6 เหตุผล ที่อุตสากรรมป้องกันประเทศ…ไม่ถึงฝัน
แม้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กำลังจะก้าวขึ้นเป็นเจ้าตลาดอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า และประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีโอกาสก้าวขึ้นเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมนี้ ด้วยศักยภาพและขีดความสามารถของผู้ประกอบการไทยที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล
.
อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังต้องเผชิญกับความท้าทายหลายประการ เพื่อที่จะก้าวไปไปเทียบเคียงประเทศชั้นนำในภูมิภาค…
.
อุตสาหกรรมการป้องกันประเทศของไทยเติบโตอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยมุ่งเน้นที่การปรับปรุงอาวุธยุทโธปกรณ์และเทคโนโลยีทางการทหารให้ทันสมัยมากขึ้น ในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีการอนุมัติงบประมาณด้านกลาโหมเพิ่มขึ้นอย่างมาก เพื่อลงทุนในปรับปรุงยุทโธปกรณ์ทางการทหาร รวมทั้งการจัดหาเรือดำน้ำ เครื่องบินขับไล่ และเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งในหลายแง่มุมก็เป็นที่ถกเถียงกันในสังคมถึงความจำเป็นของการลงทุนเหล่านี้ ในสภาวะที่ประเทศกำลังเผชิญกับความท้าทายในหลายด้าน
.
ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในประเทศไทย ถูกขับเคลื่อนโดยหน่วยงานของรัฐ เช่น สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) และศูนย์ผลิตอาวุธของกองทัพบกไทย และที่ผ่านมารัฐบาลยังได้เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดหายุทธภัณฑ์ให้กองทัพมากขึ้น รวมถึงการวิจัย และพัฒนานวัตกรรมต่างๆ ร่วมกัน และดำเนินมาตรการหลายอย่างเพื่อส่งเสริมการเติบโตของอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ เช่น มาตรการจูงใจทางภาษีและโครงการส่งเสริมการลงทุน
.
ในด้านความมั่นคงนั้น ประเทศไทยต้องเผชิญกับความท้าทายหลายประการ เช่น การก่อการร้าย การก่อความไม่สงบ และอาชญากรรมข้ามชาติ รวมถึงการเพิ่มความปลอดภัยชายแดน เสริมสร้างความสามารถด้านข่าวกรอง และเพิ่มความปลอดภัยทางไซเบอร์อุตสาหกรรมกลาโหมและความมั่นคงของไทยมีศักยภาพที่จะกลายเป็นผู้เล่นหลักในภูมิภาคเนื่องจากปัจจัยหลายประการ
ประการแรก ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียน ทั้งด้านภูมิศาสตร์ ยุทธศสตร์ เศรษฐกิจ และการค้า
.
ประการที่สอง ภาคเอกชน และหน่วยงานรัฐในอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ มีความเข้มแข็ง ได้รับการยอมรับจากสากล ทั้งการบิน การต่อเรือ ยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์
.
ประการที่สาม ไทยสร้างความร่วมมือกับซัพพลายเออร์จากประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐอเมริกา จีน และรัสเซีย เพื่อซื้อยุทธภัณฑ์และถ่ายโอนเทคโนโลยี
.
แต่ขณะเดียวกัน ประเทศไทยก็ยังมีจุดอ่อนอีกหลายประการ ที่ทำให้อุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทยมีความเปราะปราง ในหลายด้าน ได้แก่
1.ความสามารถในการผลิตในประเทศมีจำกัด ประเทศไทยพึ่งพาการนำเข้ายุทโธปกรณ์และเทคโนโลยีทางทหารจากต่างประเทศ ขณะที่การผลิตในประเทศมีข้อจำกัด และการส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น
.
2.ขาดกำลังแรงงานที่มีทักษะ การพัฒนาอุตสาหกรรมให้แข็งแกร่งต้องการแรงงานที่มีทักษะสูง ซึ่งประเทศยังขาดแคลนบุคลากรด้านนี้เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังขาดกระบวนการศึกษาเรียนรู้และสร้างแรงงานกลุ่มนี้ให้มีทักษะอย่างแท้จริง
.
3.การทุจริต การทุจริตเป็นปัญหาสำคัญที่ขัดขวางการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในทุกด้าน ตั้งแต่การวิจัยพัฒนา การพัฒนาอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการ การทุจริตที่ฝักรากลึกเป็นสิ่งขัดขวางการพัฒนา
.
4.งบประมาณที่จำกัด งบประมาณกลาโหมของไทยมีจำกัด ซึ่งจำกัดความสามารถของประเทศในการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาและการจัดหาเทคโนโลยีและยุทโธปกรณ์ขั้นสูง รัฐบาลจำเป็นต้องเพิ่มงบประมาณกลาโหมเพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมกลาโหม
5.การแข่งขันกับต่างประเทศ ประเทศไทยต้องเผชิญกับการแข่งขันจากประเทศอื่น เช่น จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ในการก้าวขึ้นเป็นผู้นำอุตสาหกรรมในภูมิภาค นั่นทำให้ประเทศไทยต้องวางยุทธศาสตร์ของอุตสาหกรรมให้โดดเด่นและแตกต่างจากประเทศอื่นๆ
.
6.การสนับสนุนจากรัฐ การผลักดันให้อุตสาหกรรมป้องกันประเทศเติบโต จำเป็นต้องอาศัยการสนับสนุนจากภาครัฐและกองทัพในการส่งเสริมและนำอาวุธเหล่านั้นมาใช้ ทั้งในมุมของวิจัยพัฒนา และความเชื่อมั่นว่าได้รับการยอมรับจากรัฐบาลของประเทศ ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการเหล่านั้นเติบโตและขยายตลาดสู่ต่างประเทศได้ง่ายขึ้น
.
ประเทศไทยจึงมีทั้งโอกาสและอุปสรรค ในการจะพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ อาจจะต้องลดจุดอ่อน และเสริมจุดแข็งให้โดดเด่นมากขึ้น เพื่อให้ไทยก้าวไปสู่จุดที่มีความสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกอย่างแท้จริง
Recent Posts
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.