Categories: BURIN’S JOURNEYNews

กองทัพควรซื้ออาวุธจากธุรกิจไทย

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ โดยประกาศให้เป็น 1 ใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายแห่งอนาคต ที่จะขับเคลื่อนให้เกิด New S Curve ที่ผลักดันประเทศให้หลุดจากกับดักรายได้ปานกลางก้าวสู่เศรษฐกิจใหม่ โดยผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนั้นได้รวมตัวขับเคลื่อนในรูปแบบของสมาคม ภายใต้ชื่อ สมาคมอุตสาหกรรมเพื่อการป้องกันประเทศ โดยมี พล.อ.อ.มานัต วงษ์วาทย์ ดำรงตำแหน่งเป็น นายกสมาคมอุตสาหกรรมเพื่อการป้องกันประเทศ

.

เป็นโอกาสอันดีอย่างยิ่งที่ บุรินทร์เจอนี่ ได้รับเกียรติให้ร่วมสัมภาษณ์ พล.อ.อ.มานัต วงษ์วาทย์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเพื่อการป้องกันประเทศ เพื่อรับทราบถึงทิศทางของอุตสาหกรรมเพื่อการป้องกันประเทศ และการผลักดันอุตสหากรรมให้เป็น 1 ใน 12 New S Curve ของประเทศ

.

Burin : อุตสาหกรรมป้องกันประเทศมีโอกาสอย่างไรบ้าง

พล.อ.อ.มานัต วงษ์วาทย์ : จริงโอกาสมีมากมาย เพราะความต้องการภายในประเทศเรื่องของอาวุธยุทโธปกรณ์ที่เป็นภูมิคุ้มกันของชาติบ้านเมืองเป็นความต้องการที่มีมายาวนาน แต่ละปีเราใช้จ่ายเงินในการจัดหาอาวุธจากต่างประเทศค่อนข้างมาก และเงินตรงนี้ไหลออกไปหมดเลย ดังนั้นโอกาสตรงนี้ควรจะกลับมาเป็นของคนไทย ขีดความสามารถในการผลิต ในการสร้างนวัตกรรมที่ล้ำสมัย เป็นปัญญาไทย มีในเมืองไทยมายนาวนาน แต่โอกาสมันปิด

.

วันนี้เราจะเปิดช่องเพื่อหาโอกาสว่า นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2566 เป็นต้นไปโอกาสเหล่านี้ควรกลับมาเป็นของอุตสาหกรรมภายในประเทศ งบประมาณปีละกว่า 5 หมื่นล้านบาทต่อปี ควรถูกนำมาใช้จ่ายกับอุตาสาหกรรมภายในประเทศมากขึ้น แต่เราไม่ได้ปิดกั้นคนอื่นและบริษัทจากต่างประเทศ ชาวต่างชาติ นักลงทุน สามารถเข้ามาร่วมมือในวิธีการที่กำหนดขึ้นได้ เพื่อมาช่วยกันเสริมสร้างอุตสาหกรรมให้เข้มแข็ง เราไม่ได้ต้องการที่จะห้ามหรือทำลายกัน เรามีโอกาสที่จะต้องมาสร้างความร่วมมือระหว่างกัน เพื่อพยุงโลกใบนี้ไว้ให้เกิดความสงบสุข และทุกอย่างจะเป็นวิถีแห่งความเป็นชาติ และมีขีดความสามารถในการปกป้องชาติบ้านเมืองของเราเอง

.

Burin :  แนวทางผลักดันให้อุตสากกรรมนี้เติบโตควรจะทำอย่างไรบ้างครับ

พล.อ.อ.มานัต วงษ์วาทย์ : จริงๆ ศักยภาพของกลุ่มงานของพวกเรา เรามี 12 กลุ่มงานนะครับ 12 คลัสเตอร์และมี 50 กว่าบริษัท ทุกบริษัทมีขีดความสามารถหมดเลย แต่เรายังขาดหัวหน้าวง หมายความว่าเครื่องดนตรีทุกชิ้น 50 กว่าชิ้น พร้อมที่จะบรรเลงเป็นวงออเคสตร้า และเรากำลังหาวิธีการว่าทำอย่างไร? ทำอย่างไรถึงถึงจะจับทั้งหมด 50 กว่าบริษัทมาผนึกกำลังและสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อชาติบ้านเมืองได้ ไม่ว่าจะเป็นมิติของทางบก ทางเรือ ทางอากาศ และทางอวกาศ ซึ่งมิติทั้ง 4 มิติ และมิติที่ 5 คือไซเบอร์ ทั้ง  5 มิติ สามารถที่จะหลอมรวม บริษัททั้งหลายคิดค้นนวัตกรรม ถ้าจับมาผสมกันก็คือเครื่องมือป้องกันประเทศ เป็นเครื่องมือที่สร้างภูมิคุ้มกันให้กับประเทศได้อย่างยิ่งใหญ่

Burin :  การผลักดันส่งเสริมต้องทำอย่างไร ภาครัฐต้องมีส่วนร่วมอย่างไร

.

พล.อ.อ.มานัต วงษ์วาทย์ : เราประชุมกันหลายครั้งแล้ว ขีดความสามารถของเรามี แต่การบริโภคภายในประเทศไม่มี การบริโภคต่างประเทศมีแต่เป็นไปด้วยความยากลำบาก เราอยากให้กลไกรัฐเข้ามาช่วยสนับสนุน ตั้งแต่การวิจัยเต็มรูปแบบ ซึ่งใช้เงินไม่เยอะ แต่ขอให้มีการสนับสนุนอย่างจริงจัง

.

หลังจากนั้น ในกระบวนการของการผลิต การสร้าง เรามีทรัพยากรในเมืองไทยมากมาย เราสามารถที่จะประสานงานเพื่อดึงออกมาใช้ ทั้งภาคราชการ ภาคประชาชน บรรดาเอกชนและผู้ประกอบการทั้งหลายสามารถมาใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ ถ้าเราทำตรงนี้ได้ ภาคที่สองคือ ภาคการผลิตก็จะสำเร็จ

.

ภาคที่สาม คือเรื่องของการใช้งาน กองทัพต้องใช้ก่อน ประเทศชาติบ้านเมือง เราต้องการภูมิคุ้มกัน เราต้องการอาวุธยุโธปกรณ์ที่แม่นยำและมีความฉลาด ตอนนี้เรามีอยู่แล้วเพียงแต่ว่าถ้าเราใช้ในประเทศ ก็จะเป็นต้นแบบ ตัวแบบ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคชาวต่างชาติที่จะซื้อนวัตกรรมของไทยเอาไปใช้ในภารกิจของเขา ตรงนี้เป็นเรื่องราวสำคัญมากทีเดียว การส่งออกกับการใช้ภายในประเทศเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกัน เพราะอย่างหลายชาติที่เราไปซื้ออาวุธ ยุทโธปกรณ์เขามา เราก็จำเป็นต้องมีการฝึก ซึ่งในการฝึกก็ต้องอาศัยกองทัพหรือรัฐบาลของประเทศเจ้าของนวัตกรรม หรือเจ้าของอาวุธนั้นๆ เข้ามาร่วมสนับสนุนด้วย

.

ฉะนั้นถ้าเราสามารถที่จะบูรณาการเรื่องของการผลิต และเรื่องของการใช้งานได้ ตรงนี้เราจะประสบความสำเร็จ จะเป็นโอกาสยิ่งใหญ่ของประเทศไทย แล้วเราสามารถที่จะบูสเรื่องของ 12 กลุ่มงาน 54 บริษัทให้เติบโต ก้าวขึ้นไปข้างหน้าได้ มูลค่าของอาวุธ ยุทโธปกรณ์ทั่วโลกคิดว่าสำคัญ แต่เรื่องของมูลค่า ไม่ใช่เรื่องที่เป็นปัจจัยความสำเร็จแต่เพียงอย่างเดียว ภูมิคุ้มกันที่เราสมควรที่จะต้องมีเพื่อป้องกันประเทศเราเองก็เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน หากมองดูความขัดแย้งที่เกิดขึ้นทั่วโลก สงครามต่างๆ ไม่มีประเทศไหนที่จะสามารถยืนหยัดอยู่ได้โดยปราศจากภูมิคุ้มกันที่อยู่ในตัวของตัวเอง

.

Burin :  สิ่งที่อยากเห็น เป้าหมายของการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศคืออะไร

.

พล.อ.อ.มานัต วงษ์วาทย์ : จะต้องให้อาวุธยุทโธปกรณ์ในกองทัพเป็นของที่ผลิตขึ้นในประเทศไทย ตำแหน่งงานต้องเกิดในประเทศไทย รายได้บนตำแหน่งงานต้องเกิดขึ้นกับคนไทย อันนี้คือความยั่งยืน การที่เราจะมีทุกอย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ได้ เราต้องผนึกกำลังกันทั้งหมด ตั้งแต่ภาคประชาชนไปจนถึงรัฐบาล ภาครัฐทั้งหมดต้องหันมาคุยกัน ในกระทรวงต่างๆ กฎหมายต่างๆ อำนาจต่างๆ ทุกสิ่งทุกอย่างหากนำมาหลอมรวมกันได้ ความสำเร็จตรงนี้เกิดขึ้นแน่นอน แล้วพลังอันนี้จะเกิดขึ้นแน่นอน

.

“พลังที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ พลังปัญญาไทย” คนไทยมีศักยภาพและมีขีดความสามารถ ถ้าเราได้เอามาหลอมรวม นี่คือภาพที่อยากจะเห็นว่า สมควรต้องเกิดขึ้นในอนาคต ประเทศไทยไม่เคยแพ้ใคร ยิ่งใหญ่ไม่เคยแพ้ใคร

Pasucha

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

9 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

1 year ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

1 year ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

1 year ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

2 years ago

This website uses cookies.