Categories: BURIN JOURNEY

บุรินทร์เจอนี่ Season 2 EP.11 ตระหนักแบบไม่ตระหนก กับ COVID-19

5 / 5 ( 14 votes )

จากระแสความกังวลใจเกี่ยวกับ COVID-19 ปัจจุบันสถานการณ์ของโรคนี้เป็นอย่างไรบ้าง แล้วสิ่งที่เรากังวลอยู่จะมีทางออกอย่างไร มาฟังคำแนะนำจาก อ.ดร.พญ.วรรษมน จันทรเบญจกุล ศูนย์โรคอุบัติใหม่ด้านคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในรายการบุรินทร์เจอนี่กันครับ

ช่วงปลายเดือนมกราคมต้นเดือนกุมภาพันธ์จะเห็นว่า จำนวนผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในประเทศจีน แต่ประเทศจีนเขาก็มีมาตรการหลายๆอย่างในการควบคุมไม่ให้โรคแพร่กระจาย ดังนั้นตอนนี้จีนถือว่าควบคุมได้ แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ นอกประเทศจีนทั้งหมด ทั้งยุโรป อเมริกา เอเชีย ที่นอกเหนือจากจีนก็จำนวนเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อนอกประเทศจีนนั่นแหละที่เราต้องมาเฝ้าระวังกัน ดังนั้น ทุกประเทศต้องร่วมมือกันจัดการควบคุม

จะตรวจตัวเองง่ายๆยังไงบ้าง?

อาการของผู้ติดเชื้อ COVID-19 เหมือนไข้หวัด จึงเป็นเรื่องยากที่จะแยกแยะได้ คือมีอาการไข้ ปวดเมื่อยเนื้อตัว ไอ น้ำมูก เจ็บคอ ซึ่งเหมือนไข้หวัดเลย เหมือนจะเป็นไข้หวัดโรคอื่นๆ ดังนั้น สิ่งที่จะแตกต่างก็คือประวัติความเสี่ยง เราจึงต้องใช้วิธีคัดกรองประวัติเสี่ยงกัน ทั้งผู้มีประวัติเดินทางจากพื้นที่เสี่ยง ผู้ที่ประกอบอาชีพที่มีโอกาสสัมผัสนักท่องเที่ยว หรือคนที่เดินทางมาจากประเทศอื่นที่มีโอกาสมาไอ จามใส่คุณ หรือเป็นคนใกล้ชิดผู้ป่วย

มียารักษาแล้วหรือยัง?

มียาที่คิดว่าได้ผล ก่อนขึ้นทะเบียนยาว่ารักษาโรคนี้ได้ ต้องมีผลการศึกษา ซึ่งการยืนยันว่ายาชนิดใดได้ผล จะต้องใช้ผู้เข้าร่วมการศึกษาหลักหมื่นขึ้นไป แต่เราเพิ่งมีคนที่ติดเชื้อนี้หลักหมื่น เมื่อไม่นานมานี้ และไม่ใช่ทุกคนได้ยานี้หมด ถ้าถามว่าข้อมูลจริงๆ สุดท้ายจะใช้ได้จริงหรือเปล่าต้องรอดู

ถ้าจะบอกว่าไม่มีทางรักษาเลย ไม่ใช่ เรามีทางแต่เรายังไม่รู้จะทำไงดีที่สุด 100% หรือเปล่า

รวมทั้งยาทุกตัวมีผลข้างเคียง แทนที่เราจะหายได้เอง กลับกลายเป็นได้ยา และเกิดผลข้างเคียงจากยา กลายเป็นเสียชีวิตจากยา หรือแพ้ยา ดังนั้นเราต้องมาชั่งน้ำหนักระหว่างข้อดีข้อเสียเป็นอย่างไร แต่เนื่องจากปัจจุบันข้อดีมันยังไม่สุดโต่ง แพทย์จึงยังไม่กล้าให้ยากับทุกคน อาจต้องเลือกคนที่จำเป็นต้องให้ก่อน

มีข่าวออกมาว่า ต่อให้รักษาหายแล้ว แต่ปอดก็จะไม่กลับสู่ภาวะปกติ?

เรื่องนี้ต้องแบ่งคนไข้ออกเป็นหลายส่วน และต้องยอมรับว่าทุกๆ ครั้งที่เราติดเชื้อปอดเราจะมีแผล และมีร่องรอย แต่จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับการติดเชื้อ คล้ายการประสบอุบัติเหตุ ถ้าขาหักก็ต้องเหลือร่องรอย แต่ถ้าเป็นแผลถลอก ไม่นานก็หาย จึงขึ้นอยู่กับความหนักเบาของของการติดเชื้อครั้งนั้น และขึ้นอยู่กับภาวะพื้นฐานของแต่ละคน

คนที่ออกกำลังกาย สามารถต้าน COVID-19 ได้หรือไม่?

ทุกคนสร้างได้ บางคนบอกไม่ต้องกินยาอะไรเดี๋ยวก็หายเอง เชื้อไวรัสหลายๆ ตัวไม่มียาฆ่าเชื้อจำเพาะ สิ่งที่ช่วยเราก็คือเม็ดเลือดขาวในร่างกาย และภูมิต้านทานของร่างกาย ซึ่งจะทำงานได้ดีก็ต่อเมื่อร่างกายแข็งแรง

คนที่ออกกำลังกายเป็นประจำ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ กินยา อาหารที่มีประโยชน์ ร่างกายแข็งแรง เวลาติดเชื้อไวรัส ไม่ว่าเชื้อชนิดใดย่อมสามารถหายเองได้

ถ้าย้อนกลับไปดูจะเห็นได้ว่าอัตราการเสียชีวิตมักจะเจอเยอะในผู้สูงอายุ เพราะสมรรถภาพของเม็ดเลือดขาวก็ลดลงไปตามวัย ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว ผู้ภูมิต้านทานบกพร่อง

โอกาสที่ติดเชื้อแล้วอาการรุนแรงก็จะเยอะกว่า แต่ถ้าเป็นคนหนุ่มสาว คนร่างกายแข็งแรง โอกาสที่ติดเชื้อและเปลี่ยนเป็นอาการรุนแรงก็จะน้อยลงกว่ามากๆ แต่ละคนเองก็จะมีปัจจัยอื่นๆ ยุ่งเกี่ยวกัน

คำแนะนำสำหรับกลุ่มเสี่ยง?

หลักๆ คือไม่อยากให้ไปในที่ชุมชนที่มีโอกาสจะไปแพร่เชื่อให้คนจำนวนมาก หากเป็นไปได้ อยู่ที่บ้านก็แยกตัวกับคนอื่น เวลาไอจามเสมหะในระยะประมาณ 1-2 เมตรเท่านั้น ดังนั้น แยกกันห่างกัน 1 ถึง 2 เมตร กินข้าวก็แยกกันห่างๆ แต่ยังสามารถอยู่ในบ้านเดียวกันได้

เพราะ เชื้อโคโรนาเป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่มีเปลือกหุ้มแบบไขมัน เป็นเชื้อที่ตายง่าย ถูกสารทำความสะอาดเบื้องต้นก็ฆ่าเชื้อได้หมดเลย อย่างที่เรามีคำแนะนำการให้ล้างมือบ่อยๆ ล้างด้วยน้ำและสบู่จริงๆก็เพียงพอแล้ว แค่ต้องถูล้างให้เรียบร้อย หรือว่าจะใช้แอลกอฮอล์ก็ได้เช่นกัน เชื้อเจอแอลกอฮอล์ 1 นาทีก็ตายแล้ว

ซักผ้า เราก็เปลี่ยนเป็นซักน้ำร้อนขึ้น อุณหภูมิ 60 องศาเชื้อก็ตายแล้ว หากจะอยู่ร่วมกันเน้นเปิดอากาศโล่ง เปิดพัดลม เปิดหน้าต่าง อย่าเปิดแอร์ให้เป็นห้องปิด เพื่อให้อากาศในห้องถ่ายเท

แสงยูวี ความร้อนฆ่าเชื้อได้ จึงคิดว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ประเทศเราไม่แพร่ระบาดมาก เพราะประเทศไทยค่อนข้างร้อน ตอนนี้หมอโรคติดเชื้อจึงมีความหวังกับหน้าร้อนปีนี้มาก เพราะเราจะสามารถคุมโรคได้มากกว่าประเทศอื่นๆ

นอกจากความร้อน ต้องไม่ชื้นมากด้วย มันต้องร้อนแห้งๆ อย่างบ้านเรานี่แหละเหมาะแล้ว เนื่องจากเชื้อจะชอบความเย็น และความชื้น ถ้ามีความเย็น ความชื้นจะอยู่ได้นาน ดังนั้นที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือเราต้องล้างมือให้สะอาด เพราะเราไม่รู้ว่าเมื่อไหร่เราจะเผลอมาขยี้ตา ขยี้จมูก

ส่วนการติดทางการหายใจร่วมอากาศกัน โดยสถานะทั่วไปไม่ติด แต่ถ้าเราไปทำให้เกิดเป็นละอองฝอยขนาดใหญ่เปลี่ยนเป็นขนาดเล็ก เช่น ไปอยู่โรงพยาบาลแล้วต้องพ่นยา เราทำให้เสมหะเขาจากอันใหญ่ๆ เปลี่ยนเป็นอันเล็กๆ ฟุ้งลอยในอากาศอาจมีโอกาส กรณีนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในโรงพยาบาล

คนที่แพร่จะได้เยอะจริงๆ ต้องเป็นคนที่มีอาการ เพราะถ้าเชื้ออยู่ในตัวเขา ถ้าไม่ไอ ไม่จาม ไม่แพร่เชื้อ ไม่เอาไปป้ายที่ต่างๆ มันก็ไม่ออกมา ดังนั้น คนที่ยังไม่มีอาการโอกาสแพร่เชื้อน้อยมาก เราถึงบอกว่ากลุ่มนี้ต้องกักตัวเอง14 วัน

โดย อาจารย์ พญ.ดร.วรรษมน จันทรเบญจกุล จากศูนย์โรคอุบัติใหม่ด้านคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

———————————————————————-

From the end of January to the beginning of February, we saw that mostly of confirmed cases were in China, but the country endorsed many measures controlling the disease spreading. Now, the situation is under control in China. What we have to concern is situations outside China. In Europe, the America, Asia except China saw increasing number of confirmed cases.  What we concern the most now is number of infected cases outside China. Hence, all countries must collaborate to control this.

How to detect ourselves for COVID – 19?

Actually, it is cold-like symptoms. So it is difficult to identify. Symptoms can include fever, pain, cough, runny nose, sore throat, likely getting cold. What make it different is risky history. So we have to screen up this risk history, such as whether you just came back from risk area, or your work made you potentially contact with foreign tourists, or any foreigner coughing or sneezing to you or patient care takers. So screening up potential risk is a must, as the symptoms are alike to common cold.

Do we have medicament to cure it now?

We have some potential drugs to cure this.  Before any drug registered for curing any disease, we have to conduct many studies. Normally, any medicament confirmed for curing requires at least 10 thousands participants to join in the studies. For this disease, number of confirmed cases is just 10 thousands. And all of them did not get this medicament, so we have to wait and see the result.

Saying no way to cure, It is not. We have, but still don’t know how to do our best 100%.

All drugs create some side effect. Instead of self-cure, we got some drug, that causes side effect, and died from drug allergy. So we have to weight on good and bad point of drug. As the good point is not obviously seen, so, doctor still not order drug to all patients. Helped only for those in need first.

There is news that lungs of those cured would not resume to pre-infected stage, that’s right?

As per studies, patients can be divided in many groups. We must accepted that every time we were infected, our lungs will have lesion. It is disease lesion, more or less is up to the degree of infection. Like when we have an accident, we have broken legs, so there will be some lesion left. If we have scratched, it would be fine, no lesion seen. This is up to degree of infection, and his health condition.

If we frequently have physical exercise, can we resist disease?

All can do this. Someone may not need to take medicine, they can cure themselves. We have not specific medicament to kill virus. What help us is our white blood cells andour immunity. It will work well when we are in good health condition.

Those exercise frequently, sleep sufficiently, and eat healthy food, will be strong, when being infected, can cure themselves.

If we traced back, we will find that fatal cases happened with aging people. Getting older, white blood cells’ efficiency will drop. Aging people, those with congenital disease, and immune deficiency,

when being infected will have severe symptoms. Contrary to youth, and those with good health, chance to be infected and develop severe symptoms is quite small. Each has different factors to concern on.

Advice for risk groups

Mainly not go to public area, where you might spread disease to other people. If possible, self quarantine at home. Droplet from cough and sneeze will limit in only 1-2 meters distance, so separate from each other for 1-2 meters. Stay away from others when having a meal, but we can still live under the same roof.

Coronavirus is a virus with fat surface, it is easy to die by any basic cleaning agent. As we recommend to wash hands frequently with water and soap, that’s enough. Just clean (your hands) properly. Alcohol is acceptable, Coronavirus will die within 1 minute.

When washing clothes, use hot water 60 degrees Celsius can kill virus. When living together, let wind flow, open the window, turn on electric fan, do not turn on air conditioner or make the room closed area. Let wind flow, make room more ventilated.

UV and heat can kill virus. This might be one of reasons why Thailand has low spreading rate. Our country is quite hot. Now, many doctors wish for hot weather this year. Because we can control this disease better than others.

Not only heat, there should not so humid too. It must be hot and dry as in Thailand.

Virus can live longer in cold weather with high humidity. They live longer when in humid and cold weather area. Importantly that we must clean our hands properly. As we don’t know when we unintentionally rub our eyes and nose.

For those saying that we can contact this disease thru breathing the same air, it is impossible. But when we go to hospital, droplets can be minimized. Such as when we go to hospital to have nasal spray big droplet will be made to smaller and flow in the air, at this case, it is possible for us to contact with virus.

Those able to spread disease to others must have symptoms. If they have virus in their body, but they do not cough, sneeze or rub it out, no virus spread out. People lack of symptom will have less chance to spread virus, so we recommend this group of people to self-quarantine for 14 days

By Dr. Wastasmon Jantarabenjakul, From Emerging Infectious Disease Clinical Center, Chulalongkorn Hospital.

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

9 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

1 year ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

1 year ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

1 year ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

2 years ago

This website uses cookies.