7 โครงการพัฒนาคน สร้างชุมชนยั่งยืน ฟื้นเศรษฐกิจฐานราก
มารู้จักบทบาทของกรมการพัฒนาชุมชน กับโครงการต่าง ๆ ที่จะมาช่วยพัฒนาศักยภาพบุคคล และส่งเสริมการสร้างรายได้ สร้างอาชีพเพื่อความยั่งยืนให้กับชุมชน
7 โครงการไฮไลต์ ผลงานจาก กรมการพัฒนาชุมชน
กรมการพัฒนาชุมชนดูแล 3 เรื่องหลัก ได้แก่ เรื่องคน คือการทำให้คนมีคุณภาพชีวิตดี มีความสุข มีความเข้มแข็ง เรื่องชุมชน คือการคิดวิธีทำให้ชุมชนเขามีความเข้มแข็ง มีความสมัครสมานสามัคคี และเรื่องเศรษฐกิจฐานราก คือการทำให้คนมีรายได้ มีงานทำ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
เราจะมาทำความรู้จักกับ 7 โครงการไฮไลต์ที่ส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืน ได้แก่ ผัก ผ้า นา หนี้ สตรี OTOP และ จปฐ. (ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน)
โครงการผัก เป็นโครงการที่ได้น้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี รณรงค์ให้กับทุก ๆ ครอบครัวได้ปลูกผัก ปลูกพืชสมุนไพรต่าง ๆ เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งเห็นประโยชน์ได้ชัดในช่วงวิกฤตโควิด-19 ที่ประชาชนออกไปหาซื้อได้ลำบาก และอาจจะเสี่ยงต่อการติดโรค นอกจากนี้ การปลูกผักทุก ๆ ครัวเรือนยังทำให้ประชาชนได้บริโภคพืชผักที่ปลอดภัย ไม่มีสารเคมี เมื่อเหลือก็นำไปแบ่งปันเพื่อนบ้าน เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างความเข้มแข็งของชุมชน หากนำไปจำหน่ายก็สามารถสร้างเป็นรายได้ได้อีกด้วย
โครงการผ้า เริ่มจากศูนย์ศิลปาชีพที่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้ทรงก่อตั้งไว้เมื่อ 50 ปีที่แล้ว ทำให้การทอผ้าเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้คนในชุมชนอย่างแท้จริง ถือเป็นการเอาภูมิปัญญาต่าง ๆ เข้ามาพัฒนาให้เกิดรายได้ เพราะนอกจากทอสวมเองแล้ว ยังทอขายได้ด้วย
ต่อมา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีนารีรัตนราชกัญญา นอกจากพระราชทานลายผ้าแล้ว ยังทรงแนะนำในเรื่องของการนำอัตลักษณ์มาเสริม โดยนำผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ ที่มีความเชี่ยววชาญในระดับของประเทศ และระดับของโลกมาแนะนำ รวมถึงให้คำแนะนำในเรื่องของการตลาด ทำให้เกิดการสร้างงาน
โครงการนา เป็นคำย่อมาจาก “โคก หนอง นา” โมเดล ซึ่งเป็นการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์สู่การปฏิบัติในพื้นที่ให้เห็นจริง โดยต้องการที่จะให้ โคก หนอง นา เป็นแหล่งเรียนรู้ของผู้ที่สนใจ
นอกจากพัฒนาตัวเอง เลี้ยงดูตัวเองได้ ก็ยังเปิดให้ผู้ที่สนใจมาเรียนรู้ได้ ตั้งแต่เริ่มต้นรู้จักการทำกสิกรรมแบบธรรมชาติ ไปจนถึงหลักทางภูมิศาสตร์ รวมทั้งดูว่าในชุมชน ในจังหวัด และอำเภอใกล้ ๆ มีการบริโภคอะไร เพื่อปลูกให้สอดคล้องกับการจำหน่าย อย่างน้อยทำออกมาแล้วสามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตของตัวเอง และสามารถเพิ่มรายได้ได้ในที่สุดด้วย
โครงการหนี้ มีขึ้นเพื่อแก้ปัญหาหนี้สินของคนในชุมชน โดยแนะนำให้รู้จักการเก็บออม การทำบัญชีครัวเรือน และใช้ระบบการบริหารจัดการหนี้เข้ามาช่วยแก้ไข
โครงการสตรี เนื่องจากสตรีเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันในการพัฒนาต่าง ๆ มากมาย มีการให้ความรู้ในเรื่องของการทำงาน การพัฒนาชนบท มีการร่วมขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหา มีกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี สนับสนุนโครงการต่าง ๆ
โครงการ OTOP หรือ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ สามารถดึงให้ลูกค้ามาในอำเภอ ในตำบลเพื่อมาหาสินค้า และต่อยอดทำให้คนมาเที่ยวมาดูวิถีชีวิตชุมชน ดูถึงกระบวนการในการผลิตสินค้า มาท่องเที่ยว ก็จะทำให้เกิดรายได้กับชุมชน
โครงการ จปฐ. ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานของครัวเรือน ถูกเก็บโดยที่ทางทีมพัฒนากร ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครพัฒนาชุมชนต่าง ๆ เพื่อนำมาประมวลปัญหาภาพรวมทั้งประเทศ ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญในการมาวางแผนแก้ไขปัญหาของทุกหน่วยงาน
Recent Posts
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.