ประกัน โควิด19 “เจอ จ่าย จบ” ทางเลือก-ทางรอดระบบประกันภัย
ประกัน โควิด19 เรื่องวุ่นๆ ที่คนทำประกันต้องเผชิญ…เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) นายสุทธิพล ทวีชัยการ ได้กล่าวถึง กรณีศาลปกครองกลางนัดไต่สวนคำร้องที่บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) กับพวกยื่นฟ้องเลขาธิการ คปภ. ให้เพิกถอนคำสั่งยกเลิกยกเลิกเงื่อนไขการใช้สิทธิบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัย โดยระบุว่ากรมธรรม์ยังคงมีผลบังคับใช้ ผู้เอาประกันสามารถเคลมประกันได้ และคปภ.จะอยู่เคียงข้างเพื่อคุ้มครองประโยชน์ประชาชน และเพื่อไม่ให้เกิดบรรทัดฐานจากการบริหารความเสี่ยงที่ผิดพลาดของตนเอง และผลักภาระกลับไปให้กับประชาชน ทำให้กรณีดังกล่าวเป็นการที่วิพากษ์วิจารณ์กันว่าถูกต้องเหมาะสมหรือไม่..
การยืนยันให้บริษัทประกันภัยจ่ายเคลมประกันภัยโควิด-19 แบบเจอจ่ายจบ ดูจะเป็นการกระทำที่เหมาะสม แต่ขณะเดียวกันก็เป็นการกระทำที่ทำลายธุรกิจประกันภัยไปพร้อมกัน เพราะยอดเคลมที่สูงกว่า 40,000 ล้านบาทและยังเพิ่มขึ้นทุกวันควบคู่กับตัวเลขการติดเชื้อโอมิครอนนั้น คงหนักหนาเกินกว่าที่บริษัทประกันใด ๆ จะรับไหว ซึ่งสุดท้ายแน่นอนว่าคงล้มทั้งกระดาน….
การล้มของบริษัทประกันภัย ไม่ได้มีผลกระทบแต่บริษัทเพียงอย่างเดียว แต่กระทบถึงลูกค้าและคู่ค้า ซึ่งธุรกิจประกันภัยมีซัพพลายเชนที่ยาวไม่ใช่น้อย เพราะมีทั้งประกันภัยรถยนต์ และประกันสุขภาพ แน่นอนธุรกิจเหล่านั้นต้องได้รับผลกระทบไปด้วย ซึ่งสุดท้ายภาครัฐก็ต้องมีมาตรการช่วยเหลือตามความรุนแรงของปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ยังไม่นับถึงยอดเคลมประกันภัยโควิด-19
Passion gen จึงชวนให้ขบคิดกันว่า ทางออกและทางออกของปัญหาที่แท้จริงอยู่ที่ตรงไหนกันแน่…
แม้วันนี้ คปภ. จะยึดมั่นในการยืนหยัดอยู่ข้างประชาชนและทำเพื่อรักษาระบบของการประกันภัย…แต่ คปภ.ลืมที่จะพูดถึงความรับผิดชอบ ในการพิจารณาอนุมัติออกกรมธรรม์ แน่นอนกรมธรรม์ทุกฉบับต้องผ่านความเห็นชอบและการประเมินความเสี่ยงจาก คปภ. เสียก่อน และสิทธิในการบอกเลิกกรมธรรม์ก็เป็นสิ่งที่ คปภ.พิจารณาอนุมัติ เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับธุรกิจประกันภัย กรณีที่โควิดระบาดรุนแรงจนควบคุมไม่ได้
ประกันภัยโควิด-19 เป็นประกันภัยรูปแบบใหม่ที่ คปภ.เองเป็นผู้อนุมัติให้กรมธรรม์ออกจำหน่าย ซึ่งแน่นอนว่าปฏิเสธความรับผิดชอบส่วนนี้ไม่ได้ ในขณะที่บริษัทประกันภัยก็ยังไม่มั่นใจนัก และประกันโควิด-19 แบบ “เจอ-จ่าย-จบ” ก็เห็นจะมีแต่บริษัทประกันของไทยที่รับทำ นั่นทำให้บริษัทประกันไทยต้องแบกรับความเสี่ยงทั้งหมด ไม่สามารถส่งให้กับบริษัทรับประกันภัยต่อในต่างประเทศได้…แต่เมื่อการระบาดของโควิด-19 ระลอกแรกไม่รุนแรง บริษัทประกันภัยที่รับทำประกันต่างกำไรกับถ้วนหน้า ทุกคนจึงลืมพูดถึงความเหมาะสมและความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น จากการระบาดรุนแรงภายในประเทศ
ขณะที่ คปภ. ที่ทำหน้าที่กำกับควรจะส่งสัญญาณเตือนภัย และกำกับความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ไม่ใช่ปล่อยให้ความผิดพลาดรุนแรง แล้วผลักให้เป็นความผิดของบริษัทประกันภัยแต่เพียงฝ่ายเดียว แน่นอนว่าเรื่องนี้บริษัทประกันภัยผิดที่ประเมินความเสี่ยงผิดพลาด แต่คปภ.ก็ปฏิเสธความผิดพลาดไม่ได้เช่นกัน…
คปภ.ในฐานะองค์กรกำกับควรจะมีบทบาทสำคัญในการป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดขึ้นกับระบบ และเมื่อเกิดปัญหาขึ้นก็ไม่ควรจะลอยแพปัญหาให้เอกชนแก้ไขอยู่ฝ่ายเดียว ทั้งที่สำนักงานคปภ.ก็อยู่ได้ด้วยเงินค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากบริษัทประกันภัย….ท้ายที่สุดแล้ว “อำนาจที่ยิ่งใหญ่ ก็ต้องมาพร้อมกับความรับผิดชอบที่ใหญ่ยิ่ง” คปภ.จึงควรมีบทบาทที่ชัดเจนในการร่วมกับเอกชนในการร่วมหาทางออกของปัญหานี้
สุดท้ายทางออกทางรอดของวิกฤตในครั้งนี้ จึงไม่ได้อยู่ที่ยืนหยัดยึดมั่นกับความถูกต้องเพียงอย่างเดียว แต่ต้องรอมชอมอย่างเหมาะสมเพื่อให้ระบบเดินหน้าต่อไปได้ “จะถูกต้องแต่ไม่ถูกใจ” หรือ “ทั้งถูกใจและถูกต้อง” คงต้องอยู่ที่การตั้งโต๊ะเจรจาเพื่อหาทางออกของเรื่องนี้… ซึ่งทีมบรรณาธิการเชื่อว่า ความอยู่รอดหรือไม่ของบริษัทประกันภัยนี้ ไม่ได้เป็นแค่เรื่องของธุรกิจ แต่อาจจะเป็นชนวนให้เกิดวิกฤตระลอกใหม่ ที่หมายถึงความอยู่รอดของเศรษฐกิจทั้งระบบก็ได้ ดังนั้นจะทำอะไรต้องคิดใคร่ครวญให้ดี
Recent Posts
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.