Categories: BURIN’S JOURNEY

รถหุ้มเกราะไทย ส่งออกไป 40 ประเทศทั่วโลก

ชัยเสรี เมททอล แอนด์ รับเบอร์ เป็นหนึ่งในบริษัทผลิตยุทโธปกรณ์ที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่ง เริ่มดำเนินธุรกิจตั้งแต่ปี 2506 ปัจจุบันดำเนินธุรกิจมาแล้วกว่า 60 ปี โดยมีมาดามรถถัง ดร.นพรัตน์ กุลหิรัญ รองประธาน บริษัท ชัยเสรี เมททอล แอนด์ รับเบอร์ จำกัด เป็นผู้บุกเบิกและปลุกปั้นธุรกิจ จนปัจจุบันบริษัทเป็นที่ยอมรับในระดับโลก ส่งออกผลิตภัณฑ์ไปแล้วกว่า 40 ประเทศทั่วโลก

.

“โรงงานของเรา 100% ทำยุทโธปกรณ์เพื่อใช้ในประเทศเป็นความมั่นคงของประเทศ แล้วอีกส่วนหนึ่งเราทำการส่งออก ศักยภาพของผู้ผลิตในเมืองไทย นอกจากบริษัทเราชัยเสรีแล้ว ก็มีบริษัทคนไทยที่มีเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีการวิจัยพัฒนาตลอด สามารถผลิตยุทโธปรกณ์ต่างๆ เพื่อใช้ในกองทัพ เพื่อความมั่นคงของประเทศได้มาก”

นพรัตน์ กุลหิรัญ รองประธาน  บริษัท ชัยเสรี เมททอล แอนด์ รับเบอร์ จำกัด

.

อย่างไรก็ตาม มาดามรถถังเล่าถึง สาเหตุและปัญหาที่เกิดขึ้นว่า ทำไมตลอดหลายปีที่ผ่านมา ประเทศไทยจึงไม่ประสบความสำเร็จกับอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

.

Burin : อุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทย กำลังเผชิญกับปัญหาอะไร ทำไมถึงพัฒนาช้ากว่าประเทศชั้นนำอื่นๆ

มาดามรถถัง : ชัยเสรี เริ่มธุรกิจในอุตสาหกรรมป้องกันประเทศตั้งแต่ปี พ.ศ.2511 โดยเซ็นสัญญาฉบับแรกกับกองทัพซึ่งเป็นสัญญาในการซ่อมรถในการผลิตเพื่อกองทัพ

ในปี พ.ศ.2526 กระทรวงกลาโหมมีหน่วยงานหนึ่งชื่อว่า หน่วยงานอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ซึ่งอุตสาหกรรมป้องกันประเทศเป็นที่ควบคุมดูแลผู้ผลิตทั้งหลาย เพราะการที่เราทำอุตสาหกรรมป้องกันประเทศได้ ต้องมีใบอนุญาต ใบอนุญาตนี้ต้องขอกับอุตสาหกรรมทหาร และกระทรวงกลาโหม ซึ่งใบอนุญาตทั้งหมดมีอยู่ 5 ใบ

.

        ใบที่หนึ่ง ใบอนุญาตนำเข้าซึ่งวัตถุดิบที่จะทำมาผลิต เช่น ชัยเสรี เราผลิตรถเกราะล้อยาง เราก็ต้องนำเข้าเหล็กเกราะกันกระสุนกันระเบิด แล้วต้องมี

        ใบที่สอง ใบอนุญาตเก็บวัสดุอุปกรณ์ ใบที่สาม ต้องมีใบอนุญาตผลิต ใบที่สี่ ใบอนุญาตเคลื่อนย้าย อย่างการจัดแสดงยุทโธปกรณ์ในวันเด็ก การเคลื่อนย้ายต้องขออนุญาต ไม่มีจะเป็นความผิด

.

และใบสุดท้าย เมื่อเราจะส่งยุทโธปกรณ์ขายในต่างประเทศ ต้องมีใบที่ห้า คือ ใบอนุญาตส่งออก เขาเรียก End User Certificated การทำอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ขีดความสามารถดีทำได้ คุณสมบัติดีขายได้ แต่การทำไม่ง่ายเลย ยากมาก แต่ทำได้ ก็ต้องมีการสนับสนุนจากภาครัฐ

รัฐต้องส่งเสริมสนับสนุนผู้ประกอบการ

ในการทำธุรกิจในอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ เราผลิตสินค้าสามารถทำได้ไม่ยาก แต่หากจะให้ประสบความสำเร็จ ต้องขายเก่ง การขายเก่งต้องมาอันดับหนึ่ง เราจะผลิตอะไรก็ตามเราต้องขายให้ได้ ต้องมีเงิน ขายได้มีเงินจึงจะสามารถพัฒนาสินค้า เพื่อให้คุณสมบัติของสินค้าดีขึ้น ซึ่งจะต้องมีข้อสังเกตคือ

.

        1.เราผลิตแล้ว สินค้าเราขายได้ ประเทศไทยเราใช้หรือไม่ กองทัพต้องใช้ยุทโปกรณ์เราหรือไม่ การส่งออกไปประเทศใดก็ตาม เขาจะถามเสมอว่า อ้างอิงได้ไหมว่า ยุทโธปกรณ์ของท่านขายใครไปบ้างแล้ว กองทัพของประเทศท่านใช้หรือไม่ ถ้ากองทัพไทยยังไม่ใช้ ขายไปประเทศไหนก็ไม่มีใครซื้อ นั่นคือเราจะขายต่างประเทศได้ เราต้องมีการใช้ก่อน

.

       2.สินค้าต้องมีคุณภาพ มีมาตรฐาน ปัจจุบันเรามีมาตรฐานกระทรวงอุตสาหกรรม และปัจจุบันเรามีมาตรฐานจากกระทรวงกลาโหม โดยกรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงกลาโหม จะมีการขึ้นมาตรฐานอุตสาหกรรม นวัตการรมใหม่ๆ เมื่อเราผลิตยุทโธปกรณ์แล้วได้มาตรฐาน ก็จะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะขายยุทโธปกรณ์ไปยังต่างประเทศได้

.

ซึ่งประเทศที่สามารถส่งออกได้ ก็ต้องเป็นประเทศที่อยู่ในรายชื่อที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงกลาโหมเท่านั้น ซึ่งก็เป็นปัญหาอีกประการ เนื่องจากบางประเทศที่เราขายสินค้าได้ อาจจะไม่อยู่ในรายชื่อของกระทรวงกลาโหมก็ได้

.

การพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้ดก้าวหน้า กองทัพจะต้องซื้อยุทโธปกรณ์จากผู้ประกอบการในประเทศก่อน ซึ่งปัจจุบันมีการซื้อน้อย กองทัพต้องสนับสนุนของในประเทศก่อน จึงจะมีการพัฒนาต่อไป ยกตัวอย่างประเทศเกาหลีใต้

.

งาน Defense & Security ที่เกาหลีใต้เชิญไป ภายในงานเขามีบริษัทมาจัดแสดงกว่า 400 บริษัทซึ่ง 100% เป็นบริษัทเกาหลีใต้ทั้งหมด ไม่มีบริษัทต่างชาติ ที่เขาทำได้เพราะเขามีความร่วมมือระหว่างกระทรวงกลาโหม และกระทรวงพาณิชย์ เชิญผู้ซื้อจาก 60 ประเทศทั่วโลกมาเยี่ยมชมในงาน โดยรัฐบาลเกาหลีใต้ออกค่าตั๋วเครื่องิบนและค่าที่พักให้ฟรี แต่ผู้ซื้อจะต้องอยู่ในงานตลอด 2 วัน ถ้าออกจากพื้นที่จัดแสดงงานก่อนกำหนด จะต้องจ่ายค่าที่พักเอง

.

ผู้ซื้อส่วนใหญ่ไม่อยากเสียค่าที่พัก ก็จะอยู่ในงานจนครบเวลา นี่คือข้อที่คามร่วมมือของเขา เลยทำให้สินค้าของประเทศเกาหลีที่เราเห็นมีการพัฒนาไปมาก มีการรวมตัวกันเป็นสมาคมภายใต้กระทรวงกลาโหม โดยกระทรวงกลาโหมเป็นผู้ควบคุมดูแล และสนับสนุนให้เกิดการขาย นี่คือการสนับสนุนจากภาครัฐ ทำให้ผลผลิตของเขามีคุณภาพ ขายในประเทศได้ และส่งออกได้เยอะมาก

.

ผู้ประกอบการไทยประสบปัญหา

Burin : ทำไมผู้ประกอบการไทยประสบปัญหา

มาดามรถถัง : สาเหตุที่ผู้ประกอบการไทยไปไม่รอด  เราต้องย้อนกลับมาทบทวน ตัวอย่างเช่น บริษัทที่ผลิตเรือ เรือรบ เช่น บริษัท มาร์ซัน หรืออู่กรุงเทพ ประสบปัญหาเพราะ ผลกระทบจากการนำเข้าเหล็ก เหล็กนำเข้าเสียภาษี 5% ภาษี Vat อีก 7% รวมเป็น 12% นั่นเป็นภาษีปกติ แต่ที่มีผลกระทบอย่างมากกับอุตสาหกรรม คือ รัฐบาลออกมาตรการปกป้องธุรกิจเหล็กในประเทศ โดยระบุว่า เหล็กนำเข้าทุกชนิด จะต้องเสียภาษีพิเศษที่เรียกว่า “มาตรการปกป้อง” ต้องเสียภาษีพิเศษอีก 40-47% รวมแล้ว ในการนำเข้าเหล็กจะต้องเสียภาษีกว่า 60% ซึ่งเหล็กที่เรานำเข้านั้นเป็นเหล็กชนิดพิเศษที่ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ แต่เราก็ต้องเสียภาษีตามมาตรการปกป้อง ขณะที่ยุทโธปกรณ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ กลับไม่เสียภาษีใดๆ เลย เรื่องนี้ไม่เป็นธรรมและส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการอย่างมาก ภาษีมาตรการปกป้องกำลังปกป้องอะไร? นีคือสิ่งที่รัฐบาลต้องพิจารณา สนับสนุนผู้ประกอบการอย่างไร ทำไมถึงต้องเสียภาษี 60%

.

รัฐบาลต้องหันกลับมาดู ว่ากำลังสนับสนุนหรือกำลังทำร้ายผู้ประกอบการในประเทศ เฉพาะเรื่องภาษีนี้ รัฐบาลหารือมา 10 ปียังไม่ได้รับคำตอบ

.

Burin : อยากให้ยกตัวอย่างยุทโธปกรณ์ที่ต่างชาติให้การยอมรับ

มาดามรถถัง : บริษัทชัยเสรี เป็นบริษัทคนไทย100% แล้วเราก็ออกแบบผลิตเอง ได้แก่พวกข้อต่อสายพาน ล้อกดสายพาน สำหรับรถหุ้มเกราะ แล้วเราก็ออกแบบเอง สร้างเองทุกชิ้นเลย เช่น รถ First Win สายพานหุ้มเกราะ ทำเองในประเทศไทยแล้วส่งออกขาย 44 กองทัพทั่วโลก

.

เมื่อปี พ.ศ.2564 เป็นความภาคภูมิใจที่เราได้ส่งรถเกราะล้อยาง รถพยาบาลหุ้มเกราะ กันกระสุน กันระเบิด ไปเป็นรถพยาบาลในสนามรบ ตอนนี้ประจำการแล้วในสหประชาชาติ เป็นรถพยาบาล 1 คัน กับรถแบบอื่นอีก 15 คัน ปัจจุบันประจำการในสหประชาชาติ ที่เมือง Central Africa Republic หรือสหภาพแอพริกากลาง

.

“เป็นความภาคภูมิใจมาก ที่รถเกราะพยาบาลของชัยเสรี ได้รับคัดเลือกให้ประจำการที่สหประชาชาติ เป็นรถพยาบาลที่บริการตรวจรักษาให้ประชาชน มีคนเข้าแถวรอรักษาเป็นกิโลเมตร เพราะในภาวะสงครามรถธรรมดาเข้าไม่ได้เพราะมีอันตรายมาก รถหุ้นเกราะของเราจึงตอบโจทย์ความต้องการของพื้นที่ได้เป็นอย่างดี นี่คือฝีมือคนไทย ช่วยเหลือประเทศชาติแล้วยังช่วยเหลือนานาชาติได้ อันนี้เป็นสิ่งที่ชัยเสรี กับพี่น้องประชาชนไทยน่าจะภาคภูมิใจ”

.

Burin : อนาคตของชัยเสรีและก้าวต่อไปของธุรกิจ และการทำเพื่อสังคม

มาดามรถถัง : ในอนาคตนอกจากชัยเสรีแล้วเรามีเป้ามหาย พยายามจะรวบรวมขีดความสามารถคนไทย เราทำให้กองทัพไทยแล้ว เราก็ควรส่งออกเพื่อนำรายได้เข้าประเทศ นั่นเป็นความตั้งใจอย่างยิ่งของเรา เราพยายามผลักดันเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2526 พอปีพ.ศ. 2553 ก็รวมกันอีกทีหนึ่งแล้วจัดตั้งเป็นสมาคมอุตสาหกรรมเพื่อการป้องกันประเทศ เพื่อรวมกันผลักดันให้เติบโต

.

แต่สิ่งสำคัญคือ รัฐบาล โดยกระทรวงกลาโหมต้องเป็นผู้นำ ในเมื่อท่านเป็นผู้ควบคุมยุทโธปกรณ์ทั้งหมด ท่านต้องให้การสนับสนุน อะไรที่ติดขัดต้องช่วยกันแก้ปัญหา นี่คือ อนาคตของประเทศไทยในอาเซียน จึงควรสนับสนุนสินค้าเหล่านี้ให้ส่งออกให้มากที่สุด

Pasucha

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

9 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

1 year ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

1 year ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

1 year ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

2 years ago

This website uses cookies.