ผลวิจัยระบุความเชื่อมโยงระหว่าง ควันจากไฟป่า  PM2.5 และอัตราการเกิดโรคหัวใจ ไฟไหม้ป่าเขาแหลมนครนายก ภูเขาทั้งลูกเป็นทะเลเพลิง และPM2.5 ที่เกิดขึ้นในภาคเหนือ จึงเป็นบทเรียนที่สำคัญในการดูแลพื้นที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ และเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน

.

รายการการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร American Heart Association ระบุถึงหลักฐาน ในความสัมพันธ์ระหว่างอนุภาคควันไฟป่ากับอัตราการเกิดโรคหัวใจเฉียบพลัน และภาวะหัวใจหยุดเต้น โดยเฉพาะอนุภาคควันไฟขนาดเล็กที่มีขนาดไม่เกิน 2.5ไมครอน หรือเล็กกว่า ที่เรียกว่า PM2.5 ซึ่งเกิดขึ้นจากการเผาไหม้พื้นที่ทางการเกษตร รวมถึงไฟป่าที่เกิดขึ้นที่ ป่าเขาแหลม จ.นครนายก มีความเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของภาวะหัวใจหยุดเต้น  การศึกษายังพบการเพิ่มขึ้นของการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแผนกฉุกเฉินที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสกับอนุภาคควันไฟจากไฟป่า นอกจากนี้รายงานยังระบุว่า ภาวะหัวใจหยุดเต้นเพิ่มขึ้น 6.9% ในช่วงระยะเวลาสองเดือนอันเป็นผลมาจากการสัมผัสกับอนุภาคควันไฟป่าที่เกิดขึ้นใกล้กับรัฐวิกตอเรีย ประเทศออสเตรเลีย (รายงานข้อมูลสถิติจากากรเกิดไฟป่าครั้งใหญ่ในออสเตรเลีย) โดยอัตราการเกิดโรคภาวะหัวใจหยุดเต้นนี้ พบความเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก หากเป็นผู้ป่วยเพศชาย และผู้ที่มีอายุสูงกว่า 65 ปี
.

ขณะที่การศึกษาเพิ่มเติมในด้านอื่นๆ ระบุ ถึงความเชื่อมโยงระหว่าง ควันจากไฟป่า PM2.5 และการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด โรคปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ ว่ามีความเกี่ยวโยงกันอย่างใกล้ชิดอีกด้วย

.
หลายคนอาจจะวิตกกังวลถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ครั้งนี้… ขณะที่อีกหลายคนยังมองว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่ไกลเมือง ไม่น่าจะมีผลกระทบ ซึ่งสิ่งเหล่านั้นไม่จริงเลย

ควันจากไฟป่าสามารถลอยได้ไกลถึงหลายร้อยกิโลเมตร โดยขึ้นอยู่กับแรงลมและสภาพอากาศ หากมีลมและอากาศแห้งแล้งเช่น ในช่วงที่อากาศร้อนเช่นปัจจุบันอาจทำให้ควันลอยได้ไกลมากขึ้น แต่หากมีฝนตกหรือมีความชื้นสูงอาจทำให้ควันลอยได้น้อยลง อย่างไรก็ตาม ควันจากไฟป่ามีอันตรายต่อสุขภาพและสภาพแวดล้อม เนื่องจากมีสารพิษและฝุ่นละอองที่อาจกระทบต่อระบบทางเดินหายใจและสิ่งแวดล้อมได้โดยตรง

.

นักวิจัยค้นพบว่าควันไฟป่าลอยไปได้ไกลจากแหล่งกำเนิดมากกว่าที่เคยคาดคิดไว้ จากการตรวจสอบข้อมูลดาวเทียมเพื่อติดตามการเคลื่อนไหวและการแพร่กระจายของควันไฟ พวกเขาพบว่าควันไฟป่าลอยอยู่ในระดับความสูงที่สูงมาก และสามารถแพร่กระจายไปสู่เมืองที่อยู่ไกลออกไปหลายร้อยกิโลเมตรได้ ซึ่งควันไฟป่าเหล่านี้ มีความเชื่อมโยงโดยตรงกับสารก่อมลพิษอื่นๆ และมีผลโดยตรงที่ทำให้ระดับโอโซนเพิ่มสูงขึ้น จนก่อให้เกิดความเป็นพิษกับสิ่งมีชีวิตทั้งหมด

.

การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่าไฟป่าปล่อยไนโตรเจนออกไซด์และไฮโดรคาร์บอนที่มีส่วนทำให้ระดับ โอโซนสูงขึ้น แต่ผลกระทบเหล่านี้มักพบในพื้นที่ชนบท ไม่ใช่ใจกลางเมืองที่ห่างไกลจากไฟ ระดับโอโซนที่สูงขึ้นเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญโดยเฉพาะในเขตเมือง การหายใจเอาโอโซนเข้าไปทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพหลายอย่าง เช่น ไอ ระคายคอ และเลือดคั่งในคนที่มีสุขภาพดี นอกจากนี้ โอโซนยังทำให้อาการของโรคหลอดลมอักเสบ ถุงลมโป่งพอง และโรคหอบหืดแย่ลงอีกด้วย

Passion in this story