Categories: BURIN JOURNEY

หุ่นยนต์ AI มาทำอะไรในห้องทดลอง ?

“บุรินทร์เจอนี่” ตอนนี้ จะพาทุกท่านไปชมฝีมือคนไทยในการพัฒนาหุ่นยนต์สำหรับใช้งานภายในห้องทดลองหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะงานในการพัฒนาวัคซีน

ก่อนหน้านี้ส่วนงานดังกล่าวจะใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการทำงาน ซึ่งจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย หากงานพัฒนาวัคซีนดังกล่าวเกี่ยวข้องกับโรคระบาดร้ายแรง

เทคโนโลยีภายใต้ฝีมือคนไทยนี้มีชื่อว่า “AI-Immunizer” ซึ่งเป็นนวัตกรรมหุ่นยนต์รูปแบบใหม่ ผสานการทำงานระหว่าง “โรโบติกส์” และ “AI” เข้าด้วยกัน ทำให้สามารถตอบโจทย์การพัฒนาวัคซีน เพราะส่วนใหญ่การทดลองโครงการแบบนี้ จะใช้คนที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเท่านั้น การที่มีเครื่องกลหรือหุ่นยนต์มาทดแทนการทำงานตรงนี้ ก็จะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ในต่างประเทศ…มีการใช้หุ่นยนต์แบบนี้อยู่บ้าง แต่ยังไม่มีทุกแล็ป ก่อนที่จะมี AI-Immunizer การวิจัยหรือการค้นคว้าในเรื่องของวัคซีนใหม่ ๆ โดยทั่วไปจะใช้เวลา 10-15 ปี เนื่องจากว่ามีกระบวนการในการทดสอบมาก บางชนิดที่มีความยากมากขึ้น ก็จะใช้ระยะเวลานานขึ้น

เมื่อมี AI-Immunizer มาแล้ว ถือว่าตอบโจทย์อย่างมาก ในแง่ของการทำงานจะต้องมีการป้องกันความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน การที่มี AI เข้ามา ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของผู้ปฏิบัติงานในการสัมผัสกับเชื้อ ทั้งลดความเสี่ยงของผู้ปฏิบัติงาน ลดเวลา เพราะว่าหุ่นยนต์สามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ดร.พร้อมสิน มาศรีนวล – ดร.เอกชัย วารินศิริรักษ์ – ผศ.ดร.นริศ หนูหอม

เป้าหมายในอนาคตของการพัฒนา AI-Immunizer อยากจะให้มันมีความแม่นยำในการทำงานมากขึ้น และอยากจะให้มีข้อผิดพลาดลดน้อยลง ปลอดภัยกับผู้ติดเชื้อมากขึ้น ถึงแม้ว่าจะลดปริมาณการทำงานของผู้ปฏิบัติลงได้ แต่ว่าเราก็ยังต้องอาศัยบุคลากรในการทำงานส่วนนี้อยู่เช่นเดิม


ดร.เอกชัย วารินศิริรักษ์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลและหัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า นวัตกรรม หุ่นยนต์เอไอ-อิมมูไนเซอร์ (AI-Immunizer) เป็นหุ่นยนต์ทดสอบภูมิคุ้มกันอัจฉริยะที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถปฏิบัติการทดสอบระดับภูมิคุ้มกันในการลบล้างฤทธิ์ของไวรัส ที่เรียกว่า Neutralization Test ทดแทนมนุษย์ได้อย่างครบวงจร

 

ทำให้สามารถทดแทนการทำงานของมนุษย์ ลดความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ ลดข้อผิดพลาด และความซ้ำซ้อน โดยทีมวิจัยได้ออกแบบให้เป็นระบบปิดในการปฏิบัติการด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ  ซึ่งปลอดภัยต่อการใช้งานและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ดร.พร้อมสิน มาศรีนวล หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนาวัคซีน สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “นวัตกรรมหุ่นยนต์ เอไอ-อิมมูไนเซอร์ (AI-Immunizer)” สำหรับทดสอบภูมิคุ้มกันอัจฉริยะในการพัฒนาวัคซีนนี้ ส่งผลดีต่อการเสริมศักยภาพการพัฒนาวัคซีนไทยอย่างยิ่ง

นวัตกรรมนี้ยังช่วยลดขั้นตอนในการทำงานของบุคลากร ส่วนซอฟต์แวร์ AI สำหรับการประมวลภาพผลการทดสอบระดับภูมิคุ้มกัน สามารถนำมาใช้งานและเกิดการต่อยอดพัฒนาวัคซีนของไทยให้รวดเร็วยิ่งขึ้น ช่วยลดภาระของการอ่านผลทดสอบโดยคน โดยหุ่นยนต์ทดสอบภูมิคุ้มกันอัจฉริยะในงานพัฒนาวัคซีนนี้ จะเป็นนวัตกรรมสำคัญที่รองรับการวิจัยและพัฒนาวัคซีนทั้งในและต่างประเทศ และช่วยยกระดับเทคโนโลยีด้านวัคซีนของประเทศไทย


ผศ.ดร.นริศ หนูหอม รองหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์ กล่าวถึงการพัฒนาเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อช่วยอ่านผลการทดสอบระดับภูมิคุ้มกัน ว่า

ปัญญาประดิษฐ์ที่พัฒนาขึ้นเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างฐานข้อมูลด้านไวรัสและภูมิคุ้มกันของศูนย์วิจัยและพัฒนาวัคซีน สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุลร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่สามารถเป็นกำลังสำคัญให้เกิดการพัฒนาต่อยอด และช่วยเพิ่มศักยภาพด้านการพัฒนาวัคซีนให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดลและประเทศไทยได้


 

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.