Categories: FeaturedSUSTAIN

แนวคิดผู้นำเพื่อธุรกิจยั่งยืน – จะยักษ์ใหญ่หรือยักษ์เล็ก ก็ทำได้

4.5 / 5 ( 2 votes )

แนวคิดผู้นำธุรกิจสไตล์ใหม่ที่ยึดหลักอิงอาศัยซึ่งกันและกันตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำทุกฝ่ายต่างได้รับผลประโยชน์อย่างทั่วถึงอันส่งผลให้ธุรกิจมีความยั่งยืน

แม้เทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทในการช่วยเพิ่มศักยภาพ และสร้างโอกาสในการแข่งขันทางธุรกิจมากขึ้น แต่ใช่ว่าเทคโนโลยีจะสามารถใช้เป็นเครื่องมือผลักดันธุรกิจให้ไปข้างหน้าได้อย่างตลอดรอดฝั่งและมีความยั่งยืนเสมอไป เพราะเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอยู่โดยตลอด และสามารถก้าวตามให้เท่าทันกันได้ ดังนั้น สิ่งที่จะทำให้ธุรกิจของคุณมีความแตกต่างและขับเคลื่อนไปในอนาคตอย่างยั่งยืนได้ จึงไม่ใช่ปัจจัยภายนอกที่เปลี่ยนแปลงเร็วอย่างเทคโนโลยี แต่กลับเป็นปัจจัยภายในอย่าง “วิสัยทัศน์ผู้นำ” ในตัวคุณ ธุรกิจยุคใหม่ต้องการคนที่มีแนวคิดสไตล์ผู้นำ ทำธุรกิจไม่ใช่แค่เพื่อธุรกิจ แต่ทำธุรกิจเพื่อเติมเต็มให้สังคม ไม่สำคัญเลยว่าธุรกิจคุณจะใหญ่หรือเล็ก หากว่าธุรกิจนั้นสามารถช่วยลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำทางสังคมได้ ก็เท่ากับเป็นการสร้างและเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจคุณก้าวต่อไปในอนาคตได้เรื่อย ๆ โดยปริยาย เพราะมีกลไกสังคมเป็นแบ็คอัพคอยสนับสนุนและประคองธุรกิจให้มีความมั่นคงและยั่งยืนนั่นเอง ลองมาดูตัวอย่างกันว่าองค์กรธุรกิจต่าง ๆ ทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กเขาขับเคลื่อนธุรกิจให้มีความยั่งยืนด้วยวิสัยทัศน์ผู้นำและแนวคิดใหม่ ๆ อย่างไรกันบ้าง

จากฟาร์มสู่โต๊ะอาหาร แนวคิดใหม่ที่ไม่ลดทอนคุณค่าของอาหาร

สิ่งใดที่มีปริมาณที่มากเกินไปมักจะทำให้คุณค่าในตัวมันเองถูกลดทอนลงแม้อาหารเองก็เป็นเช่นนั้น เมื่อศักยภาพในการผลิตอาหารทำได้มากและเร็วขึ้นอาหารจึงมีจำนวนเยอะขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาหารที่ผลิตออกมามากมายเหล่านั้นไปถึงโต๊ะอาหารของคนเพียงหยิบมือเมื่อคนเหล่านั้นบริโภคไม่ทันทำให้อาหารส่วนใหญ่บูดเน่าและกลายเป็นขยะ คุณค่าอาหารถูกลดทอนลงไปทั้ง ๆ ที่ยังมีคนอีกมากมายรู้สึกเสียดายและมองว่าสิ่งเหล่านั้นแม้เป็นขยะไปแล้วแต่ก็ยังคงมีคุณค่าอยู่การที่อาหารถูกลดทอนคุณค่าลงแบบนี้ไม่ได้ส่งผลกระทบแค่เรื่องของความขาดแคลนอาหารในวงจรการบริโภคของโลกเท่านั้นยังส่งผลกระทบต่อเนื่องรุนแรงไปถึงเรื่องของเศรษฐกิจและการใช้ทรัพยากรอย่างไร้คุณค่าอีกด้วย

แนวคิดใหม่ในเรื่อง “จากฟาร์มสู่โต๊ะอาหาร” (Farm to Fork) จึงเกิดขึ้น จากการกระตุ้นขององค์การสหประชาชาติให้ประชาคมโลกโดยเฉพาะเหล่าผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารเห็นคุณค่าและความสำคัญของอาหารให้มากขึ้นโดยอาศัยวิสัยทัศน์ที่ก้าวล้ำเป็นตัวนำทางเพื่อสร้างหลักประกันที่ยั่งยืนในเรื่องของอาหารที่จะสามารถมีคุณค่าและสามารถหล่อเลี้ยงคนทั้งโลกได้อย่างเท่าเทียมแนวคิดใหม่นี้มีส่วนช่วยในการลดการสูญเสียอาหารโดยไม่จำเป็นลงไปได้มาก

ช่วยสร้างและเพิ่มโอกาสในการส่งต่ออาหารที่มีคุณค่าไปสู่คนที่ยังขาดแคลน อีกทั้งยังเป็นหนทางที่จะช่วยสร้างอาชีพและเพิ่มรายได้ให้กับแหล่งต้นกำเนิดอาหารคือเกษตรกรไปด้วยในเวลาเดียวกันทำให้กลุ่มธุรกิจใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหารปรับเปลี่ยนความคิดใหม่ในการประกอบการ จากที่เน้นแต่ผลิตให้มากและผลิตให้ไวมาเป็นการมุ่งเน้นผลิตเพื่อสร้างโอกาสในการส่งต่อคุณค่าและคุณภาพของอาหารไปสู่โต๊ะอาหารในครัวเรือนต่าง ๆ และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้องค์กรธุรกิจอาหารยักษ์ใหญ่ต่าง ๆ เริ่มหันมาแข่งขันกันด้วย “ไอเดีย” ในการเป็นเจ้าแรกของเทรนด์ธุรกิจเพื่อสังคมและประชาคมโลก ตัวอย่างเช่น เทสโก้ โลตัสกลุ่มค้าปลีกยักษ์ใหญ่ที่เป็นเจ้าแรก ๆ ในการใช้แนวคิดใหม่เรื่องจาก ฟาร์มสู่โต๊ะอาหาร อย่างเป็นรูปธรรมโดยพวกเขาได้เข้าไปรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรโดยตรง และสร้างโรงงานคัดแยกและบรรจุภัณฑ์ใกล้กับแหล่งเพาะปลูกและรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร ขั้นตอนนี้ช่วยลดเวลาการบูดเน่าของอาหารไปได้มาก จากนั้นกระบวนการขนส่งในทุกขั้นตอน ก็ได้ร่วมมือกับเกษตรกรในการคิดหาบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยเก็บรักษาอุณหภูมิของผลผลิตเพื่อให้การขนส่งทำได้ง่ายขึ้น และเมื่อไปถึงที่จัดจำหน่ายก็มีการจัดเก็บผลผลิตอย่างดีอีกครั้งก่อนส่งต่อถึงมือผู้บริโภค ซึ่งคุณจะเห็นได้ว่าแค่ปรับเปลี่ยนความคิดความคิดเพียงเล็กน้อย เติมแนวคิดสไตล์ผู้นำเข้าไปในการทำธุรกิจก็จะสามารถส่งต่อผลประโยชน์และแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ตั้งแต่ต้นน้ำยังปลายน้ำ และทำให้ผลผลิตอาหารไม่ได้ถูกลดทอนคุณค่าลงไปแต่อย่างใด ในทางกลับกันยังสร้างโอกาสในการส่งต่อคุณค่าและคุณภาพให้ถึงมือผู้บริโภคได้จริงอีกด้วย

คลิกเลย! แนะนำบทความน่าอ่าน

แนวคิดผู้นำผสานความร่วมมือ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีและธุรกิจที่ยั่งยืน

แนวคิดผู้นำในการแก้ปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำนั้นไม่ได้มีแค่แนวคิดใหม่ในเรื่องจากฟาร์มสู่โต๊ะอาหารเท่านั้น ยังมีแนวคิด 4 ประสานของผู้นำธุรกิจไทยอย่าง ธนินท์ เจียรวนนท์ ด้วย ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่คุณธนินท์ใช้แนวพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี อันเป็น “ศาสตร์พระราชา” นำทางและมาผสานเข้ากับวิสัยทัศน์แห่งความเป็นผู้นำในด้านการทำธุรกิจของคุณธนินท์ จึงเกิดขึ้นเป็นหลักหรือโมเดล 4 ประสาน ซึ่งก็คือ การผสานความร่วมมือ จาก 4 ฝ่าย คือ ภาครัฐ บริษัทเอกชน สถาบันการเงิน และเกษตรกร เข้ามารวมเป็นหนึ่งในการจัดทำโครงการเกษตรกรรมทันสมัย

โดยคุณธนินท์เองเป็นแม่งานในการเข้าไปพัฒนาพื้นที่ท้องถิ่นเกษตรกรรมรวมถึงผลักดันให้ชาวบ้านในท้องถิ่นหันมาทำเกษตรกรรมกันมากขึ้นการพัฒนาพื้นที่และการผลักดันชาวบ้าน จะต้องทำงานผสานกับภาครัฐและสถาบันการเงิน ซึ่งคุณธนินท์ก็ได้ดำเนินการผสานให้ทุกฝ่ายเข้ามาทำงานร่วมกันหลังจากที่ชาวบ้านลงมือผลิตแล้วผลผลิตที่ได้ทางคุณธนินท์ก็รับซื้อ และก็นำไปจัดจำหน่ายต่อตรงนี้ทำให้เกิดการสร้างอาชีพสร้างรายได้ที่มั่นคงขึ้นกับเกษตรกรโครงการเกษตรกรรมทันสมัยดังกล่าวนี้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมมาหลายปีแล้วนั่นก็คือ ที่หมู่บ้านหนองหว้า ตำบลบ้านซ่อง อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ปัจจุบันก็คือ “หมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า” จากวิสัยทัศน์ผู้นำของคุณธนินท์ สุดยอดนักธุรกิจไทย ที่รู้จักนำ “ศาสตร์พระราชา” มาเป็นเครื่องนำทางจึงทำให้เกิดการพัฒนาพื้นที่เพื่อช่วยให้เกิดการสร้างอาชีพสร้างรายได้ให้ตนเองของคนในท้องถิ่น เป็นการสร้างโอกาสให้ชาวบ้านและเกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และช่วยให้ธุรกิจของตนเองมีความยั่งยืนต่อเนื่องไปด้วยในเวลาเดียวกันนับว่านี่เป็นแบบอย่างของผู้นำธุรกิจที่น่าศึกษาจริง ๆ

“ศาสตร์พระราชาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงนั้นไม่ได้หมายความว่า ให้เราหยุดอยู่กับที่ในขณะที่โลกยังก้าวหน้าไม่หยุดยั้งแต่พอเพียงคือความพอเหมาะพอสม ซึ่งมันมีความหมายลึกซึ้งต้องใช้ให้ถูกต้องแล้วจะเป็นประโยชน์มหาศาลต่อบุคคลและต่อประเทศชาติ” ธนินท์ เจียรวนนท์

แบบอย่างผู้นำไม่ต้องอิงยักษ์ใหญ่ ยักษ์เล็กก็มีแนวคิดผู้นำได้

หลายคนอาจจะคิดว่า แนวคิดสไตล์ผู้นำที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น เป็นเรื่องของกลุ่มธุรกิจใหญ่ ๆ เขาทำกัน เราเป็นกลุ่มธุรกิจเล็ก ๆ คงจะมีแนวคิดสไตล์ผู้นำแบบนั้นและลงมือทำแบบนั้นไม่ได้ ซึ่งไม่จริงเลยวิสัยทัศน์แบบผู้นำไม่ได้เป็นเรื่องของขนาดองค์กรธุรกิจ แต่เป็นเรื่องของไอเดียแนวคิดใหม่และความกล้าที่จะลงมือทำมากกว่าอย่าลืมว่าสังคมมนุษย์นั้นมีหลายขนาดทั้งแบบใหญ่เป็นสังคมโลก และเล็กไปจนถึงสังคมชุมชนในหมู่บ้านไม่กี่ครัวเรือน ฉะนั้น คุณสามารถเริ่มต้นสร้างและเพิ่มโอกาสในการส่งต่อสิ่งดี ๆ ให้กับผู้คนจากสังคมขนาดเล็กดูก่อนก็ได้ อย่าง ที่บ้านปลักธง จังหวัดสงขลา ที่มีการตั้งกลุ่มเกษตรอินทรีย์ขึ้นในชุมชน ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรธรรมชาติบ้านปลักธงไปแล้ว

จุดเริ่มต้นจากคนเพียงแค่สิบกว่าคนที่เข้ามาช่วยกันปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อต้องการส่งต่อให้คนในชุมชนได้นำไปบริโภคในครัวเรือน หากมีผลผลิตเหลือมากก็ส่งนำไปขายในตัวเมืองหาดใหญ่จากจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ นั้นก็เหมือนการบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งแนวคิดใหม่ คนในชุมชนเริ่มมองเห็นประโยชน์จึงเริ่มมีคนกระโดดเข้ามาร่วมในกลุ่มนี้ด้วย เพิ่มเป็นจากสิบกว่าเป็น 50 กว่าครัวเรือน โดยใช้พื้นที่เล็ก ๆ ภายในบ้านปลูกพืชผักสวนครัวปลอดสารทำให้จากกลุ่มเล็ก ๆ ก็เติบโตเป็นกลุ่มที่ใหญ่ขึ้นมีการจัดระบบองค์ความรู้การปลูกพืชผักปลอดสารเพื่อส่งต่อให้กับสมาชิกใหม่ ๆ ด้วย ทำให้ชุมชนบ้านปลักธง มีความเข้มแข็งในแบบของตนเอง สามารถอยู่ได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากภาครัฐเลย

ทั้งนี้แนวคิดผู้นำที่เกิดขึ้นอาจไม่ได้หมายถึงว่าคุณจะต้องลงไปทำเองเสมอไปคุณอาจเป็นตัวกลางในการนำสารและแตกยอดแนวคิดใหม่ที่เกิดขึ้นไปสู่ผู้ที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจนั้น ๆ ก็ได้เช่นกันอย่างการสร้าง “ตลาดทางเลือก” ของกลุ่มเกษตรกรในหลาย ๆ จังหวัดของไทยที่พวกเขาได้หาเวทีกลางในการรวมตัวกัน เพื่อหารือเรียนรู้และสนับสนุนซึ่งกันและกัน เพราะการทำเกษตรในแต่ละภาคแต่ละพื้นที่อาจมีปัญหาที่แตกต่างกันไป บางพื้นที่ปลูกไม่ขึ้นในขณะที่อีกบางพื้นที่ปลูกพืชชนิดเดียวกันแต่ได้ผลผลิตงอกงามเป็นจำนวนมากกลุ่มเหล่านี้เขาได้มาแลกเปลี่ยนความรู้กัน และร่วมกันหาเหตุผลเหล่านั้นว่าเพราะอะไรทำไมจึงเป็นเช่นนั้นเมื่อพบเหตุผลก็ช่วยกันหาวิธีแก้ไขหากปลูกแล้วไม่มีตลาดที่จะนำไปขายหรือขายในตลาดทั่วไปแล้วไม่ได้ราคาที่ดีถูกเอารัดเอาเปรียบกลุ่มเหล่านี้ก็จะช่วยกันหาวิธีกระจายสินค้าเกษตรเหล่านี้ไปสู่ตลาดหาตลาดทางเลือกใหม่ให้เกษตรกรจนสามารถที่จะส่งผลผลิตที่มีคุณภาพให้ถึงโต๊ะอาหารของผู้บริโภคในที่สุดซึ่งคุณจะเห็นว่า คุณเองก็สามารถเป็นเวทีเชื่อมพวกเขาเหล่านี้ให้เข้ามารวมกันได้ และถ้าทำได้แบบนี้อาหารที่ดี มีคุณภาพสูงก็จะถูกส่งต่อไปยังครัวเรือนต่าง ๆ ได้อย่างครบถ้วน สิ่งนี้พิสูจน์ให้เห็นว่าแม้จะเป็นชาวบ้านหรือกลุ่มบริษัทเล็ก ๆ ก็สามารถนำแนวคิดสไตล์ผู้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริงเช่นกัน

แนวคิดผู้นำเพื่อความสำเร็จ

ฉะนั้น ไม่ว่าคุณจะอยู่ในธุรกิจขนาดใหญ่หรือขนาดเล็กก็ตามคุณต่างก็มีศักยภาพพอที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมได้ด้วยกันทั้งสิ้น ขอแค่คุณเริ่มต้นแนวคิดแบบผู้นำที่มองเห็นคุณค่าของทุกสิ่งมากกว่าประโยชน์ที่ตนเองจะได้รับ แค่นี้โอกาสที่ธุรกิจคุณจะเติบโตอย่างยั่งยืนก็มีขึ้นแล้ว

  • แนวคิดผู้นำเพื่อธุรกิจที่ยั่งยืน ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้นถึงจะทำได้ธุรกิจขนาดเล็กก็สามารถที่จะประยุกต์นำแนวคิดสไตล์ผู้นำมาปรับใช้กับชุมชนและท้องถิ่นของตนได้เช่นกัน เมื่อคุณเริ่มคิดถึงสังคมและชุมชนมากขึ้น คุณจะพบว่า คุณมีศักยภาพในการสร้างประโยชน์ให้กับสังคมได้มากมายกว่าที่คุณคิด เมื่อสังคมเข้มแข็ง สังคมก็จะเป็นเสาหลักที่ช่วยค้ำยันให้ธุรกิจคุณสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืนนั่นเอง

 

Passiongen

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

9 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

1 year ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

1 year ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

1 year ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

2 years ago

This website uses cookies.