ด้วยความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นเปลี่ยนเร็วมากทำให้วิถีชีวิตผู้คนต่างเปลี่ยนไปหมดแม้กระทั่งการบริหารงานในองค์ธุรกิจขนาดใหญ่ ๆ ก็ยังต้องมีการปรับตัวสมัยก่อนนั้นการทำธุรกิจขององค์กรใหญ่ ๆ ความเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ จะเกิดขึ้นไม่บ่อยนักอาจจะอยู่ที่ 3-5 ปีก็จะเกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นสักครั้งแต่ปัจจุบันความเปลี่ยนแปลงในองค์กรเกิดขึ้นแทบทุกไตรมาสเลยก็ว่าได้และในยุคที่ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุค 4.0
ช่องว่างระหว่างวัย มหันตภัยร้ายของการบริหารงาน
เข้าสู่ยุค 4.0 แบบนี้แล้วการมีบทบาทของคนรุ่นเก่าก็ยังคงสำคัญอยู่ในขณะเดียวกันบทบาทของคนรุ่นใหม่ก็เริ่มจะมาแรงและชัดเจนมากขึ้นเมื่อคนต่างวัยต่างประสบการณ์ต่าง Generation ต้องมาทำงานร่วมกันจึงทำให้เกิดความแตกต่างทางความคิดและวิธีการทำงานแต่เมื่อต้องลงเรือลำเดียวกันทำงานร่วมกันบนความแตกต่างแบบนี้จึงเกิดคำถามขึ้นว่า “จะทำอย่างไรที่จะเชื่อมโยงคนต่าง Generation ให้สามารถทำงานร่วมกันโดยไม่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมขององค์กร” ประเด็นนี้คงต้องเรียนรู้จาก คุณธนินท์ เจียรวนนท์ ที่นำเสนอวิสัยทัศน์และแนวคิดที่น่าสนใจเอาไว้คือ “การบริหารแบบแบ่งทีมย่อย” คือการให้คนทั้ง 2 Generation แบ่งทีมของตัวเองแยกกันทำงานแต่ทั้ง 2 ทีมนี้จะต้องอยู่ในธุรกิจเดียวกันแล้วค่อยรอดูผลซึ่งผลลัพธ์ที่ตามมานี่เองจะเป็นตัวบ่งบอกอยู่แล้วว่าวิธีการบริหารงานและแนวคิดระหว่างของคนรุ่นใหม่หรือของคนรุ่นเก่าอันในจะ work กว่ากันผลลัพธ์ที่ออกมาจะทำให้แต่ละฝ่ายยอมรับกันเองว่าอันไหนมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสถานการณ์ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ทำให้ลดความขัดแย้งในองค์กรได้และเป็นการสร้างคนรุ่นใหม่ให้เข้ามาทดแทนคนรุ่นเก่าไปในเวลาเดียวกันด้วยเรียกว่าเป็นการบริหารงานเป็นการบริหารคนและเป็นการบริหารองค์กรไปในเวลาเดียวกัน
คุณต้องอย่าลืมว่าเรื่องของ “ช่องว่างระหว่างวัย” เป็นปัจจัยสำคัญอย่างมากต่อองค์กรคน Gen Y มักจะชอบงานหรืออะไรที่แปลกใหม่ท้าทายแต่ในขณะที่คนในยุค Baby Boomers มักจะชอบงานอะไรที่ชัวร์แน่นอนมั่นคงต้องแน่ใจก่อนแล้วค่อยทำและมักไม่ชอบความเปลี่ยนแปลงที่คาดไม่ถึงจริงอยู่ว่าแนวคิดของคนรุ่นใหม่มักจะสอดคล้องกับยุคสมัยและสถานการณ์ปัจจุบันแต่ในอีกด้านหนึ่งคนรุ่นเก่ากับมองว่าแนวคิดแบบนั้นเป็นเรื่องอะไรที่ไร้ระเบียบวินัยไม่เป็นชิ้นเป็นอันเป็นความฉาบฉวยเท่านั้นดังนั้นถ้าคุณไม่ประสานเชื่อมโยงความคิดที่แตกต่างนี้ภายในองค์กรของคุณรับรองว่าการบริหารงานพังไม่เป็นท่าอย่างแน่นอน
แนะนำบทความน่าอ่าน
- มองธุรกิจ – ผ่านปรัชญาชีวิต
- แนวคิดผู้นำ สไตล์คุณลุงแซนเดอร์ส
- ล้มแล้วลุก – หัวใจของนักธุรกิจที่ดี
- ทำธุรกิจให้ยั่งยืน – ผู้นำต้องใช้ธรรมาภิบาลนำผลกำไรธุรกิจ
- สร้างผู้นำ – ต่อยอดความยั่งยืนให้ธุรกิจ
- วิสัยทัศน์ผู้นำ – คิดและทำอย่างผู้นำเริ่มต้นอย่างไร
- ทำธุรกิจต้องรู้วิธีเลี่ยง – คิดแบบผู้นำ บริหารความเสี่ยงที่ไม่อยากเจอ
ผู้นำที่ดีต้องบริหารงานแบบค่อยเป็นค่อยไป
การบริหารคนโดยจะเชื่อมคนยุคเก่ากับคนยุคใหม่เข้ามาทำงานร่วมกันได้โดย “บัวไม่ช้ำน้ำไม่ให้ขุ่น” นั้นแม้จะดูเป็นเรื่องยากแต่ก็มีความเป็นไปได้ซึ่งเราจะเห็นได้จากการบริหารงานในช่วงรอยต่อของการวางมือในธุรกิจของ คุณธนินท์ เจียนวนนท์ คนเก่าก็ยังอยู่ในขณะที่คนใหม่ก็ทำงานของตัวเองอย่างเต็มความสามารถโดยที่ทั้งสองฝ่ายไม่ได้ขัดแย้งกันเลยในทางกลับกันกลับส่งผลบวกต่อองค์กรอย่างยิ่งยวดทีเดียวแต่ทั้งนี้ถ้าดูให้ดีใช่ว่าการประสานความสัมพันธ์ระหว่างคน 2 ยุคนี้จะเกิดขึ้นแบบฉับพลันทันใดทุกอย่างมีการเตรียมการและค่อยเป็นค่อยไปมาตลอดในช่วง 20 ปีเพราะเรื่องแบบนี้อยู่ ๆ คิดจะทำเลยไม่ได้ต้องให้เวลาคนทั้งสองฝ่ายปรับตัวกันสักระยะให้คนทั้งสองฝ่ายต่างเริ่มมีทัศนคติในเชิงบวกต่อกันก่อนจากนั้นเมื่อทั้งสองฝ่ายลงมือปฏิบัติงาน “ความจริง” จะเป็นสิ่งพิสูจน์ทุกอย่างเองคือผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับองค์กรนั่นเองถ้าฝ่ายคนรุ่นใหม่ทำได้ดีกว่าฝ่ายคนรุ่นเก่าก็จะไม่เข้าใจเด็กรุ่นใหม่ผิดเพราะการบริหารงานแยกกันไม่ขึ้นตรงต่อกันอยู่แล้วและถ้าผลออกมาตรงข้ามคือคนรุ่นเก่ายังคงเก๋าอยู่คนรุ่นใหม่ก็จะมีความกล้าที่จะเปิดใจเรียนรู้จากคนรุ่นเก่ามากขึ้นทุกอย่างจึงต้องเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปจะใจร้อนไม่ได้เพราะรีบเกินไปก็มีแต่พังอย่างเดียว
ให้คุณดูกรณีอย่างสหภาพโซเวียตในสมัยก่อนที่จะเปิดประเทศซึ่งพอสหภาพโซเวียตตัดสินใจที่จะปฏิวัติอุตสาหกรรมปุ๊บก็ทำปั๊บทันทีไม่มีการให้เวลาประชานได้เตรียมพร้อมปรับตัวเลยทำทุกอย่างด้วยความหักหาญและในที่สุดผลก็คือการล่มสลายของอาณาจักรสหภาพโซเวียตแต่ถ้าย้อนกลับมามองที่จีนคุณจะเห็นเลยว่าการที่จีนมีความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศมาเป็นทุนนิยมนั้นรัฐบาลจีนทำอย่างช้า ๆ ค่อยเป็นค่อยไปเขาให้เวลาคนของเขาในการปรับตัวไปอย่างช้า ๆ ซึ่งถ้ากลับมามองในภาพเล็กอย่างการบริหารงานในองค์กรธุรกิจก็ต้องบอกว่าคุณควรจะเลียนแบบจีนทำช้า ๆ อย่างนุ่มนวลซึ่งนั่นจะทำให้คุณสามารถดำเนินการบริหารคนทั้งสองยุคให้ทำงานร่วมกันได้โดยไม่ส่งผลเสียต่อองค์กร
เชื่อมโยงคนต่างวัย
- ให้เวลาคนทั้งสอง Generation ปรับตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วงแรกอาจให้ทำงานร่วมกันได้บ้างเพื่อให้คนทั้งสอง Generation มีจุดที่จะเชื่อมโยงเข้าหากัน
- แบ่งทีมย่อยเมื่อถึงเวลาโดยจัดแบ่งเป็น 2 ทีมอย่างชัดเจนระหว่างทีมคนรุ่นเก่ากับทีมคนรุ่นใหม่และให้สร้างสรรค์งานและบริหารงานกันอย่างเป็นอิสระแต่อยู่ในธุรกิจเดียวกัน
- อย่าถือหางความสนิทแต่ต้องแนบชิดกับความจริงต้องอย่าเข้าข้างหรือลำเอียงถือหางฝ่ายที่ตนเองสนิทต้องดูที่ผลลัพธ์ของการแยกกันทำงานของทั้ง 2 ทีมถ้าผู้บริหารใหญ่ยึดเอาความจริงเป็นที่ตั้งบุคคลจากทั้ง 2 ทีมก็จะยึดความจริงที่ปรากฎออกมาเป็นที่ตั้งเช่นกันนั่นทำให้พวกเขายอมรับประสิทธิภาพของตนเองว่าอยู่ในระดับใดและอะไรเป็นสิ่งที่ดีที่สุด
- ให้ทั้งสองฝ่ายได้มีโอกาสเปิดใจพูดคุยซึ่งกันและกันเพื่อการพัฒนาและก้าวเดินต่อไปของคนรุ่นใหม่อันจะช่วยให้องค์กรมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง