม่ดีและมีมูลค่าต่ำมาสู่การสนใจเรื่องทรัพยากรธรรมชาติพร้อมกับยกระดับการบริการมูลค่าสูงควบคู่ซึ่งตรงนี้ทางภาครัฐจะมุ่งเน้นศึกษาและให้ความสำคัญกับเรื่องของพลังงานทดแทนควบคู่ไปกับการพัฒนาฝีมือแรงงานให้มีทักษะความรู้ความเข้าใจในวิชาชีพมีความเชี่ยวชาญในงานและต้องเข้าใจถึงเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในงานที่ทำด้วยเมื่อภาครัฐมองเห็นความสำคัญกันขนาดนี้ประเทศไทย 4.0 จึงเป็นไปได้ไม่ใช่เรื่องฝันอีกต่อไป
แนวทางการเขียนแผนธุรกิจเพื่อปรับตัวสู่การเป็นผู้ประกอบการในยุค 4.0
Trade
- ให้ความสำคัญกับเรื่องเทคโนโลยีดิจิตอลมากขึ้น
- มองตลาดที่กว้างขึ้นก้าวไปสู่การค้าขายแบบไร้พรมแดน (Borderless)
- หันมาทำตลาดที่เกี่ยวข้างกับเรื่องอารมณ์และความรู้สึกของผู้บริโภคให้มากขึ้น
- รักษามาตรฐานของสินค้าและบริการไว้ให้ดีที่สุด
Services
- ลองนำความเป็นไทยเข้ามาใส่ในการบริการเน้นให้ผู้บริโภครู้สึกถึงคุณค่าของความเป็นไทยให้มากขึ้นไม่ว่าผู้บริโภคจะเป็นชาวต่างชาติหรือคนไทย
- ใส่ความคิดสร้างสรรค์ในการบริการและลองดีไซน์การบริการรูปแบบใหม่ที่ยังไม่เคยมี
- ผสานการบริการให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีดิจิตอลและโลกออนไลน์
- รักษามาตรฐานการบริการอันน่าประทับใจไว้เสมอ