บุรินทร์เจอนี่จะพบไปพูดคุยกับผู้ว่าราชการจังหวัด เมืองฉะเชิงเทรา ถึงแผนขับเคลื่อนจังหวัดฉะเชิงเทราให้ก้าวไปสู้เป้าหมายเมืองอัจฉริยะ (SMART CITY) โดยแนวทาง 7 SMART และไปคุยกับรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 ถึงแผนการพัฒนาเมืองสู่ Save City รายละเอียดจะเป็นอย่างไร ตามไปชมพร้อมกันเลยครับ
ฉะเชิงเทราพร้อมก้าวสู่ SMART CITY
“ฉะเชิงเทราจะเป็นจังหวัดอัจฉริยะในอีกไม่เกิน 5 ปี” ไมตรี ไตรติลานันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา
ฉะเชิงเทรามีความพร้อมในทุกด้าน ทั้งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เที่ยว และเป็นจังหวัดที่รัฐบาลให้เป็นหนึ่งในสามจังหวัด EEC แต่จะทำอย่างไรให้ความพร้อมแปลงไปสู่ความทันสมัย สะดวกสบาย และคุณภาพชีวิตที่ดี จนทำให้ฉะเชิงเทราน่าอยู่ น่าเที่ยว น่าลงทุน นี่เป็นจุดเริ่มต้นให้นำ Smart City เข้ามาช่วยบริหารจัดการ
แนวทางพัฒนาจังหวัดฉะเชิงเทราสู่ Smart City
1. Smart Environment โดยพัฒนา และแก้ปัญหาสิ่งเเวดล้อมรวมถึงการเปลี่ยนเเปลงสภาพภูมิอากาศโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยบริหารจัดการอย่างเป็น ระบบ เช่น การจัดการน้ำ การดูแลสภาพอากาศ การบริหาร จัดการของเสีย และการเฝ้าระวังภัยพิบัติ ตลอดจนเพิ่ม การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน
2. Smart Economy การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในระบบเศรษฐกิจและบริหารจัดการ ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เมืองเกษตรอัจฉริยะ เมืองท่องเที่ยวอัจฉริยะ เป็นต้น
3. Smart People ประชาชนใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะ และสิ่งแวดล้อม ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเศรษฐกิจ ตลอดจนเปิดกว้างสำหรับความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และการมีส่วนร่วมของประชาชน
4. Smart Governance พัฒนาระบบบริการภาครัฐ เพื่ออำนวยความสะดวก แก่ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของภาครัฐ โดยมุ่งเน้น ความโปร่งใสและการมีส่วนร่วม และมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องผ่านการประยุกต์ใช้นวัตกรรมบริการ
5. Smart Living พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกโดยคำนึงถึงหลักอารยสถาปัตย์ (Universal Design) ให้ประชาชนมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี มีความปลอดภัย และมีความสุขในการดำรงชีวิต
6. Smart Mobility พัฒนาระบบจราจรและขนส่งอัจฉริยะเพื่อขับเคลื่อนประเทศ โดยเพิ่มประสิทธิภาพและความเชื่อมโยงของระบบขนส่งและการสัญจรที่หลากหลาย เพิ่มความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทางและขนส่ง รวมถึงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
7. Smart Energy บริหารจัดการด้านพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความสมดุล ระหว่างการผลิตและการใช้พลังงานในพื้นที่เพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงานและลดการพึ่งพาพลังงานจากระบบโครงข่ายไฟฟ้าหลัก
ฉะเชิงเทราจะเป็น Smart City ได้ ภาคราชการวางแผนแล้วเดินหน้า ภาคเอกชนผลักดัน คือให้ความร่วมมือทุกด้าน ถ้าภาคราชการขาดงบประมาณ หรือขาดองค์ความรู้ หรือขาดกำลังพลก็ช่วยผลักดัน และสุดท้ายประชาชนชาวฉะเชิงเทราสนับสนุน โดยให้เห็นความสำคัญ เห็นประโยชน์และให้ความร่วมมือ นี่คือปัจจัยแห่งความสำเร็จและเป็นบทเรียนของการดำเนินงาน
Save City เพื่อชุมชนปลอดภัย ประชาชนไร้กังวล
พล.ต.ต.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร รองผู้บัญชาการ ตำรวจภูธรภาค 2 กล่าวถึงแนวทางการพัฒนาเมืองปลอดภัย โดยอาศัย Community Oriented Policing ซึ่งเป็นปรัชญาในการทำงานของตำรวจในเรื่องการให้ตำรวจร่วมกับประชาชนในชุมชน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมกันแก้ไขปัญหาอาชญากรรม
ความหมายของ Community Oriented Policing ไม่ได้จำกัดเฉพาะเรื่องการตรวจค้นจับกุม แต่รวมถึงเรื่องของการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ
อีกทฤษฎีที่เอามาบวกกันคือเรื่องของ Broken Windows คือการสร้างชุมชนให้น่าอยู่ เช่น การที่เราไม่ปล่อยให้มีบ้านรกร้างในชุมชน เพราะการมีบ้านรกร้างในชุมชนจะทำให้คนในชุมชนรู้สึกหวาดกลัวอาชญากรรม หรืออาจจะเป็นที่แหล่งมั่วสุม
และการแก้ปัญหาไม่ให้มียาเสพติดในชุมชน ตามแนวความคิดของ Community Oriented Policing ทางชุมชนจะเป็นคนกำหนดมาตรฐานนั้นเอง ว่าแค่ไหนที่เขาคิดว่าเพียงพอ
เรื่องเทคโนโลยีเป็นเรื่องหนึ่งที่นำมาใช้ในทุก ๆ ด้าน ทั้งในงานสอบสวน การแจ้งความออนไลน์ การนัดหมายล่วงหน้า เรื่องของการใช้กล้องวงจรปิดในด่านตรวจเพื่อความโปร่งใสในการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และเพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน เพื่อก้าวไปสู่ Smart City
Category:
Tags: