ไฟป่า PM2.5 เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ

ผลวิจัยระบุความเชื่อมโยงระหว่าง ควันจากไฟป่า  PM2.5 และอัตราการเกิดโรคหัวใจ ไฟไหม้ป่าเขาแหลมนครนายก ภูเขาทั้งลูกเป็นทะเลเพลิง และPM2.5 ที่เกิดขึ้นในภาคเหนือ จึงเป็นบทเรียนที่สำคัญในการดูแลพื้นที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ และเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน

.

รายการการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร American Heart Association ระบุถึงหลักฐาน ในความสัมพันธ์ระหว่างอนุภาคควันไฟป่ากับอัตราการเกิดโรคหัวใจเฉียบพลัน และภาวะหัวใจหยุดเต้น โดยเฉพาะอนุภาคควันไฟขนาดเล็กที่มีขนาดไม่เกิน 2.5ไมครอน หรือเล็กกว่า ที่เรียกว่า PM2.5 ซึ่งเกิดขึ้นจากการเผาไหม้พื้นที่ทางการเกษตร รวมถึงไฟป่าที่เกิดขึ้นที่ ป่าเขาแหลม จ.นครนายก มีความเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของภาวะหัวใจหยุดเต้น  การศึกษายังพบการเพิ่มขึ้นของการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแผนกฉุกเฉินที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสกับอนุภาคควันไฟจากไฟป่า นอกจากนี้รายงานยังระบุว่า ภาวะหัวใจหยุดเต้นเพิ่มขึ้น 6.9% ในช่วงระยะเวลาสองเดือนอันเป็นผลมาจากการสัมผัสกับอนุภาคควันไฟป่าที่เกิดขึ้นใกล้กับรัฐวิกตอเรีย ประเทศออสเตรเลีย (รายงานข้อมูลสถิติจากากรเกิดไฟป่าครั้งใหญ่ในออสเตรเลีย) โดยอัตราการเกิดโรคภาวะหัวใจหยุดเต้นนี้ พบความเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก หากเป็นผู้ป่วยเพศชาย และผู้ที่มีอายุสูงกว่า 65 ปี
.

ขณะที่การศึกษาเพิ่มเติมในด้านอื่นๆ ระบุ ถึงความเชื่อมโยงระหว่าง ควันจากไฟป่า PM2.5 และการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด โรคปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ ว่ามีความเกี่ยวโยงกันอย่างใกล้ชิดอีกด้วย

.
หลายคนอาจจะวิตกกังวลถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ครั้งนี้… ขณะที่อีกหลายคนยังมองว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่ไกลเมือง ไม่น่าจะมีผลกระทบ ซึ่งสิ่งเหล่านั้นไม่จริงเลย

ควันจากไฟป่าสามารถลอยได้ไกลถึงหลายร้อยกิโลเมตร โดยขึ้นอยู่กับแรงลมและสภาพอากาศ หากมีลมและอากาศแห้งแล้งเช่น ในช่วงที่อากาศร้อนเช่นปัจจุบันอาจทำให้ควันลอยได้ไกลมากขึ้น แต่หากมีฝนตกหรือมีความชื้นสูงอาจทำให้ควันลอยได้น้อยลง อย่างไรก็ตาม ควันจากไฟป่ามีอันตรายต่อสุขภาพและสภาพแวดล้อม เนื่องจากมีสารพิษและฝุ่นละอองที่อาจกระทบต่อระบบทางเดินหายใจและสิ่งแวดล้อมได้โดยตรง

.

นักวิจัยค้นพบว่าควันไฟป่าลอยไปได้ไกลจากแหล่งกำเนิดมากกว่าที่เคยคาดคิดไว้ จากการตรวจสอบข้อมูลดาวเทียมเพื่อติดตามการเคลื่อนไหวและการแพร่กระจายของควันไฟ พวกเขาพบว่าควันไฟป่าลอยอยู่ในระดับความสูงที่สูงมาก และสามารถแพร่กระจายไปสู่เมืองที่อยู่ไกลออกไปหลายร้อยกิโลเมตรได้ ซึ่งควันไฟป่าเหล่านี้ มีความเชื่อมโยงโดยตรงกับสารก่อมลพิษอื่นๆ และมีผลโดยตรงที่ทำให้ระดับโอโซนเพิ่มสูงขึ้น จนก่อให้เกิดความเป็นพิษกับสิ่งมีชีวิตทั้งหมด

.

การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่าไฟป่าปล่อยไนโตรเจนออกไซด์และไฮโดรคาร์บอนที่มีส่วนทำให้ระดับ โอโซนสูงขึ้น แต่ผลกระทบเหล่านี้มักพบในพื้นที่ชนบท ไม่ใช่ใจกลางเมืองที่ห่างไกลจากไฟ ระดับโอโซนที่สูงขึ้นเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญโดยเฉพาะในเขตเมือง การหายใจเอาโอโซนเข้าไปทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพหลายอย่าง เช่น ไอ ระคายคอ และเลือดคั่งในคนที่มีสุขภาพดี นอกจากนี้ โอโซนยังทำให้อาการของโรคหลอดลมอักเสบ ถุงลมโป่งพอง และโรคหอบหืดแย่ลงอีกด้วย

Pasucha

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.