Categories: BURIN’S JOURNEY

“ไทย” กับโอกาสก้าวสู่ผู้นำในธุรกิจผลิตอาวุธ

สงครามระหว่าง รัสเซีย และ ยูเครน ได้ปลุกตลาดค้าอาวุธ หรือที่เรียกว่า อุตสาหกรรมเพื่อการป้องกันประเทศให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง ปัจจุบันนวัตกรรมการผลิตอาวุธได้ก้าวสู่ยุคของ AI และ Robotic อาวุธอัจฉริยะที่มีอำนาจทำลายล้างสูง แม่นยำสูง และไม่ต้องใช้คนบังคับ

🚀และแม้ประเทศไทยจะเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ แต่ในอีกมุมหนึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่มีโอกาส มีศักยภาพที่จะก้าวเป็นผู้นำในการส่งออกอาวุธในภูมิภาคได้ Burin Journey จะมาเจาะลึก ถึงโอกาส และศักยภาพของประเทศไทยในเวทีโลก ให้เข้าใจว่า แท้จริงแล้ว…ประเทศไทยมีโอกาสแค่ไหน

🚀ไทยเป็นประเทศหนึ่งในอาเซียนที่มีศักยภาพในการก้าวเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ภายใต้ภูมิรัฐศาสตร์ที่โดดเด่น และความสัมพันธ์อันดีกับประเทศมหาอำนาจ อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมของไทยยังเผชิญกับความท้าทาย ที่ต้องเร่งปรับตัว ประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ภายใต้การสนับสนุนจากภาครัฐ เพื่อให้อุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทย เติบโตอย่างก้าวกระโดด แข็งแกร่ง และยั่งยืน

🚀ข้อมูลจาก The Business Research Company ระบุว่า ตลาดอุตสาหกรรมป้องกันประเทศทั่วโลกเติบโตจาก 534,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2565 เป็น 577,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2566 มีอัตราการเติบโตที่ 7.9% และคาดว่าจะมีมูลค่า 718,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2570 ด้วยอัตราการเติบโตต่อปีที่ 5.6% โดยภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เป็นตลาดที่มีอัตราการเติบโตสูงที่สุด และคาดว่าจะครองตลาดอุตสาหกรรมป้องกันประเทศทั่วโลกในไม่ช้า

.

🚀ในระดับโลก ประเทศสหรัฐอเมริกา ยังคงเป็นผู้เล่นรายใหญ่ในอุตสาหกรรม ทั้งการส่งออกและนำเข้าอาวุธยุทธภัณฑ์ ขณะที่กลุ่มประเทศนำเข้าหลักได้แก่ ซาอุดิอารเบีย อินเดีย เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย และกลุ่มประเทศผู้ส่งออกหลักของโลกได้แก่ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย ฝรั่งเศส เยอรมนี และจีน

.

🚀สำหรับประเทศในเอเชียแปซิฟิก ที่มีศักยภาพในการส่งออกอาวุธยุทธภัณฑ์สูงที่สุดได้แก่ ประเทศ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย โดยมีประเทศ อินเดีย จีน และเกาหลีใต้ เป็นประเทศผู้นำเข้าสูงที่สุด ขณะที่ประเทศไทยแม้มีขนาดตลาดอยู่ที่ 7,500 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ยังมีศักยภาพที่จะเป็นผู้เล่นหลักในภูมิภาคจากปัจจัยหลายประการ อาทิ ตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางของอาเซียน และความร่วมมือกับประเทศมหาอำนาจ ทั้งสหรัฐอเมริกา จีน และรัสเซีย ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญ

🚀ในปัจจุบันประเทศไทยมีแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ภายใต้เป้าหมายเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของอุตสาหกรรม ลดการพึ่งพิงยุทโธปกรณ์จากต่างประเทศ รวมถึงสามารถส่งออกยุทโธปกรณ์เพื่อสร้างรายได้ให้กับประเทศ โดย ภาครัฐได้ประกาศให้ 1 ใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่จะเป็น New S Curve ในอนาคต เพื่อผลักประเทศให้หลุดจากกับดักรายได้ปานกลางให้ก้าวสู่เศรษฐกิจใหม่ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถเติบโตในระยะยาวได้อย่างยั่งยืน

.

#อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ #New_S_Curve #อาวุธ

Pasucha

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

9 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

1 year ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

1 year ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

1 year ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

2 years ago

This website uses cookies.