Digital Disruption กำลังเข้ามาป่วนโลก พบกับ mindset ที่น่าสนใจในปรับองค์กรธุรกิจให้ทันต่อการแทรกแซงของเทคโนโลยี เพื่อจะก้าวผ่านและนำความสำเร็จมาสู่องค์กร
เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่มีศักยภาพทำให้โลกก้าวไปข้างหน้าก็จริง แต่ในอีกด้านเทคโนโลยีที่ “เร็ว” และ “แรง” ก็เข้ามาแทรกแซงวิถีการทำงานของมนุษย์ไปด้วยในขณะเดียวกัน สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ไม่ได้ส่งผลกระทบแค่รายบุคคล แต่กระทบไปยังรูปแบบการทำธุรกิจของทั้งองค์กร ผู้นำองค์กรธุรกิจใดไม่สามารถที่จะปรับเปลี่ยนความคิด และปรับเกมเตรียม mindset การแข่งขันเสียใหม่ ก็ยากที่จะนำพาองค์กรก้าวเดินไปข้างหน้าต่อไปได้ ช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาในปี 2018 นี้เราจึงได้เห็นองค์กรธุรกิจชั้นแนวหน้าต่าง ๆ เริ่มขยับปรับตัวหาแนวทางและแนวคิดใหม่ ที่สอดรับกับการเข้ามาแทรกแซงของเทคโนโลยี โดยการปรับแนวทางการทำงานขององค์กรให้เข้าสู่รูปแบบ Digital Transformation อย่างเต็มรูปแบบ มาดูกันว่าวิสัยทัศน์ผู้นำองค์กรชั้นนำเหล่านั้นพวกเขาเตรียม mindset ของตนเองกันอย่างไรเพื่อจะนำพาองค์กรต่อสู้กับ Digital Disruption ที่กำลังเกิดขึ้น
กลุ่มมิตรผล เป็นอีกหนึ่งกลุ่มธุรกิจชั้นนำของไทย ที่ตระหนักถึงปัญหา Disruption ของเทคโนโลยีที่ก้าวไปเร็ว คุณอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานของกลุ่มมิตรผลที่มองสถานการณ์ด้วยวิสัยทัศน์ผู้นำว่าไม่อาจหลีกหนีหรือปฏิเสธเทคโนโลยีที่เข้ามาได้ จึงเตรียม mindset เอาไว้รับมือในเรื่องนี้ว่า “การเปลี่ยนแปลง คือ ความท้าทายใหม่ของธุรกิจ” ความท้าทายในการทำธุรกิจในรูปแบบเดิม ๆ ก็คือ การครองใจผู้บริโภค แต่ธุรกิจยุคใหม่จะต้องปรับเปลี่ยนความคิดว่า ความท้าทายไม่ใช่แค่การครองใจผู้บริโภค แต่จะต้องรับมือกับผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงเร็วให้ได้ เทคโนโลยีที่รวดเร็วนั้นส่งผลให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงเร็ว ฉะนั้น ธุรกิจจะเหนือคู่แข่งได้ก็จะเป็นที่จะต้องมีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตนเองอย่างรวดเร็วด้วย ถึงจะสามารถสร้างโอกาสใหม่ ๆ สร้างตลาดใหม่ ๆให้กับธุรกิจได้ ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาดังกล่าวนั้น ไม่ใช่เพียงแค่เปิดรับเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้ในองค์กร แต่ยังหมายถึงการที่จะต้องพัฒนาบุคลากรเพิ่มเพื่อให้บุคลากรเหล่านั้นมีความรู้ ความเชี่ยวชาญในการควบคุมกำกับเทคโนโลยีในอีกขั้นตอนหนึ่งด้วย ซึ่งการวาง mindset ไว้แบบนี้ นอกจากจะทำให้องค์กรสามารถเดินต่อไปได้แล้วยังเป็นการลดผลกระทบจากการ Disruption ของเทคโนโลยีได้ดีอีกระดับหนึ่งด้วย
กลุ่มธุรกิจที่เรียกว่าเรียกเสียงฮือฮาและสะท้อนความชัดเจนถึงผลกระทบจากปัญหา Disruption ของเทคโนโลยีมากที่สุดกลุ่มหนึ่งเลยก็คือ กลุ่มธุรกิจการเงินและการธนาคาร เทคโนโลยีช่วยให้การทำธุรกรรมทางการเงินเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ อีกทั้งการเข้ามาของ Cryptocurrency และเทคโนโลยี Blockchain ยิ่งกระตุ้นให้พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมการเงินบนโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมากขึ้น จะเห็นได้จากเทคโนโลยี Mobile banking ในปัจจุบันที่สามารถช่วยให้การทำธุรกรรมการเงินของผู้คนบนโลกเร็วและง่ายขึ้น สามารถทำธุรกรรมการเงินต่างธนาคารได้เสร็จสิ้นได้ในเวลาเพียงไม่กี่วินาที นั่นจึงทำให้กลุ่มธุรกิจการเงินและการธนาคารของไทยเรา ต้องหากลยุทธ์และแนวคิดใหม่ ๆ ในการปรับตัวรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงและการแข่งขัน ทั้งการสร้างระบบพร้อมเพย์ การจับมือร่วมกันของทุกธนาคารลดค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมการเงิน ไม่จะฝาก ถอน โอน เติม จ่าย ไร้ค่าธรรมเนียมทั้งสิ้น ไปจนถึงขั้นการเตรียมปรับลดขนาดองค์กร ซึ่งเป็น mindset สำคัญที่ใช้เป็นกลยุทธ์ในการปรับตัวเข้าสู่ Digital Transformation อย่างเต็มรูปแบบ
SCB ธนาคารไทยพาณิชย์เป็นแบบอย่างผู้นำในการนำ mindset ปรับลดขนาดองค์กรมาใช้เพื่อปรับองค์กรให้ก้าวเข้าสู่แพลทฟอร์มดิจิทัลเป็นรายแรก ๆ หลายคนอาจจะมองว่าการปรับลดขนาดองค์กรจำเป็นต้องปลดพนักงานออกบางส่วน แต่ความจริงแล้วไม่ใช่แบบนั้น คุณอาทิตย์ นันทวิทยา กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SCB เผยวิสัยทัศน์ผู้นำในเรื่องนี้ว่า
“แท้จริง mindset ในเรื่องปรับลดขนาดองค์กร คือ การลบภาพจำว่าองค์กรขนาดใหญ่จะต้องทำงานเชื่องช้า ทุกอย่างต้องเป็นกระบวนการและตามขั้นตอนทิ้งออกไปจากความคิดของลูกค้าและพนักงานทุกคน ทุกสิ่งจะแทนที่ด้วยความสะดวกรวดเร็วและสร้างสรรค์ และในขณะที่องค์กรกำลังลดขนาดลงเราจะหันไปพัฒนาบุคลากรของเราเพิ่ม เพื่อให้พนักงานมีศักยภาพที่มากขึ้น เราไม่ได้ถอดถอนอาชีพของพวกเขา แต่เราจะสร้างอาชีพใหม่ที่สอดคล้องกับยุคสมัยให้พวกเขาแทน”
นี่จึงเป็นแนวคิดผู้นำธุรกิจที่ล้ำลึก สามารถปรับทั้งโครงสร้างองค์กร แผนธุรกิจ ระบบการทำงานและพนักงานไปได้ในการปรับเปลี่ยนเพียงครั้งเดียว หลังจากนี้เทคโนโลยีจะก้าวไปอย่างไรองค์กรและพนักงานก็จะเริ่มปรับตัวรับมือได้ทันในทุกสถานการณ์มากยิ่งขึ้น
ปัญหา Disruption ของเทคโนโลยีส่งผลกระทบไปทั้งยักษ์เล็กและยักษ์ใหญ่ แม้กระทั่งองค์กรของสุดยอดนักธุรกิจไทย อย่างธนินท์ เจียรวนนท์เองก็ยังไม่รอด หลาย ๆ ธุรกิจในเครือของคุณธนินท์เองในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมาก็ได้รับผลกระทบในเชิงลบไม่น้อย แต่ด้วยวิสัยทัศน์แห่งความเป็นผู้นำในด้านการทำธุรกิจของคุณธนินท์มีสูง ด้วยประสบการณ์ที่มากมายในการธุรกิจที่หลากหลายมายาวนาน ทำให้คุณธนินท์ จัดวาง mindset ในการนำพาองค์กรรับมือกับการแทรกแซงของเทคโนโลยีได้อย่างลงตัว ซึ่ง mindset สำคัญนั้นก็คือ “ธุรกิจจะยั่งยืน ต้องเริ่มจากการสร้างโอกาส” ซึ่งการสร้างโอกาสที่กล่าวมานี้ไม่ใช่แค่เรื่องการสร้างโอกาสทางธุรกิจ เพราะในขณะที่วิกฤตเทคโนโลยีกำลังป่วนโลกอยู่นี้โอกาสทางธุรกิจแทบจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าปรับตัวไม่ทัน แต่การสร้างโอกาสในความหมายของคุณธนินท์นั้นมี 2 นัยยะ คือ
“เทคโนโลยีในปัจจุบันไม่ได้แค่เข้ามา ‘ป่วน’ อาชีพของเราเท่านั้น แต่ยังสามารถที่จะ ‘เปลี่ยน’ อาชีพของคนเราได้เลยทีเดียวหากเราปรับตัวไม่ทัน ฉะนั้น เราจะต้องรู้จักนำเทคโนโลยีมาสร้างโอกาสให้สังคม ถ้าคนจำนวนมากได้รับความสะดวกรวดเร็วและประโยชน์จากเทคโนโลยีที่เราใช้ โอกาสทางธุรกิจก็จะเกิดขึ้นเอง” ธนินท์ เจียรวนนท์
เหล่านี้ทั้งหมดคือ mindset ที่น่าสนใจ เป็นทั้งแนวทางและแนวคิดใหม่ ที่ช่วยให้คุณสามารถนำไปปรับใช้ในองค์กรธุรกิจเพื่อรับมือกับวิกฤต Digital Disruption ที่กำลังเกิดขึ้นได้ เทคโนโลยีไม่ใช่สิ่งน่ากลัว ถ้าเรารู้ตัวและตั้งรับมันให้ทัน
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.