ไอน์สไตน์ กล่าวว่า ”จินตนาการสำคัญกว่าความรู้” เรื่องนี้เป็นจริงเราไม่เถียงแต่จะดีกว่าไหมถ้าเรามีทั้งจินตนาการและมีความรู้ที่ลึกซึ้งด้วยยิ่งบนเส้นทางแห่งการทำธุรกิจนั้นการมีเพียงสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้นคงไม่เพียงพอบางคนมีคุณวุฒิเยี่ยมเงินทุนมากมายแต่ไม่มีความคิดและจินตนาการที่แปลกใหม่ก็ได้แต่บริหารองค์กรธุรกิจของตัวเองไปวัน ๆ ธุรกิจก็นิ่งงันอยู่ไปแบบนั้นแถมบางทีจะล้มเอาด้วยที่ประคองไว้ได้ก็อาศัยความรู้และเงินทุนในขณะที่บางคนมีจินตนาการที่บรรเจิดสุด ๆ เรียกว่า “เจ้าโปรเจกต์” แต่เสียอย่างเดียวคือขาดความรู้ที่จะทำจึงทำให้ต้องหาแหล่งเงินทุนสนับสนุนอยู่เสมอและมักจะหาไม่ได้เพราะด้วยไม่มีความรู้จึงต้องเสนอเงินทุนที่สูงเกินความจำเป็นแต่สองสิ่งนี้แม้จำเป็นเท่ากันแต่มีข้อแตกต่างกันอยู่คือ “ความรู้ไม่ลำบากนักที่จะหาแต่จินตนาการบางทีค้นหาทั้งชีวิตก็ไม่เจอ” ดังนั้นจะเป็นคนที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจได้จึงต้องไม่ลืมที่จะฝึกตนเองให้มีจินตนาการด้วยมาดูกันว่าจินตนาการแบบไหนที่นักธุรกิจที่ดีต้องมีบ้าง
“คนที่เริ่มต้นชีวิตด้วยเงินน้อยเกินไปมีโอกาสสำเร็จมากกว่าคนที่เริ่มด้วยเงินมากเกินไปการมีพลังและจินตนาการเป็นแรงผลักของการสร้างความมั่งคั่ง”
ไบรอัน เทรซี่ ปราชญ์ความสำเร็จของอเมริกา
ใครรู้ตัวเองดีว่ามักเป็นคนที่ไม่ถนัดในการคิดอะไรใหม่ ๆ จินตนาการแบบสังเคราะห์นี่เองที่คุณต้องพยายามนำออกมาใช้บ่อย ๆ ลักษณะของจิตนาการสังเคราะห์ก็คือเป็นการรวบรวมเอาแนวคิดและไอเดียเก่า ๆ มาผสมผสานกับแผนการที่คุณวางไว้อย่างถ้าตอนนี้คุณมีแผนธุรกิจอยู่ในมืออยู่แล้วลองเอาสิ่งเก่า ๆ วิธีการทำงานเก่า ๆ ที่ผ่านมาแล้วมาผสมรวมกันแล้วก็จะทำให้เกิด “สิ่งใหม่” ขึ้นมาเองแต่แท้ที่จริงแล้วคุณไม่สร้างสรรค์อะไรใหม่ ๆ เลยทุกอย่างถูกกลั่นกรองมาจากประสบการณ์ความรู้และการสังเกตเท่านั้นเป็นการนำอดีตมาผสมกับปัจจุบันจึงได้อนาคตขึ้นมานั่นเองอย่าเพิ่งมองหรือมีอคติกับจินตนาการแบบนี้ว่าไม่ใช่สิ่งที่ดีสำหรับในการทำธุรกิจจินตนาการแบบนี้แหละเป็นจุดเริ่มต้นของอะไรหลาย ๆ อย่างคุณลองสังเกตดูว่าจริง ๆ แล้วมีผลิตภัณฑ์และสินค้าอะไรหลายอย่างทีเดียวที่เกิดขึ้นจากจินตนาการแบบนี้ที่นึกออกตอนนี้ก็คือรูทเบียร์ของมิรินด้าความจริงไม่ใช่อะไรใหม่เลยน้ำชนิดนี้ก็คือน้ำเย็นซ่าซาสี่น้ำอัดลมโบราณนั่นเองนอกจากจะมีของมิรินด้าแล้วร้าน A&W ก็มีขายด้วยนะตอนนี้ไม่รู้ว่ายังมีอยู่หรือเปล่าไม่ได้เข้าร้ายนี้มานานแล้วแต่ทั้งหลายทั้งปวงก็มีต้นตอมาจากจินตนาการแบบนี้เป็นการนำประสบการณ์ความชอบในวัยเด็กมาผนวกเข้ากับช่องว่างทางการตลาดในปัจจุบันเมื่อตลาดยังไม่มีจึงเกิดเป็นสินค้าตัวใหม่ (แท้ที่จริงก็ของเก่า) วางขายและแย่งส่วนแบ่งในตลาดกับผู้อื่นได้
จินตนาการแบบนี้หลายคนอาจจะมองว่ามันเป็นเรื่องเฉพาะคนเป็น “พรสวรรค์” ของแต่ละคนที่สวรรค์ให้มาไม่เท่ากันอาจจะจริงก็ได้ถ้าจะมองกันแบบนั้นแต่ในความเป็นจริงแล้วจินตนาการสร้างสรรค์นั้นก็เป็นสิ่งที่ฝึกฝนกันได้เหมือนกันนะเพียงแต่สิ่งที่จะต้องมีก็คือแรงจูงใจและจิตสำนึกในด้านบวกที่จะกระตุ้นให้จินตนาการมันเกิดขึ้น
อัจฉริยะภาพของโลกด้านตนตรีอย่าง บีโธเฟ่น สุดยอดคีตกวีตลอดกาลที่โลกยังฟังผลงานเขาอยู่ถึงทุกวันนี้ใครจะรู้บ้างว่าแท้ที่จริงความอัจฉริยะของเขาแตกต่างจากความอัจฉริยะของ โมซาร์ทคีต กวีในยุคไล่เลี่ยกันความจริงแล้ว เบโธเฟ่น กับ โมซาร์ท แทบจะเกิดในยุคเดียวกันก็ว่าได้แต่ โมซาร์ท อายุมากกว่าตอน บีโธเฟ่น อายุยังน้อยเขาก็ได้ฟังงานเพลงของ โมซาร์ท แล้วแสดงว่าตอนนั้น โมซาร์ท ก็ดังมากพอตัวทีเดียวและ บีโธเฟ่น ก็ได้ตามรอยงานของ โมซาร์ท มาตลอดเขาศึกษาและฝึกฝนทักษะดนตรีอย่างจริงจังเอาความรู้ที่มีมาผลักดันจินตนาการซึ่งตอนแรกนั้นคิดไม่ออกก็อาศัยการดูงานของ โมซาร์ท และคีตกวีดัง ๆ คนอื่นด้วยจนไม่นานเขาก็มีความลึกซึ้งและมีจินตนาการของตัวเองขึ้นมาประวัติศาสตร์กล่าวว่าทั้งสองได้เคยเจอกันในงานแสดงดนตรีเล็ก ๆ ครั้งหนึ่งพ่อของ บีโธเฟ่น พาตัวลูกชายไปเปิดตัวและแนะนำความเก่งกาจของลูกชายเขา โมซาร์ท จึงให้ บีโธเฟ่น ได้ลองเล่นเปียโนให้ฟังเมื่อ บีโธเฟ่น เล่นจบ โมซาร์ท ถึงกับกล่าวว่า “วันหนึ่งข้างหน้าโลกจะได้ฟังสุดยอดงานเพลงของอัจฉริยะภาพคนนี้” ตามประวัติแบบผิวเผินกล่าวไว้แค่นั้นแต่จริง ๆ แล้วเรื่องเมาท์กันมีอยู่ว่าความจริง โมซาร์ท ฟัง บีโธเฟ่น เล่นเปียโนแล้วไม่ได้กล่าวประโยคยกย่องนั้นเลยทันที โมซาร์ท มีการลองของ บีโธเฟ่น ซึ่งเด็กกว่าหลายปีด้วยก็คือเขาได้เอาโน้ตเพลงที่ตัวเองแต่งซึ่งไม่เคยแสดงที่ไหนเหมือนเพิ่งแต่งเสร็จเมื่อคืนวานเพลงนี้มีการใส่เสียงประสานเข้าไปอย่างวิจิตรจนฟังแล้วกลมกล่อมเป็นเนื้อเดียวกันให้ บีโธเฟ่น เล่นแต่เขาไม่ได้ให้เล่นตามโน้ตกลับท้าให้เจ้าหนูน้อยดึงทำนองหลักของเพลงที่ปนเปไปกับเสียงประสานออกมาให้ได้ซึ่ง บีโธเฟ่น ก็ไม่ทำให้ โมซาร์ท ผิดหวังสามารถดึงเอาทำนองหลักออกมาเล่นได้อย่างไพเราะและยังใส่เสียงประสานใหม่ ๆ กลับเข้าไปในเพลงอีกด้วย บีโธเฟ่น มีโอกาสฟังงานเพลงเกือบทั้งหมดของ โมสาร์ท แต่ โมสาร์ท นั้นไม่มีโอกาสได้ฟังผลงาน Symphony เบอร์ 9 ของ บีโธเฟ่น เลยถ้า โมซาร์ท ไม่ตายเสียก่อนและอยู่ทันได้ฟัง โมสาร์ท อาจจะอกแตกตายก็ได้ใครจะรู้เพราะออกงานเพลงมาฆ่ากันชัด ๆ สิ่งที่เกิดขึ้นกับ บีโธเฟ่น และ โมสาร์ท มีความแตกต่างกันก็ตรงนี้คนหนึ่งมีอัจฉริยะภาพมาแต่กำเนิดฟ้ามอบให้มาแต่อีกคนมีอัจฉริยะภาพได้จากการฝึกฝนตนเองอย่างหนัก
เราจึงอยากจะบอกคุณว่า “คุณเองก็สามารถเป็นคนที่มีจินตนาการสร้างสรรค์ได้” เพียงแต่คุณจะต้องฝึกฝนสักหน่อยเท่านั้นวิธีการฝึกที่ง่ายที่สุดเลยก็คือผุดไอเดียและโปรเจกต์ใหม่ ๆ เสมอแม้ว่ามันจะเป็นไปไม่ได้ก็ตามอย่าไปมองว่าเสียเวลาคิดเพราะไม่แน่เสมอไปหรอกโปรเจกต์บางอย่างที่คุณคิดขึ้นมาที่ตอนแรกว่าเป็นไปไม่ได้มันอาจเป็นจริงขึ้นมาในวันหนึ่งก็ได้ลองเอาไอเดียใหม่ ๆ เหล่านี้เข้าที่ประชุมดูก็ได้ระดมความคิดจากเพื่อน ๆ และพนักงานดูไม่แน่ความคิดของพวกเขาอาจช่วยเติมเต็มจินตนาการสร้างสรรค์ของคุณจนวันหนึ่งมันเกิดขึ้นจริงต่อหน้าคุณและทุกคนก็ได้นะ
เรื่องน่ารู้กับอาณาจักร amazon.com เคยมีนักวิเคราะห์ถกเถียงกันว่า เจฟฟ์ เบซอส ผู้สร้าง amazon.com ขึ้นมานี้เป็นคนมีจินตนาการจริงหรือไม่เพราะดูเหมือนว่าเขาเป็นเพียงคนที่เห็นตลาดและช่องทางการขายผ่านโลกอินเตอร์เน็ตเท่านั้นแต่ความจริงที่ทุกคนสรุปกันออกมาก็คือเขาเป็นคนมีจินตนาการแต่เป็นจินตนาการแบบสังเคราะห์เพราะ เจฟฟ์เบซอส ใช้ประสบการณ์การเรียนรู้และการสังเกตจดจำเข้าช่วยจึงทำให้เขาพบเห็นความสนใจและการทำพฤติกรรมซ้ำ ๆ ของมนุษย์อันนำมาซึ่งเว็บไซต์ amazon.com นั่นเอง
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.