“Blue Carbon” คือ การกักเก็บคาร์บอนในระบบนิเวศชายฝั่ง และระบบนิเวศทางทะเล เช่น ป่าชายเลน หญ้าทะเล ที่ลุ่มน้ำเค็ม โดยการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศเพื่อการสังเคราะห์แสง และจากนั้นเกิดการสะสมในตะกอน
จากข้อมูลการศึกษาของสหภาพยุโรปพบว่า พื้นที่ทางทะเลและชายฝั่ง อาทิ ป่าชายเลน ป่าพรุ และแนวหญ้าทะเลที่มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 5 ของพื้นที่ทะเลทั้งหมด กลับมีศักยภาพในการสะสมคาร์บอนได้มากกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่ทะเลถือเป็นแหล่งสะสมคาร์บอนที่หนาแน่นที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
หากทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยสามารถจัดการพื้นที่เหล่านี้อย่างเป็นระบบ ย่อมสามารถช่วยชะลอและฟื้นฟูสภาพแวดล้อมของโลกที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ไม่มากก็น้อยในส่วนของการบริหารจัดการพื้นที่ทางทะเลและชายฝั่งโดยเฉพาะที่เป็นแหล่งดูดซับ Blue Carbon ปัจจุบันนักวิจัยมีการนำเสนอมาตรการต้นแบบที่เป็นรูปธรรมในการนำการดูดซับก๊าซคาร์บอนของระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งอย่างหลากหลาย อาทิ การบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำบริเวณชายฝั่งทะเลอย่างยั่งยืนการซื้อขายบัญชีก๊าซเรือนกระจก (Carbon Credit) กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism) เป็นต้น
มาตรการเหล่านี้อาจถูกออกแบบมาเพื่อจูงใจให้ภาคส่วนต่าง ๆ เล็งเห็งความสำคัญของการอนุรักษ์และดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตร และสร้างความยั่งยืนกับระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งมากยิ่งขึ้น ตลอดจนอาจร่วมกันสร้างกติการ่วมกันในการกำหนดมาตรการการลงโทษรูปแบบต่าง ๆ ต่อการดำเนินกิจกรรมที่ทำลายสมดุลของระบบนิเวศฯ และความสมบูรณ์ของระบบนิเวศทางทะเลที่มีคุณค่าสำคัญต่อการดูดซับและสะสมคาร์บอน
ซึ่งอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญที่มีผลต่อการขับเคลื่อนกิจกรรมด้าน Blue Carbon เพื่อเป็นแนวทางและกำหนดทิศทางในการทำงานคือการศึกษารวบรวมงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อนำไปต่อยอดและปรับใช้ในการทำงาน ซึ่งในส่วนของการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ Blue Carbon ประเทศไทยมีนักวิจัยได้เริ่มทำศึกษา แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก ส่วนในต่างประเทศมีการศึกษาอย่างแพร่หลายและนานาประเทศต่างให้ความสนใจเป็นอย่างมาก
สหภาพยุโรป (European Union – EU) พบว่าทะเลที่ปกคลุมไปด้วยพืช (Ocean’s Vegetated Habitats) โดยเฉพาะป่าชายเลน ป่าพรุน้ำเค็มและแนวหญ้าทะเล สามารถสะสม Blue Carbon ได้มากกว่าร้อยละ 50 ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งสะสมของคาร์บอนหนาแน่นที่สุดบนโลก แต่อัตราสูญเสียระบบนิเวศน์ดังกล่าวเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้การสะสม Blue Carbon ลดลงราวร้อยละ 2-7 ต่อปี (รวดเร็วกว่าช่วง 50 ปีก่อนหน้านี้ถึง 7 เท่าตัว) หากหยุดยั้งความเสื่อมโทรมและฟื้นฟูการสะสมคาร์บอนของพื้นที่ดังกล่าวได้ จะส่งผลดีต่อการช่วยลดก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปลดปล่อยออกมาได้มากถึงร้อยละ 25
ปัจจุบัน EU ยังไม่ได้มีมาตรการที่เป็นรูปธรรม แต่ในอนาคตอาจจะได้เห็นมาตรการที่เป็นรูปธรรมในการนำการดูดซับก๊าซคาร์บอนของระบบนิเวศน์ทางทะเลและพื้นที่ชายฝั่งทะเลรวมไว้ในการคำนวณบัญชีก๊าซเรือนกระจก หรือ การซื้อขาย “Blue Carbon Credit” เช่นเดียวกับ “Green Carbon Credit” ซึ่งมาตรการเหล่านี้ อาจจะออกแบบมาเพื่อสร้างแรงจูงใจให้มนุษย์หันมาอนุรักษ์ ฟื้นฟูและบริหารจัดการระบบนิเวศน์ชายฝั่งให้ดีขึ้น
องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (National Aeronautics and Space Administration) หรือ องค์การนาซา (NASA) ได้ร่วมกันวิจัยและพัฒนางานที่เกี่ยวข้องกับภูมิสารสนเทศ เพื่อใช้ในการศึกษาแหล่งกักเก็บคาร์บอนในมหาสมุทรเพิ่มเติม ซึ่งการพัฒนางานดังกล่าวได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในงานด้าน Climate Change มากยิ่งขึ้น จะทำให้ข้อมูลมีความถูกต้อง ส่งผลให้การวิเคราะห์ประมวลผลเชิงพื้นที่มีความแม่นยำ เป็นข้อมูลสนับสนุนการแก้ไขปัญหาเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติได้อย่างรวดเร็ว และสามารถตอบโจทย์งานทางด้าน Climate Change ได้ตรงจุดในพื้นที่เป้าหมายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ประเทศญี่ปุ่น เป็นอีหนึ่งในประเทศที่มีการขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าว ผ่านการทดสอบเทคโนโลยีดักจับและกักเก็บคาร์บอน (Carbon capture and storage: CCS) เป็นกระบวนการลำเลียงคาร์บอนไดออกไซด์ผ่านกระบวนการทางเคมีด้วยสารละลายเอมีน (Amine) ทำให้ได้คาร์บอนไดออกไซด์บริสุทธิ์ 99% และนำไปฝังไว้ในชั้นหินที่อยู่ใต้ทะเลความลึก เสมือนการนำคาร์บอนไดออกไซด์กลับคืนสู่แหล่งกำเนิดอีกครั้ง
ส่วนแนวทางการดำเนินการเรื่อง Blue Carbon ในประเทศไทยจะเน้นที่การศึกษาวิจัยศักยภาพการลดก๊าซเรือนกระจกของระบบนิเวศทางทะเลชายฝั่งของประเทศไทย ตลอดจนการหาแหล่งทุนหรือแรงจูงใจทางการเงินอื่น ๆ เช่น โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคทางการหรือภาคสมัครใจ เพื่อเป็นปัจจัยหนึ่งในการดำเนินการอนุรักษ์ทรัพยากรทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ปัจจุบันไทยได้เตรียมความพร้อมไว้ในอนาคตเบื้องต้นแล้ว หากรัฐบาลเห็นว่าประเทศไทยถึงเวลาต้องกักเก็บคาร์บอนฯ อย่างจริงจังที่ต้องนำนโยบายและทิศทางการขับเคลื่อนงานของรัฐบาลเป็นหลัก เนื่องจากต้องอาศัยการลงทุนจากภาครัฐและใช้เงินจำนวนมาก ซึ่งที่ผ่านมาแต่ละประเทศจึงมีแนวทางลดปัญหาคาร์บอนไดออกไซด์ที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสม โดยประเทศไทยยังคงมุ่งเน้นการผลิตและใช้พลังงานทดแทนมากขึ้นเพื่อลดคาร์บอนไดออกไซด์ตามข้อตกลงการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ
การขับเคลื่อน Blue Carbon ภายใต้ชื่อ สมาคมบลูคาร์บอน (Blue Carbon Society) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร โดยอุทิศตนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของระบบนิเวศ เช่น ป่าชายเลน ทุ่งหญ้าทะเล และที่ราบลุ่มน้ำเค็ม และขับเคลื่อนงาน ตลอดจนกิจกรรมของ Blue Carbon เพื่อการมีส่วนร่วมปกป้องสภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ในบทบาทการเป็นผู้พิทักษ์โลกให้มีธรรมชาติที่สวยงาม น่าอยู่ เพื่อทุกชีวิตทั้งในปัจจุบัน และอนาคตต่อไป
อยากรู้จัก “Blue Carbon Society” ให้มากกว่านี้ คลิกเลย www.bluecarbonsociety.org
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.