ในขณะที่ทุกคนกังวลและหาทางแก้ปัญหาการรระบาดของโควิด-19 ปัญหาโลกร้อนก็ยังคงต้องการการแก้ไขเช่นกัน อย่างการละลายของพื้นน้ำแข็งบนทือกเขาสูงที่เผยให้เห็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในช่วงยุคสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง กับไอเดียการแก้ปัญหาสาหร่ายในนากุ้งที่เยอะเกินจนยากจะกำจัดไหว ปิดท้ายด้วยปฏิทินข่าวประจำ สัปดาห์ รายละเอียดทั้งหมดจะเป็นอย่างไรบ้าง ตามไปชมกันครับ

โลกร้อน เผยประวัติศาสตร์ใต้ผืนน้ำแข็ง

 

ปัญหาโลกร้อนของเราก็ยังต้องการการแก้ไข อุณหภูมิที่สูงขึ้นได้ทำให้น้ำแข็งบนเทือกเขาสูงในอิตาลีละลายอย่างรวดเร็ว จนปรากฏให้เห็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในช่วงยุคสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

        ณ เทือกเขาสูง Mount Scorluzzo มีค่ายทหารของออสโตร-ฮังการีตั้งอยู่ในช่วงที่พวกเขาต่อสู้กับอิตาลีในสงครามที่เรียกว่า White War ท่ามกลางสภาพอันหนาวเหน็บในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยค่ายนี้ถูกปิดลงในปี 1918 หลังความขัดแย้งยาวนาน 3 ปี และสงครามจบลง ทหารต่างทิ้งสิ่งของพวกเขาเอาไว้ สถานที่นี้ถูกปกปิดภายใต้น้ำแข็ง

        จนกระทั่งในช่วงยุค 1990s เป็นต้นมาที่ภาวะโลกร้อนทำให้สิ่งที่ถูกรักษาไว้อย่างดีได้ปรากฏขึ้น โดยในปี 2015 น้ำแข็งที่เคยปกคลุมได้ละลายจนหมด นักวิจัยสามารถเข้าไปในค่ายได้ โดยพวกเขาพบสิ่งของมากมายไม่ว่าจะเป็น เตียง เสื้อผ้า ตะเกียง หนังสือพิมพ์ อาวุธ เหรียญ แคร่เลื่อน อาหารกระป๋อง เสื้อผ้า จดหมาย ไดอารี่ กระดูกสัตว์ และยิ่งไปกว่านั้นก็คือร่างของทหารที่ถูกแช่แข็ง

         ขณะนั้นมีทหารหลายคนที่คาดว่าต้องเสียชีวิตจากหิมะถล่มหล่นร่วงมาจากภูเขา และตายจากความหนาวเหน็บมากเสียยิ่งกว่าการที่พวกเขาถูกฆ่าในสงคราม โดยศพของเหล่าทหารที่อยู่ในชุดเครื่องแบบได้ปรากฏขึ้นมาจากน้ำแข็งที่ละลายในช่วงสิบปีที่ผ่านมา

        ค่ายแห่งนี้ได้ถูกขุดและกู้กลับมา โดยสิ่งของทั้งหมดจะถูกนำไปแสดงในพิพิธภัณฑ์ใน Lombardy ในปี 2022 ซึ่งเรื่องนี้ก็มีทั้งข้อดี ที่ทำให้คนยุคหลังได้ศึกษาเรียนรู้เรื่องประวัติศาสตร์ แต่ขณะเดียวกันก็เป็นสัญญาณอันตรายที่น่ากลัวเช่นกัน

 

 

ชมไอเดียคนไทย ที่คิดแก้ปัญหาด้วยการนำสาหร่ายในนากุ้งมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ ด้วยกระบวนการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ย่อยสลายได้โดยธรรมชาติ

คิดได้ไง!
เปลี่ยนขยะจากนากุ้งเป็นของใช้ย่อยสลายได้

          เรื่องความคิดสร้างสรรค์ คนไทยก็เก่งไม่แพ้ชาติอื่น ๆ นะครับ เช่น ไอเดียดี ๆ ที่เกิดขึ้นจากปัญหาของเกษตรกรรมนากุ้งอย่างสาหร่ายสีเขียวที่อยู่เหนือน้ำ มีลักษณะเป็นเส้นใยจำนวนมากคล้ายเส้นผม สามารถเจริญเติบโตได้ดีในนากุ้งที่มีระบบนิเวศเป็นน้ำกร่อย

สาหร่ายที่เกิดขึ้นจะส่งผลเสียต่อวงจรชีวิตของกุ้งเมื่อมีปริมาณมาก ๆ และพอสาหร่ายตายก็จะเกิดการเน่าเสีย ส่งกลิ่นเหม็น จึงจำเป็นต้องกำจัดสาหร่ายเหล่านี้ แต่การกำจัดสาหร่ายก็มีค่าใช้จ่าย และยังทำให้เกิดขยะมูลฝอยจากการเกษตรจำนวนมากด้วย

        เมื่อเห็นถึงปัญหานี้ นายมงคล อิงคุทานนท์ นักศึกษาสาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จึงคิดแก้ปัญหาด้วยการนำสาหร่ายในนากุ้งมาพัฒนาเป็นกระดาษ โดยกระบวนการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ย่อยสลายได้โดยธรรมชาติ และสามารถใช้เป็นวัสดุทดแทนในการออกแบบผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ

Passion in this story