หลายคนอาจจะมองว่าจะไปเกี่ยวข้องกันได้อย่างไรระหว่างการทำธุรกิจกับวิทยาศาสตร์สมัยก่อนนั้นอาจจะดูไม่เกี่ยวแต่ในปัจจุบันในยุคไทยแลนด์ 4.0 แบบนี้เราต้องบอกว่าเกี่ยวข้องกันเต็ม ๆ นักธุรกิจระดับเทพอย่าง เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์นั้นถือได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ดีที่ Startup รุ่นใหม่สามารถนำท่านมาเป็นแบบอย่างได้จะได้ลงทุนทำธุรกิจได้อย่างไม่พลาดถ้าเรามองเจาะลึกลงไปในวิธีการสร้างอาณาจักรธุรกิจของเจ้าสัวธนินท์
จริง ๆ แล้ววิทยาศาสตร์กับการทำธุรกิจเป็นสิ่งเดียวกัน
“ถ้าคุณทำ 10 อย่างสำเร็จเพียง 3 อย่างก็ถือว่าเก่งแล้วคนยิ่งทำเยอะก็ผิดเยอะแต่คนที่ไม่เคยทำผิดคือคนที่ไม่คิดทำอะไรเลย”
ธนินท์ เจียรวนนท์
จะเห็นว่า เจ้าสัวธนินท์ ให้ความสนใจในเรื่องของเทคโนโลยีใหม่ ๆ มากถึงขั้นไปศึกษาดูงานต่างประเทศด้วยตนเองก็บ่อยครั้งช่วงหลัง ๆ พอธุรกิจเริ่มอยู่ตัวแข็งแกร่งมั่นคงมากขึ้นก็จะมอบหมายให้ผู้บริหารท่านอื่น ๆ รับภาระไปศึกษาดูแทนแต่ที่น่าสนใจคือวิธีการเวลา เจ้าสัวธนินท์ จะส่งคนไปดูงานจะไม่ได้ส่งให้ไปแบบต่างคนต่างไปแต่เจ้าสัวจะโฟกัสธุรกิจที่จะทำในใจก่อนคือมีเป้าหมายเดียวที่ชัดเจนแล้วมอบหมายให้คนไปศึกษาดูงานคนละที่คนละแบบแต่มีเป้าหมายในธุรกิจตัวเดียวกันพอได้ความรู้กลับมาแล้วก็ให้แต่ละฝ่ายนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้กับธุรกิจที่ทำทันทีเป็นการ “ทำในสิ่งเดียวกันแต่ต่างวิธีการ” ถ้าจะมองกันดี ๆ แล้วนี่ล่ะคือวิทยาศาสตร์ธุรกิจวิธีที่เจ้าสัวธนินท์ใช้คือ “การทดลอง” และแน่นอนว่าวิทยาศาสตร์ขาดการทดลองไม่ได้จึงทำให้เราเข้าใจได้ว่าจริง ๆ แล้วการทำธุรกิจก็คือวิทยาศาสตร์นั่นเองเพราะการทำธุรกิจก็ต้องมีการทดลองทำลองผิดลองถูกเช่นกัน
ทำธุรกิจถ้าไม่ทดลองทำก็ไม่มีวันประสบความสำเร็จ
การตัดสินใจลงทุนทำธุรกิจใด ๆ ก็ตามนั้นเป็นที่ทราบกันดีว่าต้องมีความเสี่ยงเป็นธรรมดาไม่ดีไปเลยก็ไปเจ๊งเลยถ้าเรามองได้แบบนี้เราก็จะเห็นว่าทางออกมันเล็กลงมีอยู่แค่ 2 ทางเมื่อปัญหาต่าง ๆ จะต้องจบด้วย 2 ทางนี้ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องคิดอะไรมากมายจนทำให้เป็นทุกข์และไม่กล้าที่จะเดินหน้าตัดสินใจในเรื่องธุรกิจใด ๆ ถ้าจะกล่าวง่าย ๆ ก็คือคุณจะต้อง “ทดลองทำดูก่อน” ซึ่งเชื่อว่าคุณคงจะมองว่าพูดง่ายแต่ทำยากอันนี้มันก็จริงอยู่แต่ทว่าคุณลองพิจาณาให้ดีคุณจะพบว่าธุรกิจขนาดใหญ่ต่าง ๆ ล้วนใช้วิธี “ทดลองทำดูก่อน” มาแล้วทั้งนั้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอุโมงค์ลมสำหรับเครื่องบินโรงงานปิโตรเคมีแม้กระทั่งเรื่องธุรกิจเกี่ยวกับฟาร์มไก่ของเจ้าสัวธนินท์เองก็ตามทุกอย่างนี้เกิดขึ้นจากการ “ทดลองทำดูก่อน” ทั้งสิ้นหากไม่มีการตัดสินใจทดลองทำก็จะไม่มีวันรู้เลยว่าคุณจะสามารถทำมันให้ประสบความสำเร็จได้หรือไม่สิ่งสำคัญก็คือคุณต้องไม่กลัวที่จะล้มหรือพลาดอย่างที่บอกถ้าทำแล้วไม่ได้ก็ต้องล้มลงไปเองอยู่แล้วแต่ถึงแม้จะล้มอย่างน้อย ๆ “คุณก็ยังได้ทำ” ซึ่งนั่นถือว่าคุ้มค่าที่สุดแล้วเป็นบทเรียนที่หาซื้อไม่ได้คุณจะได้รู้ตัวเองว่าคุณเหมาะที่จะทำธุรกิจนั้นหรือไม่คุณจะบริหารความเสี่ยงได้ทำให้คุณก้าวเดินต่อไปข้างหน้าได้โดยไม่ผิดพลาดอีก
หลักการทางวิทยาศาสตร์ 5 ขั้นตอนที่ผู้ประกอบการ STARTUP ควรจะต้องมี
1.QUESTION:รู้จักตั้งคำถามต่อสิ่งรอบตัว
2.OBSERVE:รู้จักรวบรวมข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อการทำธุรกิจ
3.HYPOTHESIZE:ตั้งสมมุติฐานกับสิ่งที่จะทำว่าถ้าทำไปแล้วจะเป็นอย่างไรและถ้าเกิดปัญหาจะแก้ไขอย่างไร
4.EXPERIMENT:ลงมือทดลองทำจากสมุติฐานที่ตั้งไว้
5.ANALYZE:วิเคราะห์ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นไม่ว่าผลจะออกมาเป็นบวกหรือลบ
ทำธุรกิจต้องรู้จักตั้งคำถาม
เมื่อการทำธุรกิจคือสิ่งเดียวกันกับวิทยาศาสตร์สิ่งที่ต้องทำประการแรกก่อนจะก้าวเป็น Startup ที่ประสบความสำเร็จก็คือคุณต้องรู้จักตั้งคำถามว่าอะไรที่ไหนยังไงต้องมองดูสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกธุรกิจว่าเทรนด์ของผู้บริโภคตอนนี้อะไรกำลังมาและกระแสเกิดขึ้นแรง ๆ ที่กลุ่มไหนและถ้าคุณจะลุยกับธุรกิจที่อยู่ในเทรนด์แบบนี้มาจะต้องทำยังไงขั้นต่อไปก็รวบรวมข้อมูลทุกอย่างที่คิดว่าจำเป็นต้องใช้และนักวิทยาศาสตร์ก่อนที่จะทำการทดลองอะไรก็จะต้องมีการตั้งสมมติฐานซึ่งการทำธุรกิจก็ต้องมีการตั้งสมมติฐานเช่นนั้นเหมือนกันว่าถ้าลงทุนทำธุรกิจอันนี้ทำแบบนี้น่าจะเกิดอะไรขึ้นกับธุรกิจที่เราทำบ้างวางสมมติฐานไว้สักสองสามชุดก็ได้จากนั้นก็ทดลองทำตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ขั้นสุดท้ายก็คือดู feedback ที่กลับมามาเป็นบวกหรือลบนี่จึงเป็นสิ่งที่ Startup ต้องหันกลับมามองและให้ความสำคัญคือมองธุรกิจเป็นการทดลองทางวิทยาศาสตร์ซึ่งอาจจะนำแรงบันดาลใจมาจากนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่าง เจ้าสัวธนินท์ มาช่วยผลักดันหรือยึดเป็นแนวทางก็ได้แล้วคุณจะเห็นผลว่ามัน work ดีทีเดียว
แนวทางในการทดลองทำธุรกิจที่จะทำให้คุณผิดพลาดน้อยลง
1.หากคุณมีความคิดที่จะสร้างหรือขยายเครือข่ายธุรกิจต้องทดลองทำจากสาขาแรกก่อนคุณจะต้องทำให้สาขาแรกดำเนินงานไปได้อย่างราบรื่นและมีกำไรเสียก่อนแล้วดู feedback จากตลาดว่าเป็นอย่างไร feedback จากตลาดจะเป็นสิ่งที่บอกว่าคุณพร้อมสำหรับการขยายเครือข่ายหรือไม่
2.หากคุณวางแผนจะขายสินค้าสักอย่างคุณจะต้องทดลองตลาดดูก่อนลงทุนไม่ต้องมากและประเมินอุปสงค์ขอตลาดให้แน่นอนก่อนที่จะลงทุนครั้งใหญ่
3.หากคุณกำลังคิดจะผลิตสินค้าจงตั้งคำถามว่าจะผลิตอะไรผลิตขายใครและต้องใช้ต้นทุนเท่าไหร่และสินค้าชนิดนั้น ๆ จะเป็นที่ต้องการตลาดหรือไม่ตั้งคำถามและลองหาข้อมูลอาจจะทำ RESEARCH เฉพาะกับกลุ่มเป้าหมายหลักก็ได้ เมื่อได้ข้อมูลค่อยเริ่มลงทุนผลิต
4.หาคุณตั้งใจจะทำธุรกิจเกี่ยวกับการบริการจงทดลองจัดทำบริการของคุณสู่ลูกค้าให้รวดเร็วที่สุดแล้วคุณจะรู้ว่าลูกค้าพอใจกับการบริการของคุณหรือไม่อีกทั้งคุณจะทราบได้ว่ากำลังของคุณมีมากพอที่จะจัดทำบริการที่สะดวกรวดเร็วที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้าได้ขนาดไหน
Tags: