พล.อ.วัฒนา นาราคาม อาวุธยุทโธปกรณ์ ที่ผลิตในประเทศ มีมาตรฐานเชื่อถือได้
หนึ่งในประเด็นที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตอาวุธของไทยคือ ความเชื่อมั่นในคุณภาพ และมาตรฐานการผลิตสินค้าของไทย ความกังวลว่าสินค้าไทยจะมีคุณภาพไม่เทียบเท่ากับต่างประเทศ ทำให้ภาครัฐและกองทัพ เลือกที่จะสนับสนุนอาวุธยุทโธปกรณ์จากต่างประเทศมากกว่าที่ผลิตขึ้นในประเทศ ทำให้อุตสาหกรรมป้องกันประเทศต้องเผชิญกับอุปสรรคในการพัฒนา
.
พล.อ.วัฒนา นาราคาม ประธานกรรมการ บริษัท เนแรค อาร์มส อินดัสตรี จำกัด บอกเล่าถึงอุปสรรคของอุตสาหกรรมผลิตอาวุธ และขีดความสามารถของภาคเอกชนไทย ที่วันนี้ส่งออกผลิตภัณฑ์ไปหลายสิบประเทศทั่วโลก
.
Burin : โอกาสของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมป้องกันประเทศมีมากน้อยขนาดไหน
พล.อ.วัฒนา : โอกาสยังมีอีกมากในความรู้สึกของผม เงินที่เราต้องเสียไปให้กับต่างประเทศในการนำเข้าอาวุธ ยุทโธปกรณ์ต่างๆ เป็นจำนวนมาก สำหรับประเทศไทยเราเป็นประเทศที่ยากจน งบประมาณปีละกว่าแสนล้านบาทที่เราต้องจ่ายให้กับต่างประเทศสามารถสร้างงานให้กับคนไทยด้วยกันเองได้อีกหลายบริษัท
“เราต้องการความช่วยเหลือจากทางรัฐบาล ความช่วยเหลือจากทางกองทัพ ในการนำผลิตภัณฑ์ต่างๆ ไปใช้ หากว่าเราเป็นผู้ผลิตแล้วไม่มีผู้ซื้อก็อยู่ไม่ได้”
พล.อ.วัฒนา นาราคาม
อีกประการคือว่า ถ้าหากว่าเราไม่ผลิตอาวุธของเราเอง ก็จะต้องนำเข้าอาวุธยุทโธปกรณ์อยู่ตลอดไม่ว่าจะอีก 10 ปีหรือ 20 ปีในอนาคต ซึ่งนับวันแล้วเทคโนโลยีในเรื่องอุตสาหกรรมป้องกันประเทศมันยิ่งห่างเหินจากเรามากๆ และต่อไปผมว่า ถ้าเราไม่ติดตาม เราไม่เริ่มต้นผลิตอาวุธของเราเอง เราก็จะเป็นเฉพาะผู้ซื้ออย่างเดียว จะผลิตก็ตามเทคโนโลยีไม่ทัน ปัจจุบันเราจะเห็นว่าทั่วโลกกำลังตื่นตัวเรื่อง Robotic ไม่ว่าจะเป็นหุ่นยนต์ทางการทหาร หุ่นยนต์สุนัขค้นหา อะไรต่างๆ พวกนี้ แม้กระทั่งโดรน ซึ่งใช้เทคโนโลยีไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่งพัฒนาไปเร็วมากๆ
.
การพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทำให้ยากในการไล่ตามเทคโนโลยีให้ทัน แต่จะเป็นโอกาสของเราได้ถ้าเริ่มเสียแต่วันนี้ จะเห็นว่า ศักยภาพ หรืองบประมาณในการจัดหาจากต่างประเทศหลายแสนล้านบาท เป็นโอกาสถ้าหากเราเป็นบริษัทผู้ผลิตในประเทศ สามารถผลิตได้ทัดเทียมกับต่างประเทศ เงินจำนวนแสนแสนล้านบาท จะอยู่ในประเทศ เงินเหล่านี้จะก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างคน สร้างอะไรต่างๆขึ้นมา และสุดท้ายเราจะสามารถส่งออกได้ด้วย ผมมีความมั่นใจว่า ขีดความสามารถของคนไทยจะสามารถผลิตยุทโธปกรณ์ส่งออกได้
.
Burin : จะผลักดันให้อุตสาหกรรมนี้เติบโตได้อย่างไร
พล.อ.วัฒนา : เราต้องการความช่วยเหลือจากทางรัฐบาล ความช่วยเหลือจากทางกองทัพ ในการนำผลิตภัณฑ์ต่างๆ ไปใช้ หากว่าเราเป็นผู้ผลิตแล้วไม่มีผู้ซื้อก็อยู่ไม่ได้ ทีนี้ทำอย่างไรจะให้ทางกองทัพและรัฐบาลให้ความเช่วยเหลือ และไม่ใช่ช่วยแต่คำพูด แต่ต้องช่วยเหลือด้วยการมีเงินทุนจัดหางบประมาณมาซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ไปทดลองใช้ ถ้าหากว่าพิสูจน์ว่าผลิตภัณฑ์ที่ Made in Thailand ทั้งหลายมีคุณภาพ ก็ควรจะสนับสนุนให้ใช้เยอะเหมือนต่างประเทศนะ
.
ยกตัวอย่างของเกาหลีใต้ ซึ่งเขามีความรัก สามัคคี และสนับสนุนผู้ประกอบการในประเทศ อาวุธยุทโธปกรณ์ที่ในประเทศผลิตได้ เขาจะใช้ของในประเทศก่อนโดยไม่มองสินค้าจากต่างประเทศเลย เขาเลือกใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศได้เป็นอันดับแรก ผมเองก็อยากเห็นประเทศไทยเป็นอย่างนั้น
.
Burin : ความเข้มแข็งของเกาหลีใต้เกิดจากอะไร การสนับสนุนของรัฐบาลควรจะเป็นอย่างไร
พล.อ.วัฒนา : ค่านิยม ความรักชาติ ความผูกพันที่ทุกคนมีร่วมกัน เป็นหน้าที่ ความรู้สึกที่ต้องช่วยเหลือ สนับสนุนคนในชาติเป็นจุดเริ่มต้น อันนี้เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ช่วยให้เกิดความรู้สึกแบบที่เรียกว่า “ชาตินิยม” ได้
.
Burin : มีอะไรอยากเสริมเพิ่มเติมไหมครับ
พล.อ.วัฒนา : ส่วนใหญ่คนไทยจะมีความกังวลว่า สินค้าที่ผลิตในประเทศคุณภาพจะไม่ทัดเทียมกับ สินค้าที่ผลิตจากต่างประเทศ แต่ในปัจจุบันนี้ ผู้ผลิตส่วนใหญ่มีความมั่นใจมากๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักร ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบที่นำเข้ามา ต้องได้มาตรฐาน มีการตรวจสอบมาตรฐานทุกขั้นตอน แรงงานของเราก็ต้องได้รับการตรวจสอบมาตรฐานในการประกอบ ในการทำงาน มาตรฐานเครื่องจักร มาตรฐานวัตถุดิบ เรามีเครื่องมือที่สามารถตรวจสอบได้ว่า ทุกอย่างต้องเป็นมาตรฐาน กระบวนการผลิตเมื่อออกมาผลิตภัณฑ์ก็ได้มาตรฐาน เพราฉะนั้นในเรื่องมาตรฐานนี้ อยากให้คนไทยหรือลูกค้ามั่นใจว่า ทุกผลิตภัณฑ์ที่ทำในประเทศได้มาตรฐานแน่นอน ตอนนี้การแข่งขันระหว่างของภายนอกกับของในประเทศมันเยอะ ถ้าหากว่าเรามไม่มีมาตรฐานเราจะสู้เขาไม่ได้
Recent Posts
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.