Categories: BURIN’S JOURNEY

ไทยเอาจริงแค่ไหน? ส่องมาตรการจัดการฝุ่นพิษทั่วโลก

เราต้องเป็นประชาชนที่อยู่ในประเทศที่ต้องซื้ออากาศหายใจจริงๆเหรอ?

ฝุ่นพิษกำจัดได้หรือไม่?

รัฐบาลมัวแก้ไขปัญหาอะไร ?

.

นั่นเป็นคำถามที่ค้างคาใจประชาชนคนไทยทุกคน โดยเฉพาะในกรุงเทพและ 17 จังหวัดภาคเหนือ…ในเมื่อหน่วยงานรัฐก็ระบุได้ถึงปัญหา สาเหตุของการเกิด PM2.5  แต่เพราะเหตุใดปัญหาดังกล่าวจึงเกิดขึ้นทุกปี และมีแนวโน้มที่รุนแรงอย่างต่อเนื่อง

.

หรือชีวิตของชาวบ้าน ตาสีตาสานั้น ไร้ค่า..ไม่เทียบเท่าเหล่าผู้บริหารบ้านเมือง….

.

ต้องยอมรับว่า มาตรการการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ ที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ เป็นแค่มาตรการชั่วครั้ง ชั่วคราว…. ทั้งการพ่นละอองไอน้ำ เพื่อลดฝุ่น ล้างพื้นล้างถนน ขอความร่วมมือให้ชาวบ้านหยุดเผาไร่ เป็นต้น แค่ฟังดูก็รู้ว่า ทำเป็นครั้งเป็นคราว แก้ไขเป็นครั้งๆ ตามเสียงบ่นของชาวบ้านตาดำๆ  พอเวลาผ่านพ้นไป อากาศดีขึ้นก็เลิกสนใจ เลิกทำ… ทำให้ประเทศไทยวนเวียนกับปัญหาเหล่านี้ มาอย่างน้อย 3-4 ปี และเชื่อสิ ปีหน้าก็จะเกิดขึ้นอีก….แล้วก็จะเห็นผู้บริหารประเทศ ผู้บริหารเมืองทำแบบเดิมๆ จนกว่าอากาศจะดีขึ้น

.

รู้ไหมว่า ฝุ่นพิษที่ 22 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ส่งผลร้ายต่อร่างกายเท่าบุหรี่ 1 มวน คิดง่ายๆ คนไทย กำลังสูบบุหรี่ 1 มวนทุกวัน ปีละ 365 วัน ก็ 365 มวน แล้วจะไม่เป็นมะเร็งปอดกันได้อย่างไร…

ลองมองไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่เผชิญวิกฤตฝุ่นพิษ… จีนดูจะเป็นประเทศที่น่าสนใจที่สุด เพราะเมืองใหญ่ของจีน เคยมีค่าฝุ่นพิษสูงมากกว่า 1,000 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เทียบเท่าการสูบบุหรี่ 45 มวนต่อวัน

.

สาธารณรัฐประชาชนจีน เคยถูกประณามจากนานาชาติ ก่อนการจัดกีฬาโอลิมปิกในปี 2008 ว่าเป็นประเทศที่มีอากาศเลวร้ายที่สุด แต่จีนมองความบกพร่องนั้นเป็นโอกาสและผลักดันมาตรการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ และยังได้รับโอกาสใหม่ของประเทศ จากการเติบโตของอุตสาหกรรม รถยนต์และจักรยานยนต์ไฟฟ้า จนกลายเป็นประเทศมหาอำนาจในด้านนี้ แซงหน้าประเทศชั้นนำของอุตสาหกรรม

.

บุรินทร์เจอนี่ จะพาคุณไปส่องมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษของจีน  เปรียบเทียบกับประเทศไทย แล้วดูว่าเราควรแก้ไขอย่างไร…

.

จีนวิเคราะห์ าเหตุของการเกิดมลพิษและ PM2.5 มาจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของเมือง และการไม่ได้มาตรฐานของโรงงานอุตสาหกรรม ให้เกิดมลพิษขึ้นจากทุกทาง ทั้งฝุ่นควันจากไอเสียจากรถยนต์ที่ใช้น้ำมันที่มีปริมาณเพิ่มขึ้น มลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมที่ไม่ได้มาตรฐาน ขณะที่ความท้าทายคือต้องจัดการผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วก่อนงานโอลิมปิก 2008

.
สิ่งที่ผู้นำประเทศของจีนทำ คือ การบังคับใช้กฎหมายอย่าจริงจัง ออกมาตรการที่เหมาะสม และประกาศแนวทางส่งเสริมเพื่อให้เกิดการลด PM2.5

.

การบังคับใช้กฎหมายอย่างเช่น  การสั่งปิดโรงงานที่ไม่ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะโรงงานที่ใช้บอยเลอร์ที่มาจากการเผาไหม้ถ่านหิน ที่ก่อให้เกิดมลพิษเป็นจำนวนมาก ทางการได้สั่งปิดโรงงานเหล่านี้และให้ปรับปรุงแก้ไขโรงงานให้มีมาตรฐานและไม่ปล่อยมลพิษ

ผลักดันให้รถสาธารณะเป็นรถไฟฟ้า โดยเฉพาะบริการรถเมล์ของจีน ภาครัฐบังคับใช้รถสาธารณะทั้งหมดต้องปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานไฟฟ้า

.

ขณะเดียวกันจีนได้ออกมาตรการเปลี่ยนรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ที่ใช้น้ำมัน ให้หันมาใช้พลังงานไฟฟ้า โดยใช้ทั้งมาตรการห้าม และมาตรการส่งเสริมการเปลี่ยนรถยนต์เป็นรถยนต์ไฟฟ้า ทำให้รถยนต์และรถจักรยานยนต์ของจีน ต้องเปลี่ยนมาใช้รถไฟฟ้า ทำให้มลพิษลดลงอย่างมาก

.
ส่งเสริมการใช้รถจักรยาน เพื่อลดการใช้พลังงานน้ำมัน จึงเกิดมาตรการส่งเสริมการใช้งานจักรยาน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งมาตรการที่ได้ผลอย่างมาก ปัจจุบันจีนกลายเป็นอีกหนึ่งประเทศผู้ผลิตจักรยานส่งออกตีตลาดในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ด้วยคุณภาพที่ดี และราคาที่สมเหตุสมผล ทั้งนี้ยังไม่นับรวมถึงสตาร์ทอัพจีนที่เกี่ยวข้อง เช่น แอพยืมจักรยาน ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก

.

การปลูกป่าเป็นแนวกันฝุ่น เป็นอีกหนึ่งนโยบายที่น่าสนใจ และเกิดขึ้นกับเมืองปักกิ่งที่ปลูกป่าเป็นแนวยาวหลายกิโลเมตร เพื่อเป็นแนวป้องกันฝุ่นที่เกิดจากลมที่พัดพาฝุ่นจากทะเลทรายเข้ามาที่เมืองทุกปี การปลูกต้นไม้เป็นแนวกันฝุ่นนี้ ช่วยลดมลพิษของ PM2.5 ลงได้มาก

.

จะเห็นว่า ประเทศจีนมีมาตรการแก้ไขปัญหาทั้งระยะสั้น กลาง และยาว ซึ่งนอกจากจะช่วยลดมลพิษได้ตามเป้าหมายแล้ว ยังส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่องมากมาย อย่างที่ทราบว่าทุกวันนี้ จีนเป็นผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดรถ EV ของโลก ควบคู่กับการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องมากมาย อาทิ อุตสาหกรรมผลิตแบตเตอรี่ โซลาร์เซลล์ และอื่นๆ รวมถึงอุตสาหกรรมขนาดเล็ก เช่น จักรยานที่มีสินค้าออกมาตีตลาดโลกมากมาย

.

มองย้อนกลับมาดูที่ประเทศไทย เราคงต้องพึ่งพาตัวเอง ซื้อแมส ซื้ออากาศ ซื้อเครื่องฟอกอากาศ คนที่มีกำลังหน่อยก็ซื้อรถ EV มาตรการภาครัฐคงช่วยได้นิดหน่อยเป็นน้ำจิ้ม ให้พอรับรู้ว่าได้ทำงานแล้ว…

Pasucha

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.