Ambassador for a day สัมผัสชีวิตฑูต แบ่งปันมุมมองของคนรุ่นใหม่
โครงการ Ambassador for a day ที่น้อง ๆ เยาวชนถามกันเข้ามาเยอะมาก หลังจากเมื่อปีที่แล้วบุรินทร์เจอนี่ได้มีโอกาสไปเก็บภาพบรรยากาศมากฝาก บทสรุปจากปีที่แล้วเป็นอย่างไร และในปีนี้จะมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ไปชมกันครับ
Ambassador for a day สัมผัสชีวิตฑูต แบ่งปันมุมมองของคนรุ่นใหม่ สำหรับปีที่ 2 เน้นเรื่องการมีส่วนร่วมเชิงสร้างสรรค์ ตามกรอบความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (UNSDCF) แห่งสหประชาชาติ โดยจะทำงานร่วมกับภาครัฐบาล ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม โดยกำหนดกรอบการทำงานสำหรับหน่วยงานของสหประชาชาติในประเทศไทยจำนวน 21 หน่วยงาน จุดเน้นตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา คือ การทำงานกับคนหนุ่มสาว เพราะเราเชื่อว่าองค์การสหประชาชาติและเยาวชนจะสามารถร่วมกันค้นหาทางออก ที่ตอบโจทย์ความท้าทายด้านการพัฒนาในปัจจุบัน เช่นเรื่องความเหลื่อมล้ำ หรือเป้าหมายการไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง สำหรับแคมเปญ Ambassador for a Day นี้ เป็นความร่วมมือระหว่างคณะเอกอัครราชทูตหญิง และผู้บริหารหญิงของหน่วยงานสหประชาชาติต่าง ๆเพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชน ผู้หญิง และผู้ชายร่วมอภิปรายกับนักการทูตระดับสูงเหล่านี้ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและนำแรงบันดาลใจนั้นไปปฏิบัติ สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
ในปีแรกเน้นการรณรงค์เรื่องการสร้างโอกาสให้กับเยาวชนหญิงและชาย ให้มาแบ่งปันมุมมองของตัวเอง เรื่องความเสมอภาคระหว่างเพศในมิติต่าง ๆ รวมทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โดยให้อธิบายว่า ความเสมอภาคระหว่างเพศจะมีผลกระทบต่อพวกเขาอย่างไร ทั้งในมุมผู้หญิงหรือผู้ชาย ที่อาศัยอยู่ในครอบครัว และชุมชนของตัวเอง
สำหรับปีแรก คัดเลือกผู้สมัครเหลือเกือบ ๆ 40 คน ซึ่งทั้ง 40 คนมีทั้งเยาวชนหญิงและชายและพวกเขาก็ได้โอกาสที่จะติดตามเอกอัครราชทูต หรือผู้บริหารหญิงในหน่วยงานของสหประชาชาติ ในมุมมองของเรา เชื่อว่าพวกเขาได้มีโอกาสรู้จักบทบาทหน้าที่ต่าง ๆ ของเอกอัครราชทูต รวมทั้งการทำงานกับภาครัฐ กับภาคเอกชน และภาคประชาสังคม นอกจากนี้ พวกเขามีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ไม่ใช่เฉพาะกับเอกอัครราชทูต แต่รวมทั้งกับเจ้าหน้าที่ในสถานเอกอัครราชทูตทุก และองค์การสหประชาชาติด้วย
Ambassador for a day กับสิ่งที่มากกว่าการเป็นฑูต 1 วัน
กิจกรรมปีนี้มี (2022) จะเน้นเรื่องความเสมอภาคระหว่างเพศ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้สอดคล้องกับหัวข้อของวันสตรีสากล (International Women’s Day) ประจำปี 2022 ซึ่งเน้นเรื่องความเท่าเสมอภาคระหว่างเพศเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน จุดมุ่งหมายของหัวข้อในปีนี้ คือการรับฟังว่าคนหนุ่มสาวทั้งหญิงและชาย ว่ามีมุมมองอย่างไรต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบต่อชีวิตพวกเขา และจะมีวิธีแสดงออกในประเด็นเหล่านี้อย่างไร ตั้งแต่เรื่องการปล่อยคาร์บอน ไปจนถึงการปกป้องถิ่นที่อยู่อาศัย พันธุ์พืชและสัตว์ ผืนป่า และพื้นที่ชุ่มน้ำ หรือแม้แต่ผลกระทบจากเรื่องภัยพิบัติ ประเด็นเหล่านี้เกี่ยวข้องกันหลายด้าน ความเสมอภาคระหว่างเพศ เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่ครอบคลุมประเด็นเรื่องการเพิ่มขีดความสามารถของผู้หญิงและการไม่เลือกปฏิบัติ ซึ่งเราเข้าใจดีว่าเป็นสิ่งสำคัญมาก การแก้ไขประเด็นด้านความเสมอภาคระหว่างเพศ หากคุณต้องการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นั่นคือเป้าหมายที่ 11 จนถึงเป้าหมายที่ 15 ซึ่งหากขาดเรี่องความเสมอภาคระหว่างเพศเรื่องเดียว จะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนอื่น ๆ ได้เลย
Recent Posts สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.
Accept