Categories: INSPIREPassion

การทำธุรกิจคือวิทยาศาสตร์ – ไม่ทดลองไม่มีวันรู้

3.7 / 5 ( 28 votes )

หลายคนอาจจะมองว่าจะไปเกี่ยวข้องกันได้อย่างไรระหว่างการทำธุรกิจกับวิทยาศาสตร์สมัยก่อนนั้นอาจจะดูไม่เกี่ยวแต่ในปัจจุบันในยุคไทยแลนด์ 4.0 แบบนี้เราต้องบอกว่าเกี่ยวข้องกันเต็ม ๆ นักธุรกิจระดับเทพอย่าง เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์นั้นถือได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ดีที่ Startup รุ่นใหม่สามารถนำท่านมาเป็นแบบอย่างได้จะได้ลงทุนทำธุรกิจได้อย่างไม่พลาดถ้าเรามองเจาะลึกลงไปในวิธีการสร้างอาณาจักรธุรกิจของเจ้าสัวธนินท์

จริง ๆ แล้ววิทยาศาสตร์กับการทำธุรกิจเป็นสิ่งเดียวกัน

“ถ้าคุณทำ 10 อย่างสำเร็จเพียง 3 อย่างก็ถือว่าเก่งแล้วคนยิ่งทำเยอะก็ผิดเยอะแต่คนที่ไม่เคยทำผิดคือคนที่ไม่คิดทำอะไรเลย”
ธนินท์ เจียรวนนท์

จะเห็นว่า เจ้าสัวธนินท์ ให้ความสนใจในเรื่องของเทคโนโลยีใหม่ ๆ มากถึงขั้นไปศึกษาดูงานต่างประเทศด้วยตนเองก็บ่อยครั้งช่วงหลัง ๆ พอธุรกิจเริ่มอยู่ตัวแข็งแกร่งมั่นคงมากขึ้นก็จะมอบหมายให้ผู้บริหารท่านอื่น ๆ รับภาระไปศึกษาดูแทนแต่ที่น่าสนใจคือวิธีการเวลา เจ้าสัวธนินท์ จะส่งคนไปดูงานจะไม่ได้ส่งให้ไปแบบต่างคนต่างไปแต่เจ้าสัวจะโฟกัสธุรกิจที่จะทำในใจก่อนคือมีเป้าหมายเดียวที่ชัดเจนแล้วมอบหมายให้คนไปศึกษาดูงานคนละที่คนละแบบแต่มีเป้าหมายในธุรกิจตัวเดียวกันพอได้ความรู้กลับมาแล้วก็ให้แต่ละฝ่ายนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้กับธุรกิจที่ทำทันทีเป็นการ “ทำในสิ่งเดียวกันแต่ต่างวิธีการ” ถ้าจะมองกันดี ๆ แล้วนี่ล่ะคือวิทยาศาสตร์ธุรกิจวิธีที่เจ้าสัวธนินท์ใช้คือ “การทดลอง” และแน่นอนว่าวิทยาศาสตร์ขาดการทดลองไม่ได้จึงทำให้เราเข้าใจได้ว่าจริง ๆ แล้วการทำธุรกิจก็คือวิทยาศาสตร์นั่นเองเพราะการทำธุรกิจก็ต้องมีการทดลองทำลองผิดลองถูกเช่นกัน

ทำธุรกิจถ้าไม่ทดลองทำก็ไม่มีวันประสบความสำเร็จ

การตัดสินใจลงทุนทำธุรกิจใด ๆ ก็ตามนั้นเป็นที่ทราบกันดีว่าต้องมีความเสี่ยงเป็นธรรมดาไม่ดีไปเลยก็ไปเจ๊งเลยถ้าเรามองได้แบบนี้เราก็จะเห็นว่าทางออกมันเล็กลงมีอยู่แค่ 2 ทางเมื่อปัญหาต่าง ๆ จะต้องจบด้วย 2 ทางนี้ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องคิดอะไรมากมายจนทำให้เป็นทุกข์และไม่กล้าที่จะเดินหน้าตัดสินใจในเรื่องธุรกิจใด ๆ ถ้าจะกล่าวง่าย ๆ ก็คือคุณจะต้อง ทดลองทำดูก่อน ซึ่งเชื่อว่าคุณคงจะมองว่าพูดง่ายแต่ทำยากอันนี้มันก็จริงอยู่แต่ทว่าคุณลองพิจาณาให้ดีคุณจะพบว่าธุรกิจขนาดใหญ่ต่าง ๆ ล้วนใช้วิธีทดลองทำดูก่อน มาแล้วทั้งนั้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอุโมงค์ลมสำหรับเครื่องบินโรงงานปิโตรเคมีแม้กระทั่งเรื่องธุรกิจเกี่ยวกับฟาร์มไก่ของเจ้าสัวธนินท์เองก็ตามทุกอย่างนี้เกิดขึ้นจากการทดลองทำดูก่อน  ทั้งสิ้นหากไม่มีการตัดสินใจทดลองทำก็จะไม่มีวันรู้เลยว่าคุณจะสามารถทำมันให้ประสบความสำเร็จได้หรือไม่สิ่งสำคัญก็คือคุณต้องไม่กลัวที่จะล้มหรือพลาดอย่างที่บอกถ้าทำแล้วไม่ได้ก็ต้องล้มลงไปเองอยู่แล้วแต่ถึงแม้จะล้มอย่างน้อย ๆ “คุณก็ยังได้ทำ” ซึ่งนั่นถือว่าคุ้มค่าที่สุดแล้วเป็นบทเรียนที่หาซื้อไม่ได้คุณจะได้รู้ตัวเองว่าคุณเหมาะที่จะทำธุรกิจนั้นหรือไม่คุณจะบริหารความเสี่ยงได้ทำให้คุณก้าวเดินต่อไปข้างหน้าได้โดยไม่ผิดพลาดอีก

หลักการทางวิทยาศาสตร์ 5 ขั้นตอนที่ผู้ประกอบการ STARTUP ควรจะต้องมี
1.QUESTION:รู้จักตั้งคำถามต่อสิ่งรอบตัว
2.OBSERVE:รู้จักรวบรวมข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อการทำธุรกิจ
3.HYPOTHESIZE:ตั้งสมมุติฐานกับสิ่งที่จะทำว่าถ้าทำไปแล้วจะเป็นอย่างไรและถ้าเกิดปัญหาจะแก้ไขอย่างไร
4.EXPERIMENT:ลงมือทดลองทำจากสมุติฐานที่ตั้งไว้
5.ANALYZE:วิเคราะห์ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นไม่ว่าผลจะออกมาเป็นบวกหรือลบ

ทำธุรกิจต้องรู้จักตั้งคำถาม

เมื่อการทำธุรกิจคือสิ่งเดียวกันกับวิทยาศาสตร์สิ่งที่ต้องทำประการแรกก่อนจะก้าวเป็น Startup ที่ประสบความสำเร็จก็คือคุณต้องรู้จักตั้งคำถามว่าอะไรที่ไหนยังไงต้องมองดูสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกธุรกิจว่าเทรนด์ของผู้บริโภคตอนนี้อะไรกำลังมาและกระแสเกิดขึ้นแรง ๆ ที่กลุ่มไหนและถ้าคุณจะลุยกับธุรกิจที่อยู่ในเทรนด์แบบนี้มาจะต้องทำยังไงขั้นต่อไปก็รวบรวมข้อมูลทุกอย่างที่คิดว่าจำเป็นต้องใช้และนักวิทยาศาสตร์ก่อนที่จะทำการทดลองอะไรก็จะต้องมีการตั้งสมมติฐานซึ่งการทำธุรกิจก็ต้องมีการตั้งสมมติฐานเช่นนั้นเหมือนกันว่าถ้าลงทุนทำธุรกิจอันนี้ทำแบบนี้น่าจะเกิดอะไรขึ้นกับธุรกิจที่เราทำบ้างวางสมมติฐานไว้สักสองสามชุดก็ได้จากนั้นก็ทดลองทำตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ขั้นสุดท้ายก็คือดู feedback ที่กลับมามาเป็นบวกหรือลบนี่จึงเป็นสิ่งที่ Startup ต้องหันกลับมามองและให้ความสำคัญคือมองธุรกิจเป็นการทดลองทางวิทยาศาสตร์ซึ่งอาจจะนำแรงบันดาลใจมาจากนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่าง เจ้าสัวธนินท์ มาช่วยผลักดันหรือยึดเป็นแนวทางก็ได้แล้วคุณจะเห็นผลว่ามัน work ดีทีเดียว

แนวทางในการทดลองทำธุรกิจที่จะทำให้คุณผิดพลาดน้อยลง

1.หากคุณมีความคิดที่จะสร้างหรือขยายเครือข่ายธุรกิจต้องทดลองทำจากสาขาแรกก่อนคุณจะต้องทำให้สาขาแรกดำเนินงานไปได้อย่างราบรื่นและมีกำไรเสียก่อนแล้วดู feedback จากตลาดว่าเป็นอย่างไร feedback จากตลาดจะเป็นสิ่งที่บอกว่าคุณพร้อมสำหรับการขยายเครือข่ายหรือไม่
2.หากคุณวางแผนจะขายสินค้าสักอย่างคุณจะต้องทดลองตลาดดูก่อนลงทุนไม่ต้องมากและประเมินอุปสงค์ขอตลาดให้แน่นอนก่อนที่จะลงทุนครั้งใหญ่
3.หากคุณกำลังคิดจะผลิตสินค้าจงตั้งคำถามว่าจะผลิตอะไรผลิตขายใครและต้องใช้ต้นทุนเท่าไหร่และสินค้าชนิดนั้น ๆ จะเป็นที่ต้องการตลาดหรือไม่ตั้งคำถามและลองหาข้อมูลอาจจะทำ RESEARCH เฉพาะกับกลุ่มเป้าหมายหลักก็ได้ เมื่อได้ข้อมูลค่อยเริ่มลงทุนผลิต
4.หาคุณตั้งใจจะทำธุรกิจเกี่ยวกับการบริการจงทดลองจัดทำบริการของคุณสู่ลูกค้าให้รวดเร็วที่สุดแล้วคุณจะรู้ว่าลูกค้าพอใจกับการบริการของคุณหรือไม่อีกทั้งคุณจะทราบได้ว่ากำลังของคุณมีมากพอที่จะจัดทำบริการที่สะดวกรวดเร็วที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้าได้ขนาดไหน

Passiontik

View Comments

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.