โครงการ Ambassador for a day ที่น้อง ๆ เยาวชนถามกันเข้ามาเยอะมาก หลังจากเมื่อปีที่แล้วบุรินทร์เจอนี่ได้มีโอกาสไปเก็บภาพบรรยากาศมากฝาก บทสรุปจากปีที่แล้วเป็นอย่างไร และในปีนี้จะมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ไปชมกันครับ

Ambassador for a day สัมผัสชีวิตฑูต แบ่งปันมุมมองของคนรุ่นใหม่

สำหรับปีที่ 2 เน้นเรื่องการมีส่วนร่วมเชิงสร้างสรรค์ ตามกรอบความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (UNSDCF) แห่งสหประชาชาติ โดยจะทำงานร่วมกับภาครัฐบาล ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม โดยกำหนดกรอบการทำงานสำหรับหน่วยงานของสหประชาชาติในประเทศไทยจำนวน 21 หน่วยงาน

จุดเน้นตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา คือ การทำงานกับคนหนุ่มสาว เพราะเราเชื่อว่าองค์การสหประชาชาติและเยาวชนจะสามารถร่วมกันค้นหาทางออก ที่ตอบโจทย์ความท้าทายด้านการพัฒนาในปัจจุบัน เช่นเรื่องความเหลื่อมล้ำ หรือเป้าหมายการไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

สำหรับแคมเปญ Ambassador for a Day นี้ เป็นความร่วมมือระหว่างคณะเอกอัครราชทูตหญิง และผู้บริหารหญิงของหน่วยงานสหประชาชาติต่าง ๆเพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชน ผู้หญิง และผู้ชายร่วมอภิปรายกับนักการทูตระดับสูงเหล่านี้ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและนำแรงบันดาลใจนั้นไปปฏิบัติ  สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

ในปีแรกเน้นการรณรงค์เรื่องการสร้างโอกาสให้กับเยาวชนหญิงและชาย ให้มาแบ่งปันมุมมองของตัวเอง เรื่องความเสมอภาคระหว่างเพศในมิติต่าง ๆ รวมทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โดยให้อธิบายว่า ความเสมอภาคระหว่างเพศจะมีผลกระทบต่อพวกเขาอย่างไร ทั้งในมุมผู้หญิงหรือผู้ชาย ที่อาศัยอยู่ในครอบครัว และชุมชนของตัวเอง

สำหรับปีแรก คัดเลือกผู้สมัครเหลือเกือบ ๆ 40 คน ซึ่งทั้ง 40 คนมีทั้งเยาวชนหญิงและชายและพวกเขาก็ได้โอกาสที่จะติดตามเอกอัครราชทูต หรือผู้บริหารหญิงในหน่วยงานของสหประชาชาติ ในมุมมองของเรา เชื่อว่าพวกเขาได้มีโอกาสรู้จักบทบาทหน้าที่ต่าง ๆ ของเอกอัครราชทูต รวมทั้งการทำงานกับภาครัฐ กับภาคเอกชน และภาคประชาสังคม นอกจากนี้ พวกเขามีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ไม่ใช่เฉพาะกับเอกอัครราชทูต แต่รวมทั้งกับเจ้าหน้าที่ในสถานเอกอัครราชทูตทุก และองค์การสหประชาชาติด้วย

Ambassador for a day กับสิ่งที่มากกว่าการเป็นฑูต 1 วัน

กิจกรรมปีนี้มี (2022) จะเน้นเรื่องความเสมอภาคระหว่างเพศ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้สอดคล้องกับหัวข้อของวันสตรีสากล (International Women’s Day) ประจำปี 2022 ซึ่งเน้นเรื่องความเท่าเสมอภาคระหว่างเพศเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน

จุดมุ่งหมายของหัวข้อในปีนี้ คือการรับฟังว่าคนหนุ่มสาวทั้งหญิงและชาย ว่ามีมุมมองอย่างไรต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบต่อชีวิตพวกเขา

และจะมีวิธีแสดงออกในประเด็นเหล่านี้อย่างไร ตั้งแต่เรื่องการปล่อยคาร์บอน ไปจนถึงการปกป้องถิ่นที่อยู่อาศัย พันธุ์พืชและสัตว์ ผืนป่า และพื้นที่ชุ่มน้ำ หรือแม้แต่ผลกระทบจากเรื่องภัยพิบัติ

ประเด็นเหล่านี้เกี่ยวข้องกันหลายด้าน ความเสมอภาคระหว่างเพศ เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่ครอบคลุมประเด็นเรื่องการเพิ่มขีดความสามารถของผู้หญิงและการไม่เลือกปฏิบัติ ซึ่งเราเข้าใจดีว่าเป็นสิ่งสำคัญมาก การแก้ไขประเด็นด้านความเสมอภาคระหว่างเพศ

หากคุณต้องการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นั่นคือเป้าหมายที่ 11 จนถึงเป้าหมายที่ 15 ซึ่งหากขาดเรี่องความเสมอภาคระหว่างเพศเรื่องเดียว จะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนอื่น ๆ ได้เลย

Passion in this story