การทำธุรกิจยุค 4.0 จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาแนวทางหรือแนวคิดใหม่ ๆ มาเพิ่มศักยภาพและสร้างโอกาสให้กับองค์กรธุรกิจของตนเองแน่นอนว่าทุกองค์กรธุรกิจล้วนต้องการก้าวไปสู่ความเป็นผู้นำเหนือคู่แข่ง หรือธุรกิจใดที่เป็นแบบอย่างผู้นำอยู่แล้ว ก็คงต้องการรักษาความเป็นผู้นำนั้นไว้ให้นานที่สุดคำถามที่น่าสนใจก็คือ “แล้วจะทำอย่างไรให้องค์กรธุรกิจของเราสามารถปรับตัวและรักษาความเป็นผู้นำเอาไว้ได้” กุญแจสำคัญที่จะช่วยไขปัญหานี้ก็คือ พันธมิตรทางธุรกิจ หรือ พาร์ทเนอร์ นี่คือปัจจัยสำคัญของธุรกิจยุคใหม่ที่จะเข้ามาช่วยส่งเสริมและเติมเต็มองค์กรธุรกิจของคุณ แล้วจะเริ่มต้นมองหาพาร์ทเนอร์ธุรกิจกันอย่างไรดีมาค้นหาคำตอบไปด้วยกัน
หากต้องการให้ธุรกิจมีศักยภาพโตอย่างก้าวกระโดดมากขึ้น หรือ สามารถรักษาความเป็นผู้นำที่เหนือคู่แข่งของทั้งธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดเล็กไว้ได้เช่นเดิมคุณต้องเริ่มจาก “ปรับเปลี่ยนความคิด” และหันมามองสถานการณ์โลกที่เป็นจริงในปัจจุบันด้วยวิสัยทัศน์ผู้นำโลกในวันนี้หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเกินกว่าที่เราจะตั้งตัวได้ทันเทคโนโลยีพัฒนาเร็วและมีส่วนอย่างมากที่ทำให้ธุรกิจเล็ก ๆ สามารถเติบโตอย่างก้าวกระโดดและมีศักยภาพมากถึงขนาดกล้าที่จะขึ้นมาแข่งกับธุรกิจใหญ่ ๆ ได้ นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้วันวานธุรกิจของคุณอาจอยู่ในฐานะแบบอย่างผู้นำ แต่วันนี้อาจไม่ใช่แล้ว ถ้าคุณไม่เริ่มตั้งต้นกำหนดทิศทางธุรกิจในวันนี้ด้วยวิสัยทัศน์ผู้นำ พรุ่งนี้คุณอาจพบคู่แข่งที่ศักยภาพสูงพัฒนาตัวเองขึ้นมาเทียบชั้นอย่างน่ากลัว และอาจทำให้คุณตั้งรับปรับกลยุทธ์แทบไม่ทันคุณอาจคิดว่า ไม่น่าจะเป็นไปได้เลย แต่สิ่งเหล่านี้ได้เป็นจริงและเกิดขึ้นแล้วในโลกธุรกิจยุคปัจจุบันซึ่งจะสะท้อนให้เห็นได้จากตัวอย่างที่จะกล่าวต่อไป
เมื่อเอ่ยถึงชื่อ ธนินท์ เจียรวนนท์ ทุกคนต่างทราบดีว่าคือ สุดยอดนักธุรกิจไทยที่ประสบความสำเร็จทั้งในเวทีธุรกิจไทยและเวทีธุรกิจระดับเอเชีย เคล็ดลับหนึ่งที่ถือเป็นกลยุทธ์สำคัญของคุณธนินท์ ที่ทำให้วันนี้มีองค์กรธุรกิจที่ยิ่งใหญ่และมีศักยภาพสูงเป็นที่ยอมรับ ก็คือ การหาพันธมิตรทางธุรกิจ สิ่งนี้นับเป็นจุดเด่นอย่างหนึ่งในการบริหารธุรกิจของคุณธนินท์เลยก็ว่าได้
จะเห็นได้จากการที่คุณธนินท์ได้เชิญคุณ “เซเว่น เสงี่ยมเฉย” ผู้นำชุมชนท้องถิ่นของไทยข้ามพรมแดนไปยังเมียนมาเพื่อเข้าไปถ่ายทอดความรู้เรื่องการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านให้ได้ประโยชน์ทั่วถึงแก่ชาวบ้านอย่างยั่งยืนสไตล์ “ท้องคุ้งโมเดล” ให้กับชุมชนท้องถิ่นในเมียนมาเพื่อให้ประชาชนในเมียนมาสามารถดูแลจัดการและบริหารการเงินในครัวเรือนของตนเองได้ จะได้มีคุณภาพชีวิตและกำลังซื้อที่มากขึ้น เป็นที่ทราบกันดีว่าคุณธนินท์ได้มีการลงทุนขยายธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารเข้าไปในอาเซียนหนึ่งประเทศที่คุณธนินท์มองเห็นโอกาสก็คือ “เมียนมา” การเข้าไปตั้งโรงงานผลิตอาหารสัตว์และอาหารแปรรูปเข้ามาในเมียนมานั้นทำให้คุณธนินท์ได้พบทั้งโอกาสและปัญหาในการขยายธุรกิจซึ่งตรงนี้อยากจะชี้ให้เห็นว่าแม้จะเป็นองค์กรธุรกิจที่ยิ่งใหญ่และคงความเป็นผู้นำเรื่อยมายังไม่อาจที่จะคาดเดาได้ว่าธุรกิจจะราบรื่นไปได้ตลอดรอดฝั่งเสมอไป เพราะโอกาสมักมาพร้อมปัญหาและอุปสรรคเสมอ
จริงอยู่ว่าเมียนมาเป็นหนึ่งประเทศเกษตรกรรมที่มีศักยภาพมีความพร้อมด้านแรงงานและทรัพยากร แต่เอาเข้าจริงแล้วเมียนมามีข้อจำกัดมากมายในตนเอง การเมืองที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่โดยตลอด ส่งผลให้การพัฒนาและส่งเสริมด้านเศรษฐกิจไม่มีความต่อเนื่องประชาชนในท้องถิ่นต่าง ๆ จึงต้องดูแลตัวเองไปตามอัตภาพ แม้จะรวมตัวกันเป็นชุมชนท้องถิ่นและมีงบประมาณจากรัฐลงไปให้ในแต่ละหมู่บ้านก็ตาม แต่ชุมชนท้องถิ่นเหล่านั้นในเมียนมายังขาดความรู้ความเข้าใจและหลักการบริการการเงินท้องถิ่นที่ดี จึงส่งผลให้ชาวบ้านท้องถิ่นในเมียนมาขาดทักษะในการบริหารจัดการเงินในครัวเรือน ทำให้คุณภาพชีวิต กำลังซื้อและเงินทุนของประชาชนในเมียนมายังมีจำกัดทั้งหมดเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้การเดินหน้าขยายธุรกิจของคุณธนินท์ในเมียนมาเริ่มชะงัก แต่ด้วยวิสัยทัศน์ผู้นำและประสบการณ์ที่มากมายในวงการธุรกิจจึงทำให้คุณธนินท์งัดกลยุทธ์ “หาพันธมิตร” มาช่วยแก้ปัญหา
โดยคุณธนินท์มองว่าปัญหาของชุมชนหรือปัญหาในระดับท้องถิ่นหากจะแก้ต้องแก้โดยคนในชุมชน เริ่มต้นจากล่างสู่บนจึงจะสำเร็จประชาชนท้องถิ่นในเมียนมาขาดความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการเรื่องเงินจึงทำให้ไม่มีกำลังซื้อการจะแก้ไขก็ต้องให้ความรู้พวกเขาให้ทุกคนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการเรื่องการเงิน รู้วิธีบริหารกองทุนหมู่บ้านเมื่อภาครัฐได้ส่งมาช่วยเหลือรู้ว่าจะทำอย่างไรให้เงินเหล่านั้นสามารถนำไปต่อยอดได้อย่างยั่งยืนนั่นจึงทำให้คุณธนินท์มองย้อนกลับมาที่ประเทศไทย และก็พบว่าชุมชนบ้านท้องคุ้ง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นับเป็นชุมชนต้นแบบในเรื่องการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านอย่างยั่งยืนที่ทุก ๆ คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการดูแลบริหารจัดการ และประโยชน์ก็ตกถึงทุกครัวเรือนในชุมชน จนกลายเป็นโมเดลต้นแบบการบริหารจัดการเรื่องการเงินของคนในท้องถิ่นที่ประสบความสำเร็จที่เรียกว่า “ท้องคุ้งโมเดล” คุณธนินท์รู้ว่านี่คือหนทางที่จะช่วยปลดล็อคทุกอย่างของการขยายธุรกิจที่ติดขัดชะงักงันอยู่ในเมียนมา คุณธนินท์จึงไม่รอช้าที่จะไปเชิญคุณ “เซเว่น เสงี่ยมเฉย” ประธานสถาบันการเงินท้องคุ้งที่ได้ร่วมพัฒนาระบบการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านอย่างยั่งยืนจนประสบความสำเร็จเข้าไปช่วยให้ความรู้และถ่ายทอดขั้นตอนการบริหารจัดการเรื่องการเงินท้องถิ่นให้กับชาวเมียนมา เมื่อประชาชนในเมียนมามีอยู่มีกินอย่างพอเพียงไม่เดือดร้อนการขยายธุรกิจของคุณธนินท์ก็จะเดินหน้าต่อไปได้ด้วยซึ่งคุณจะเห็นว่านี่แหละคือ กลยุทธ์การ “หาพาร์ทเนอร์” ของคุณธนินท์ ที่เต็มไปด้วยความเรียบเนียนแต่คมกริบเกิดผลดีต่อทุกฝ่ายอย่าง Win-Win
คุณธนินท์เชี่ยวชาญด้านการบริหารธุรกิจ แต่อาจไม่ได้เชี่ยวชาญเรื่องการบริหารจัดการชุมชนท้องถิ่นเขาทราบสิ่งที่ขาดไปในตนเอง เขาจึงต้องการพาร์เนอร์ที่จะเข้ามาเติมเต็มในสิ่งที่ขาด เพื่อช่วยให้ธุรกิจการทำงานของตนสามารถเดินหน้าต่อไปได้พร้อม ๆ กับการช่วยให้โมเดลการบริหารจัดการด้านการเงินท้องถิ่นถูกกระจายออกไปตามความต้องการของคุณเซเว่น อีกทั้งยังช่วยแก้ปัญหาให้ผู้คนท้องถิ่นในเมียนมาไปด้วยเวลาเดียวกัน ซึ่งคุณธนินท์ได้ตอกย้ำให้เน้นความสำคัญของการมีพาร์เนอร์ธุรกิจเอาไว้ว่า
“วันนี้โลกเปลี่ยนไปแล้ว การเก่งคนเดียวสู้การมีพันธมิตรทางธุรกิจไม่ได้อย่างแน่นอน ธุรกิจในยุคใหม่นี้ ควรมองในเรื่อง พันธมิตรทางการค้า ให้ดี เพราะโลกทุกวันนี้เล็กลงและเปลี่ยนแปลงเร็วมากการทำธุรกิจจะต้องพึ่งพาและอาศัยความเชี่ยวชาญของกันและกันในการต่อธุรกิจ การต่อยอดรวมถึงการเพิ่มมูลค่าของธุรกิจ การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจที่ยอดเยี่ยม ถูกคน ถูกเวลา จะนำมาซึ่งประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับทุกธุรกิจไม่ว่าจะอยู่ในระดับไหนอย่างแน่นอน”
อย่างที่กล่าวไปตอนต้นการมองหาพาร์ทเนอร์ธุรกิจที่เหมาะสม จุดเริ่มต้นสำคัญอยู่ที่วิสัยทัศน์ทั้งของผู้นำและคนในองค์กร ที่จะต้องพร้อมเปิดใจที่จะรับสิ่งใหม่ ๆ และรับทราบจุดอ่อนของธุรกิจตนเอง การเปิดใจยอมรับ เท่านั้นถึงจะเป็นจุดเริ่มต้นการสร้างทางให้โอกาสใหม่ ๆ ได้เข้ามาสู่การทำธุรกิจของตนเองเมื่อเปิดใจแล้วคุณก็จะพบว่าใครบ้างที่จะมีศักยภาพเข้ามาเติมเต็มในส่วนที่ขาดของคุณ และคุณเองสามารถเข้าไปเติมเต็มให้กับใครหรือธุรกิจสายไหนได้บ้างซึ่งการจะเข้าเจรจาหารือเพื่อเป็นพาร์ทเนอร์ร่วมกัน โดยที่คุณกับคู่ค้าไม่ได้รู้จักหรือเกี่ยวข้องกันมาก่อนไม่ว่าจะสายงานธุรกิจเดียวกันหรือไม่ก็ตาม เรามีคำแนะนำในการเปิดการเริ่มต้นเจรจาหารือเพื่อเป็นพาร์ทเนอร์ร่วมกันดังนี้
ฉะนั้น จงเริ่มต้นมองตนเองอย่างเปิดใจด้วยวิสัยทัศน์ผู้นำว่า องค์กรธุรกิจของคุณขาดสิ่งใดไป สิ่งใดบ้างที่คุณไม่สามารถหามาตอบสนองความต้องการของตลาดและผู้บริโภคได้ และใครบ้างที่มีสิ่งที่คุณขาดไปเหล่านั้น ใครบ้างที่จะช่วยให้คุณมีศักยภาพที่มากขึ้นในการตอบสนองความต้องการที่ลึกซึ้งของผู้บริโภคได้อย่างทั่วถึง จงเปิดใจรับพวกเขาและเสนอสิ่งที่คุณมอบให้พวกเขาได้ให้พวกเขาอย่างจริงใจ เพียงเท่านี้คุณก็จะมีโอกาสในการเติบโตอย่างก้าวกระโดดและก้าวไปสู่ความเป็นผู้นำได้อย่างยั่งยืนแล้ว
อ้างอิงธุรกิจของคุณธนินท์ในพม่า https://mgronline.com/stockmarket/detail/9550000116012
อ้างอิงเพิ่มเติมเรื่องท้องคุ้งโมเดล https://www.ryt9.com/s/iq05/1493273
https://www.springnews.co.th/programs/insidethailand/348393
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.