Categories: BURIN JOURNEY

หลอนทั้งเมือง ประติมากรรมสะท้อนปัญหาโลกร้อน

เจอนี่ UPDATE สัปดาห์นี้มาพร้อมกับเรื่องราวที่สร้างความประหลาดใจให้กับชาวเมืองในสเปนอย่างประติมากรรมชิ้นโตกลางแม่น้ำ และเรื่องน่ายินดีเกี่ยวกับนวัตกรรมวัคซีนชิ้นล่าสุดของโลก

หลอนทั้งเมือง ประติมากรรมสะท้อนปัญหาโลกร้อน

        ผลกระทบจากปัญหาโลกร้อนที่น่ากลัวไม่น้อยก็คือระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นจากการที่น้ำแข็งขั้วโลกละลาย เจอนี่ UPDATE นำเรื่องราวของ 2 ศิลปิน Hyper Realistic ชาวเม็กซิกัน ‘Ruben Orozco’ และ ‘Clara Alcantara Davalos’ กับผลงานที่มีชื่อว่า ‘Bihar’ (แปลว่า ‘วันพรุ่งนี้’ ในภาษาบาสก์)

      Bihar ทำมาจากเรซินและไฟเบอร์กลาส น้ำหนักประมาณ 120 กิโลกรัม ซึ่งพวกเขาใช้เวลาทำโครงสร้าง ติดตั้งงานศิลปะภายในระยะเวลา 3 เดือนเท่านั้น ก่อนจะออกสู่สายตาสาธารณชน

       ประติมากรรมนี้สร้างความหวาดกลัวให้กับผู้คนที่พบเห็น แต่ในความน่ากลัวก็มีความน่าสนใจ ตรงที่ศิลปินใช้กระแสน้ำขึ้นลงมาเล่นกับผลงานประติมากรรมชิ้นยักษ์นี้

      พวกเขาทำเหมือนกับว่าหญิงสาวกำลังจะจมน้ำหายไปเมื่อกระแสน้ำขึ้น และเมื่อถึงเวลากระแสน้ำลง รูปปั้นจะปรากฏขึ้นมาเหนือน้ำอีกครั้ง

       เพื่อเปรียบกับอนาคตของมนุษย์ที่ต้องเผชิญหน้ากับปริมาณน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น จากปรากฏการณ์น้ำแข็งขั้วโลกละลายเพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)

      ซึ่งจุดประสงค์ของเจ้าของผลงานก็คือ ต้องการให้ทุกคนกลับมาทบทวนถึงการใช้ชีวิตหรือการทำธุรกิจที่ไม่ยั่งยืน อันส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก และอนาคตมนุษย์อาจจมอยู่ใต้น้ำเหมือนกับ Bihar หากเรายังละเลยปัญหานี้

วัคซีนชนิดแผ่น แปะสร้างภูมิ

        หลายคนอาจจะได้ยินเรื่องของวัคซีนชนิดแผ่นแปะกันมาบ้างแล้วนะครับ และวันนี้ เจอนี่ UPDATE จะมาอัปเดตผลงานโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) และมหาวิทยาลัยนอร์ธแคโรไลนา (University of North Carolina) ที่ร่วมกันคิดวัคซีนโควิด-19 ชนิดใหม่ในรูปแบบ “แผ่นแปะ 3 มิติ”

         แม้ว่าจะมีการศึกษาวัคซีนแผ่นแปะชนิดนี้มานานหลาย 10 ปีแล้ว แต่งานของสองมหาวิทยาลัยนี้ได้เอาชนะความท้าทายในอดีตได้ โดยการพิมพ์ออกมาเป็น 3 มิติ ที่สามารถติดเข้าไปที่ผิวโดยตรง  และผลปรากฏว่าวัคซีนชนิดนี้ตอบสนองทางภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าวัคซีนแบบฉีดเข้าที่กล้ามเนื้อได้ถึง ’50 เท่า’

        สาเหตุที่วัคซีนแผ่นแปะนี้สร้างภูมิคุ้มกันได้มากกว่าที่เราฉีดเข้ากล้ามเนื้อ เป็นเพราะในกล้ามเนื้อไม่มีภูมิคุ้มกันที่เพียงพอ  แต่เมื่อวัคซีนแผ่นแปะ 3 มิตินี้ถูกแปะลงผิวหนัง จะมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่แข็งแกร่งขึ้นกว่า เพราะผิวหนังมีเซลล์ที่เรียกว่าแอนติเจน (APC)

        พูดถึงเรื่องการขนส่งของวัคซีนนี้ ก็ถือว่ามีความสะดวกขึ้น เนื่องจากไม่ต้องจัดเก็บในที่ ๆ มีอุณหภูมิต่ำกว่า -90 ถึง -50 องศา  เลยทำให้ประเทศที่มีอากาศร้อนสามารถนำไปปรับใช้ได้ และจะทำให้วัคซีนเข้าถึงคนทั้งโลกได้เร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังสามารถนำไปปรับแต่งได้ง่ายสำหรับทำวัคซีนต้านโรคอื่น ๆ เช่น ไข้หวัดใหญ่ หัด ไวรัสตับอักเสบ อีกด้วย

Sakaorat

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

9 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

1 year ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

1 year ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

1 year ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

2 years ago

This website uses cookies.