ถ้าคุณคือหนึ่งในผู้ประกอบการธุรกิจส่วนตัวแบบ SMEs ที่ดำเนินกิจการมาได้อย่างราบรื่นสักระยะใหญ่ ๆ แล้วธุรกิจส่วนตัวของคุณไปได้สวยกระแสตอบรับดีทีเดียวเชื่อว่าคุณก็คงเริ่มจะมีความคิดที่จะเดินหน้าขยายธุรกิจแน่นอนแต่ติดปัญหาหลายอย่างที่ทำให้ไม่มั่นใจเพราะด้วยตนเองเป็นผู้ประกอบการขนาดกลางถึงขนาดเล็กไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มกำลังการผลิตการขยายเข้าสู่ตลาดใหม่การเพิ่มสาขาจะก้าวแต่ละก้าวก็ต้องดูให้ดีเพราะถ้าคิดใหญ่เกินไปก็จะทำให้หลุดกรอบความเป็น SMEs ไปและการจะขยายกิจการของผู้ประกอบการ SMEs นั้นก็ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ เพราะเราไม่ได้มีกำลังเยอะจะต้องมีการวางแผนและเตรียมความพร้อมให้ดีก่อนจะเดินหน้าไม่อย่างนั้นพลาดทีก็จมธรณีกันเลยทีเดียวเพราะตอนนี้สภาพเศรษฐกิจทั่วทั้งโลกเปลี่ยนแปลงเร็วมากคำถามก็คือว่าจะเริ่มวางแผนบริหารความเสี่ยงในเรื่องนี้อย่างไรดีมีอะไรบ้างที่จะต้องพิจารณาตามมาดูกันเลย
“คนหลายคนมักจะเสียเวลาไปกับการครุ่นคิดถึงเรื่องเมื่อวานเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอดีตที่ผ่านไปแล้วได้แต่ปัจจุบันที่เรากำลังย่ำอยู่นี้จะส่งผลไปยังอีก 30 ปีข้างหน้านี่คือสิ่งที่เราควบคุมและแก้ไขได้เปลี่ยนความคิดตัวเองเสียเดินไปข้างหน้าอย่างรอบคอบและมั่นคงกับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีก 10 ปีข้างหน้า” – Jack Ma
คุณมั่นใจแค่ไหนว่าธุรกิจส่วนตัวของคุณพร้อมที่จะขยับขยาย?
เมื่อเริ่มมีความคิดว่าต้องการขยายธุรกิจสิ่งแรกที่คุณจะต้องทำก็คือถามตัวเองก่อนว่า “คุณพร้อมสำหรับภาระที่หนักขึ้นไหม” เพราะเมื่อธุรกิจส่วนตัวของคุณโตขึ้นต้องมีการลงทุนมากขึ้นการบริหารการจัดการจะซับซ้อนขึ้นและต้องใช้เวลาในการทำงานมากขึ้นดังนั้นก่อนที่จะวางแผนเพื่อการขยายธุรกิจลองทบทวนตัวเองก่อนว่าคุณพร้อมที่จะรับผิดชอบกับสิ่งต่าง ๆ มากขึ้นไหมและคุณสามารถอ่านงบการเงินได้อย่างเข้าใจคุณสามารถบริหารสภาพคล่องด้านต่าง ๆ อย่างการบริหารสินค้าคงคลังการเป็นลูกหนี้รวมทั้งการเป็นเจ้าหนี้ได้ดีแค่ไหนคุณสามารถวางแผนบริหารการเงินสำหรับการขยายกิจการได้ด้วยตัวคุณเองเพียงคนเดียวได้หรือเปล่าหรือต้องมีที่ปรึกษาในด้านแหล่งเงินทุนสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นปัจจัยที่จะทดสอบว่าคุณและธุรกิจส่วนตัวของคุณพร้อมแล้วหรือไม่ที่จะเดินหน้าสู่การขยับขยายหากยังมีบางประเด็นที่คุณยังตอบไม่ได้นั่นก็หมายความว่าคุณยังไม่พร้อมสำหรับที่จะเดินหน้าขยายกิจการนั่นเอง
แนวความคิดที่ไม่หยุดนิ่งของ Jack Ma
- ผมเป็นแค่คนธรรมดาแม้ตอนเริ่มต้นหรือตอนสำเร็จแล้วเขาก็เป็น “คนธรรมดา”
- ผมไม่ได้มีความรู้อะไรเลยเกี่ยวกับเทคโนโลยี
- ผมไม่ได้สนใจเรื่องรายได้เป็นอันดับแรก
- เมื่อผมเป็นตัวของตัวเองผมจะมีความสุขและสร้างผลงานที่ดี
- สิ่งสำคัญมากที่สุดคือความอดทน
- พรุ่งนี้มันต้องดีกว่านี้อย่ายอมแพ้
- ผมมองหาเทคโนโลยีผ่านมุมมองของลูกค้า
- คุณควรเรียนรู้จากคู่แข่งแต่ไม่ใช่ไปทำตามเขา
อ้างอิงข้อมูล : แนวความคิดที่ไม่หยุดนิ่งของ Jack Ma
คลิกเลย! แนะนำบทความน่าอ่าน
- หิวข้าวซาวปลาทู – จากธุรกิจส่วนตัวสู่ธุรกิจ SME
- ผสมผสานเทคโนโลยี – แนวคิดผู้นำธุรกิจ SME รุ่นใหม่
- คิดบวกและมุ่งมั่น – หัวใจสำคัญของความสำเร็จ
- สายสัมพันธ์ลูกค้า – ปัจจัยสำคัญของธุรกิจ 4.0
- กฎเหล็กของการทำอะไรให้เป็นชิ้นเป็นอัน
กลับไปดูวัตถุประสงค์การขยายธุรกิจอีกครั้ง
หากคุณสำรวจตัวเองอย่างมั่นใจแล้วว่าพร้อมแน่ที่จะเติบโตก้าวต่อไปก่อนจะออกวิ่งคุณกลับไปพิจารณาวัตถุประสงค์ของการขยายธุรกิจที่คุณกำลังจะทำนี้อีกสักครั้งลองดูสิว่าจะทำไปเพื่ออะไรแน่นอนล่ะว่าส่วนใหญ่ก็เพราะเรื่องเงินไม่ว่าใครก็ล้วนต้องการผลตอบแทนที่มากขึ้นแต่คุณอย่าลืมเงินที่มากขึ้นก็มาพร้อมภาระหนักที่มากขึ้นไปด้วยเรียกว่าภาระรอบด้านเลยทีเดียวฉะนั้นคุณจึงต้องถามตัวเองให้ดีว่าคุณจะสามารถรับภาระที่มากมายรอบด้านที่กำลังจะตามมากับธุรกิจส่วนตัวของคุณได้หรือไม่
เรื่องการเงินในธุรกิจส่วนตัวของคุณชัวร์แล้วแน่นะ
แผนการลงทุนประมาณการงบกำไรขาดทุนงบกระแสเงินสดและงบดุลทั้งหมดทุกเรื่องการเงินเหล่านี้คุณเคลียร์เรียบร้อยแล้วหรือยังมีการวางแผนรับมือไว้บ้างไหมผู้ประกอบการควรคาดการณ์ตัวเลขที่จะนำมาขยายกิจการเปรียบเทียบกับเงินลงทุนก่อนที่จะขยายกิจการว่ามีความคุ้มทุนแค่ไหนและเมื่อลงทุนไปแล้วจะสามารถอยู่รอดได้หรือเปล่า ทุกขั้นตอนนี้เราแนะนำว่าควรทำมากกว่า 1 รอบเพื่อความชัวร์ที่สุดและให้ผิดพลาดน้อยที่สุดเป็นการบริหารความเสี่ยงที่ดีมีความรอบคอบนอกจากนี้ผู้ประกอบการธุรกิจส่วนตัวทุกคนควรศึกษาข้อได้เปรียบเสียเปรียบของแหล่งเงินทุนต่าง ๆ แต่ละที่ก่อนที่จะตัดสินใจดำเนินการขั้นต่อไปอีกทั้งควรศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมายด้วย
คุณบริหารสภาพคล่องเก่งแค่ไหน
ที่ผ่านมามีผู้ประกอบการธุรกิจส่วนตัวไม่น้อยมาตกหลุมพรางในส่วนนี้ทุกอย่างเจ๋งหมดแต่เรื่องบริหารสภาพคล่องทางการเงินกับหลวมขอให้คุณพึงระลึกไว้ว่าสภาพคล่องทางการเงินเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้น ๆ ของการดำเนินธุรกิจไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่เพราะเรื่องนี้แสดงถึงความพร้อมของเรื่องเงินว่าคุณมีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอที่จะนำมาใช้ในการดำเนินงานอีกทั้งมีความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นของธุรกิจเมื่อถึงกำหนดได้เช่นการชำระค่าสินค้าและเงินกู้ยืมถ้าผู้ประกอบการจะขยายธุรกิจจะต้องมั่นใจว่าสามารถบริหารสภาพคล่องทางการเงินของตัวเองได้ถ้าเมื่อไหร่ที่ขาดสภาพคล่องทางการเงินคุณควรจะต้องมีแผนสำรองเอาไว้เสมอ
คุณวิเคราะห์จุดคุ้มทุนได้หรือเปล่า
เรื่องของการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนเป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งในการทำธุรกิจส่วนตัวจัดว่าเป็นเครื่องมืออีกชนิดหนึ่งที่ช่วยให้ทราบถึงความสัมพันธ์ของการขายต้นทุนกำไรปริมาณการขายคุณสามารถนำเรื่องจุดคุ้มทุนมาช่วยวางแผนธุรกิจและนำมาเป็นข้อมูลในการช่วยตัดสินใจว่าควรขยายกิจการหรือไม่ดังนั้นคุณควรกลับไปดูว่าคุณเข้าใจเรื่องนี้แค่ไหน ถ้ายังไม่เข้าใจดีพอต้องรีบศึกษาทำความเข้าใจเสียก่อนที่จะก้าวไปขยายธุรกิจ
บริหารจัดการคนไหวไหม
คุณต้องเข้าใจก่อนว่าธุรกิจส่วนตัวของคุณเป็นแบบ SMEs คือธุรกิจขนาดเล็กหรือขนาดกลางไม่ใช่ธุรกิจขนาดใหญ่ กำลังคนและพนักงานที่คุณจัดสรรไว้ก็เหมาะสมกับขนาดธุรกิจในตอนนี้เท่านั้นถ้าคุณขยายกิจการแต่ไม่ขยายกำลังคนตามไปด้วยพนักงานทุกคนที่คุณมีอยู่ก็ต้องรับงานที่มากขึ้นหนักขึ้นเชื่อสิพวกเขาไม่สนุกด้วยหรอกกับการตัดสินใจแบบนี้ดังนั้นถ้าการจ้างพนักงานเพิ่มอาจจะยังไม่ใช่คำตอบในช่วงแรกคุณก็ต้องพยายามปรับงานให้เหมาะสมกับคนและมีการปรับฐานเงินเดือนให้เป็นสิ่งจูงใจพวกเขาด้วยและหากสามารถที่จะรับพนักงานใหม่เข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระคนเก่าได้เมื่อไหร่คุณก็ต้องรีบทำทันที
จัดการกับปัญหาที่ค้างคาให้หมดเสียก่อน
ประการนี้ก็สำคัญไม่น้อยเพราะที่ผ่านมามีผู้ประกอบการไม่น้อยใช้วิธีการและความเข้าใจแบบเดิม ๆ คือธุรกิจส่วนตัวนิ่งจึงคิดว่าจะทำให้มันฟูก็ต้องลงทุนเพิ่มขยายตลาดและกิจการแต่หารู้ไม่ว่านี่คือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์แท้ที่จริงแล้วการขยายกิจการเป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุคือแก้ปัญหายอดขายที่คงที่เท่านั้นเมื่อธุรกิจนิ่งตรงกลับไปวิเคราะห์ก่อนว่าที่ธุรกิจมันนิ่งมาจากสาเหตุใดถ้าคุณมีความคิดว่าจะใช้การขยายธุรกิจมากระตุ้นตลาดต้องขอบอกเลยว่าคุณจะพลาดแน่ ๆ ดังนั้นถ้ามีปัญหาก็จัดการปัญหาเก่าที่ต้นเหตุเสียก่อนแล้วค่อยมามองเรื่องขยายกิจการ
โฟกัสเป้าให้ชัดเจน
มีคำกล่าวว่า “จุดสูงสุดคืนสู่สามัญ” การทำธุรกิจก็เป็นเช่นนั้นเมื่อธุรกิจส่วนตัวของคุณไปได้สวยแล้วก็แสดงว่าคุณเดินอยู่ในเส้นทางที่ถูกต้องพุ่งเข้าหาเป้าหมายได้ตรงที่สุดเมื่อตัดสินใจจะขยายกิจการก็ยามลืมโฟกัสเป้าหมายให้ชัดเจนเหมือนตอนเริ่มต้นธุรกิจด้วยจะโฟกัสไปที่เป้าหมายเดิมหรือเป้าหมายใหม่ก็ตามทีขอให้คุณตั้งเป้าไว้ให้ชัดเจนและเดินในเส้นทางที่ไปสู่เป้าหมายนั้นก็แล้วกันแล้วเส้นชัยก็จะรอคุณอยู่ข้างหน้าเอง
7 กุญแจสู่ความสำเร็จ – ที่คนส่วนใหญ่รู้แต่เลือกไม่ทำ
- อ่านหนังสือเป็นประจำ – การอ่านหนังสือเป็นประจำจะช่วยให้คุณได้ความรู้ใหม่ๆ ในเรื่องที่อ่านและยังช่วยให้คุณลดความเครียดมีสมาธิและกระตุ้นความจำให้กับสมองอีกด้วย
- หาที่ปรึกษา – แม้คุณจะสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้จากการอ่านหรือดูคลิป VDOคุณจำเป็นที่จะต้องมองหาผู้ที่จะให้คำปรึกษาแก่คุณในเรืองนั้นๆทำให้ได้รับข้อมูลที่ต้องการแบบครบถ้วน
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ – เรื่องของสุขภาพเป็นเรื่องที่คุณจะต้องให้ความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการหมั่นฝึกฝนเรียนรู้และพัฒนาตัวเองเพราะหากคุณมีสุขภาพที่แข็งแรงปราศจากโรคภัยแล้วจะทำให้คุณมีเรี่ยวแรงและพละกำลังในการผลักดันตัวเองให้ไปสู่ความสำเร็จ
- ทานผักสีเขียว – การที่คุณปฎิเสธด้วยการไม่รับประทานผักนั้นเป็นการทำร้ายตัวเองโดยอ้อมได้เพราะจะทำให้คุณขาดสารอาหารและมีสุขภาพไม่แข็งแรง
- ตื่นนอนแต่เช้า – การตื่นนอนแต่เช้าจะช่วยให้คุณประสบความสำเร็จมากกว่าการตื่นสายเพราะคุณจะมีเวลาเพียงพอต่อการทำกิจวัตประจำวันและทำงานต่างๆได้มากยิ่งขึ้น
- มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน – คุณจะประสบความสำเร็จได้อย่างง่ายดายหากคุณมีวิสัยทัศน์และมีจุดยืนที่ชัดเจนไม่คล้อยตามหรือเปลี่ยนแปลงเพียงเพราะคำบอกเล่าของใคร
- มองโลกในแง่ดี – การแก้ไขความกลัวที่ดีคือพยายามคิดบวกมองโลกในแง่ดีและให้กำลังใจตัวเองเมื่อต้องเจอบททดสอบในชีวิต
แนวคิดผู้นำเพื่อความสำเร็จ
- สำรวจความพร้อมของตัวเองว่าพร้อมที่จะรับภาระที่หนักและรอบด้านขึ้นไหม
- พิจารณาวัตถุประสงค์ของการขยายกิจการอีกครั้งว่าทำไปเพื่ออะไรจะคุ้มกับเงินลงทุนและความเหนื่อยยากไหม
- วางแผนเรื่องการเงินให้รัดกุมและทบทวนกลับไปกลับมาว่าไม่มีช่องโหว่
- บริหารสภาพคล่องทางการเงินให้ดีและเตรียมแผนสำรองไว้ด้วย
- วิเคราะห์จุดคุ้มทุนให้ละเอียดหากไม่ชำนาญให้ฝึกบ่อย ๆ
- บริหารจัดการทรัพยากรคนปรับคนให้เหมาะสมกับปริมาณงานและควรมีการปรับฐานเงินเดือนเพื่อจูงใจพนักงาน
- หากมีกำลังจ้างพนักงานเพิ่มก็ควรรีบทำ
- วิเคราะห์ปัญหาของบริษัทให้ถี่ถ้วนอย่าใช้การลงทุนเพิ่มในการแก้ปัญหาธุรกิจนิ่ง
- โฟกัสเป้าหมายที่ต้องการมุ่งไปให้ชัดเจน
Category:
Tags: