Categories: BURIN JOURNEY

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด

ที่มาและแนวคิดของคำว่า “Driving People’s Actions” มาจากอะไร

“Driving People’s Actions” มาจากหลักการหลัก ๆ 2 เรื่องด้วยกัน คือ ปรัชญาของฮาคูโฮโดทั้งกรุ๊ป เรามีคีย์เวิร์ดที่เราเรียกกันว่า เซคัทซึชะ (Sei-katsu-sha) แปลว่า ผู้คนที่ใช้ชีวิตอยู่ในสังคม (Life Living Person) เป็นวิธีคิดที่ว่า เวลาที่เราคุยหรือเรามีกลุ่มเป้าหมาย เราไม่มองเขาเป็นแค่ผู้บริโภค เพราะพวกเราไม่ได้เกิดมาเพื่อบริโภคแบรนด์ แต่เราเกิดมาเพื่อใช้ชีวิตในแบบที่เราชอบ ดังนั้น วิธีที่เรามองแบบเซคัทซึชะ คือการมองไปที่ตัวตนและวิถีชีวิตของบุคคล และหามุมที่แบรนด์จะเข้าไปเชื่อมโยงกับเขา เพื่อทำให้เกิดพฤติกรรมบางอย่างขึ้น

และในมุมของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์สเองมีความเชี่ยวชาญในการที่จะทำงานตอบโจทย์ให้กับลูกค้าหรือนักการตลาด เราก็ต้องมองว่าพฤติกรรมที่เราต้องการ เราต้องการจะทำให้เกิดอะไรกับแบรนด์ เช่น ทำให้เกิดยอดขาย ทำให้เกิดความชอบของแบรนด์ หรือทำให้เกิดการมีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์อย่างไร เมื่อเราผสมทั้งแนวคิดโดยพื้นฐาน และมุมมองเป้าหมายที่ชัดเจน จึงเกิดเป็นแนวคิด Driving People’s Actions 

แนวคิด Driving People’s Actions สามารถตอบโจทย์ลูกค้าในเชิงของการตลาดได้อย่างไร

จริง ๆ แล้วต้องกลับไปที่ความท้าทายต่อนักการตลาดยุคปัจจุบัน ด้วยสถานการณ์ตอนนี้ ทั้งเศรษฐกิจ รูปแบบของผู้บริโภค หรือผู้คน ทำให้มีความท้าทายและมีความยากในการทำการตลาดที่จะให้เกิดยอดขายหรือทำให้เกิดอะไรสักอย่างหนึ่ง ดังนั้น ทุกเม็ดเงินที่ลงทุนต้องนำมาซึ่งความคุ้มค่า เรามองว่าการลงทุนเรื่องการสื่อสารเป็นสิ่งที่นักการตลาดทุกคนต้องการผลลัพธ์ที่ชัดเจน  

ดังนั้น เราก็จะมองไปที่โจทย์ว่านักการตลาดต้องการอะไร ปลายทางต้องการผลลัพธ์อะไรที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมายของเขา ทีนี้ระหว่างทางก็เป็นเรื่องของความใส่ใจและสรรพกำลังทั้งหมด ที่ทางฮาคูโฮโด เฟิร์ส เราจะใส่เรื่องของงานวิจัย เทคโนโลยีการสื่อสาร มุมมองครีเอทีฟใหม่ ๆ เข้าไปเติมเพื่อให้เข้าไปถึงทั้งหมด และขับเคลื่อนให้พฤติกรรมของผู้บริโภคหรือพฤติกรรมของผู้คน จนเกิดมุมที่แบรนด์รู้สึกว่ามีพื้นที่ที่แบรนด์ได้เข้าไปอยู่ในชีวิตของเขา 

แนวคิด Driving People’s Actions สามารถที่จะไปเชื่อมโยงถึงความยั่งยืนในระดับสังคม หรือระดับโลกได้อย่างไร

ด้วยความที่เรามองทุกอย่างเป็นความยั่งยืน มุมมองมันจะเป็นระยะยาวมากขึ้น ในมุมที่แบรนด์เชื่อมโยงกับผู้คนที่เป็นระยะยาวขึ้น มันก็จะเป็นเรื่องของการใช้ทรัพยากรที่จำเป็น ในลักษณะที่ เวลาเราจะสื่อสารอะไรเข้าไป เรามองว่าผู้คนเหล่านั้นหรือกลุ่มเป้าหมายเขามองหาอะไร แบบไหน แบรนด์ก็จะสื่อสารเท่าที่จำเป็น เพื่อทำให้เกิดพฤติกรรมที่เราต้องการ เพื่อลดทรัพยากรบางอย่าง ไม่ฟุ้มเฟ้อจนเกินไป ก็จะช่วยลดงบประมาณด้วย

นอกจากนั้นก็เป็นเรื่องของวิธีคิดอื่น ๆ ที่เอเจนซี่จะมองให้กับแบรนด์ เช่น เวลาจัดงานหรือกิจกรรมอะไรสักอย่าง เราจะมองว่า วัสดุอะไรทั้งหลายที่เราทำแต่ละงานอย่างอีเว้นท์ มีอะไรที่สามารถรียูสได้บ้าง เราก็จะมีคลังวัตถุดิบของเราอยู่ และยังช่วยให้ทางฝ่ายการตลาดลดค่าใช้จ่ายได้ด้วย 

ในระดับองค์กร เรื่องของความยั่งยืนอยู่ในจิตวิญญาณทุกอย่างที่เราทำ เราพยายามทำให้ทุกอย่างไปที่ความยั่งยืนทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น ในองค์กรของเรา ความเท่าเทียมทางเพศสำคัญมาก เรามีทุกเพศ และให้ความเคารพในสิ่งนั้น ซึ่งความเท่าเทียมนี้ไม่ใช่แค่เรื่องเพศ แต่รวมถึงลำดับชั้นตำแหน่งงานด้วย องค์กรเราจะมีระยะห่างทางสังคมน้อยมาก เพื่อให้ทุกคนมีความรู้สึกเท่าเทียมกัน 

นอกจากนั้นเรื่องของทรัพยากรเราก็จะมีเรื่องของนโยบายลดการใช้กระดาษ และใช้เทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการทำงานมากขึ้น เพื่อให้เราได้ลดทรัพยากรกระดาษตรงนั้น รวมถึงลดทรัพยากรอื่น ๆ เช่น ค่าน้ำมัน ให้พนักงานเดินทางเท่าที่จำเป็น โดยมีนโยบายเวิร์กฟอร์มโฮม เพื่อให้พนักงานรู้สึกว่าทำงานกับเราได้มีความยั่งยืนในมุมของวิถีชีวิตที่ตอบโจทย์ เขาสามารถมีเวลาอยู่เวิร์กฟอร์มโฮมได้บ้าง 

เป้าหมายระยะสั้นของฮาคูโฮโด เฟิร์ส ในปี 2024 กับแนวคิด Driving People’s Actions

เราต้องการขยายรูปแบบของการทำงานแบบนี้ให้กว้างขึ้น เพราะเรามีลูกค้าบางกลุ่มที่อยู่กับเราอย่างเหนียวแน่น และมีลูกค้าบางกลุ่มที่เรายังไม่ได้เข้าถึงมากนัก เราก็ต้องการขยายตรงนี้มากขึ้น เพื่อให้รูปแบบนี้เป็นที่รับรู้และเข้าใจของนักการตลาดมากขึ้น 

ในส่วนของการขยายนี้ประกอบกันก็คือเราทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และใช้เทคโนโลยีทางการสื่อสาร เทคโนโลยีทางการตลาดเข้ามาขับเคลื่อนให้เกิดประโยชน์มากขึ้น รวมถึงนำ AI และดิจิทัลเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาซัพพอร์ต

อีกอย่างหนึ่งก็คือเราอยากให้ทุกแคมเปญที่เราออกไปมีมุมมองที่ยั่งยืนต่อสังคม แน่นอนว่าในการทำธุรกิจเราก็ต้องมีการสื่อสารที่ตอบโจทย์ทางการตลาด แต่ทุกครั้งเราพยายามคิดว่าการสื่อสารนั้นเรามีบทบาทอะไรที่จะสร้างความรับผิดชอบกับสังคมให้เกิดขึ้นด้วย ดังนั้น  เวลาเราคิดแคมเปญ เราจึงคิดแคมเปญที่มีประโยชน์กับสังคม 

Sakaorat

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

10 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

1 year ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

1 year ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

2 years ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

2 years ago

ชุมชนบ้านแปดอุ้ม ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ชุมชน และการค้าไม้อย่างยั่งยืน

แม้สถิติการนำเข้าไม้จากจีนจะลดลง แต่ความต้องการผลิตภัณฑ์จากไม้ยังเพิ่มขึ้นจาก 70% เป็น 90%บ้านแปดอุ้มเป็นต้นแบบการจัดการป่าอย่างยั่งยืน ที่ชุมชนทำงานร่วมกับภาครัฐในการปกป้องและจัดการพื้นที่ป่าโดยรอบแอปพลิเคชัน พิทักษ์ไพร แพลตฟอร์ม e-Tree และ NCAPS เป็นเทคโนโลยีหลักในการป้องกันและบริหารจัดการป่า1 มิถุนายน 2566, อุบลราชธานี,…

2 years ago

This website uses cookies.