แบรนด์ผ้าไทยท้องถิ่น พัฒนาธุรกิจติดตลาดโลก
“ผ้าไหมไทย” ที่คนไทยไม่กล้าใส่ แต่สำหรับชาวต่างชาติแล้วถือเป็นอีกสัญลักษณ์ของประเทศไทย ยิ่งถูกประยุกต์ให้เข้ากับสมัย บวกดีไซน์ที่โดดเด่น ยิ่งเพิ่มมูลค่าให้กับผ้าไหมไทย แต่นอกจากเรื่องธุรกิจ Khwanta Handicraft แบรนด์ไทยแท้ยังสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนอีกด้วย จะมีด้านใดบ้าง ไปชมกันครับ
ไขความลับ ขวัญตา ผ้าไทยใส่ไม่แก่
แบรนด์ Khwanta Handicraft (ขวัญตา) ก่อตั้งโดยคุณสุมามาลย์ เต๋จ๊ะ (พี่อ๋อย) ซึ่งนำชื่อของคุณแม่มาตั้งเป็นชื่อแบรนด์ ซึ่งจุดเริ่มต้นมาจากการเติบโตมาในครอบครัวที่มีคุณแม่เย็บผ้าและก็ทอผ้ามาตั้งแต่เด็ก พอโตมาก็ได้มีโอกาสมาเรียนต่อที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานี ด้านผ้าและเครื่องแต่งกาย และมีความชอบในการคิดตกแต่งเสื้อผ้าให้มีความแตกต่างสวยงาม ทำให้คนที่เห็นสะดุดตาและแนะนำให้สร้างแบรนด์ของตัวเอง ในปี พ.ศ.2546 กรมการพัฒนาชุมชนเชิญชวนให้จดทะเบียนเป็น OTOP จึงได้ตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนและทำสินค้าออกขาย
โดยรวบรวมชาวบ้านผู้สูงอายุมาช่วยกันทำ ใช้ภูมิปัญญาความรู้ที่มีให้เกิดประโยชน์ และทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง เมื่อผู้สูงอายุนำงานกลับไปทำที่บ้าน ลูกหลานได้เห็นก็เกิดความสนใจ บอกต่อกันไป บ้างก็ช่วยกันทำเป็นครอบครัว ทำให้เชื่อมต่อความสัมพันธ์ทางครอบครัวไปด้วย
Khwanta Handicraft ตั้งใจลบล้างคำว่า “ผ้าไทยใส่แล้วแก่” ด้วยการพัฒนารูปแบบให้ดูทันสมัย อีกทั้งยังต่อยอดเป็นศูนย์การเรียนรู้ขวัญตา โดยหวังให้เด็กรุ่นหลังได้ซึมซับในเรื่องของผ้าไทย ในเรื่องของการทอ และอนุรักษ์ในสิ่งที่ไม่สามารถประเมินราคาได้ต่อไป
บุกโรงย้อมสีผ้าไทยจากวัสดุธรรมชาติ ขวัญตา
Khwanta Handicraft มองถึงเรื่องของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการย้อมเส้นไหม จึงหันมาย้อมธรรมชาติ เช่น ดอกทองกวาวตามท้องไร่ท้องนา ฝักคูณที่หล่นตามพื้นดินและมองว่าไม่มีประโยชน์ ซึ่งกระบวนการหลังจากย้อมก็จะมีบ่อบำบัดน้ำที่ใช้ต้นกกช่วยกรอง และเมื่อต้นกกโต ก็ยังสามารถนำมาทอเสื่อได้อีก
แม้แต่การทอผ้าก็ยังนำลายบนภาชนะดินเผามาใส่ บางลายก็แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนพื้นเมือง ในน้ำมีปลาในนามีข้าว เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์และแสดงถึงเอกลักษณ์ของคนไทย ความงดงามนี้ไปไกลถึงเวที London Fashion Week ด้วย
Recent Posts
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.