Categories: BURIN JOURNEY

เขาใหญ่ เยือนบ้านสัตว์ป่า ค้นหาต้นน้ำหน้าแล้ง

บุรินทร์เจอนี่พาตะลุยอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ สัมผัสการเดินป่าในช่วงหน้าแล้ง ในระยะทาง 3.5 กิโลเมตร จากผากล้วยไม้ สู่น้ำตกเหวสุวัต จะเจออะไรบ้าง ตามไปชมกันเลยครับ

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ครอบคลุมทั้งหมด 4 จังหวัดด้วยกัน นั่นคือ จังหวัดนครราชสีมา สระบุรี นครนายก และปราจีนบุรี เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำที่สำคัญของประเทศประมาณ 4-5 สาย ดังนั้น ถ้าเรารักษาป่าต้นน้ำไว้ เราก็มีน้ำใช้ตลอดอย่างแน่นอน

เห็ด มีประโยชน์ต่อระบบนิเวศ เพราะเห็ดคือผู้ย่อยสลายให้ท่อนไม้ใหญ่ ๆ กลายเป็นสารอาหาร เพื่อให้รากไม้สามารถดูดซับไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป

บางพื้นที่จะมีต้นไม้ล้ม และการล้มของต้นไม้จะเป็นการเปิดช่องว่างกลางป่า ทำให้แสงส่องลงมาถึงพื้นล่าง พวกพืชที่อยู่ต่ำก็สามารถที่จะรับแสงและเจริญเติบโตขึ้นมาแทนได้ในอนาคต

“ต้นไม้ใหญ่ตาย 1 ต้น แต่ก็ทำให้มีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นได้เป็นล้าน”

แต่ต้นไม้ที่มันล้ม บางทีล้มทับเส้นทาง ทำให้เรามองไม่เห็นว่าทางอยู่ตรงไหน ดังนั้น ถ้าไม้ล้มเราก็ต้องเดินเลี่ยงไปทางใดทางหนึ่ง และพยายามวกกลับเข้าเส้นทางเดิมให้ได้ หรือไม่ก็เดินกลับทางเก่า เพราะถ้ายิ่งเดินต่อมันก็จะหลง เพราะในเส้นทางเดินป่ามีสัญญาณโทรศัพท์ ดังนั้น การขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่จึงดีที่สุด

นกเงือกกรามช้าง ลักษณะของตัวผู้คือ คอจะมีสีเหลือง  ส่วนตัวเมียจะมีคอสีฟ้า เรามักจะได้ยินเสียงก่อนถึงจะเห็นตัว เพราะว่าใต้ปีกนกเงือกมีขนน้อย ทำให้เกิดช่องว่าง ดังนั้น เวลาบินจึงเกิดเสียง

ทาก นี้ก็คือไฮไลต์ของป่า ไม่ได้มีพิษมีภัยอะไร กลับมีประโยชน์เสียอีก เพราะเวลาทากดูดเลือดจะปล่อยสารฮีรูดีนที่ทำให้เลือดไม่แข็งตัว จึงถูกนำไปใช้ในวงการแพทย์ เพื่อรักษาแผลที่หายยาก ๆ เช่น แผลผ่าตัด เพราะเวลาทากดูดเลือดเรา มันจะเชื่อมต่อเส้นเลือดฝอย ทำให้ระบบไหลเวียนเลือดดี

การเดินป่านั้นก็มีกฎกติกาง่าย ๆ

1. อย่าทิ้งสิ่งของ หรือขยะไว้ในป่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งขยะพลาสติกต่าง ๆ เพราะว่ามันไม่ได้อยู่ในระบบนิเวศตั้งแต่แรกนั่นเอง

2. เมื่อเจอสัตว์ป่า อย่าเข้าใกล้หรือสัมผัส เพราะเราไม่รู้ว่าตอนนั้นอารมณ์ของสัตว์ป่าเป็นอย่างไร หากอยากถ่ายรูป ให้ถ่ายในระยะห่าง ๆ

3. ห้ามนำสัตว์ไปปล่อยในป่า เพราะว่าสัตว์เลี้ยงไม่สามารถหาอาหารเองได้และไม่สามารถอยู่ร่วมกับระบบนิเวศที่เป็นธรรมชาติแบบนี้ได้

4. อย่าจุดไฟถ้าไม่จำเป็น เพราะการเกิดไฟป่าเกือบ 100% เกิดจากการจุดไฟของมนุษย์

 

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.