Blue Carbon” คือ การกักเก็บคาร์บอนในระบบนิเวศชายฝั่ง และระบบนิเวศทางทะเล เช่น ป่าชายเลน หญ้าทะเล ที่ลุ่มน้ำเค็ม โดยการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศเพื่อการสังเคราะห์แสง และจากนั้นเกิดการสะสมในตะกอน

จากข้อมูลการศึกษาของสหภาพยุโรปพบว่า พื้นที่ทางทะเลและชายฝั่ง อาทิ ป่าชายเลน ป่าพรุ และแนวหญ้าทะเลที่มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 5 ของพื้นที่ทะเลทั้งหมด กลับมีศักยภาพในการสะสมคาร์บอนได้มากกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่ทะเลถือเป็นแหล่งสะสมคาร์บอนที่หนาแน่นที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

หากทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยสามารถจัดการพื้นที่เหล่านี้อย่างเป็นระบบ ย่อมสามารถช่วยชะลอและฟื้นฟูสภาพแวดล้อมของโลกที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ไม่มากก็น้อยในส่วนของการบริหารจัดการพื้นที่ทางทะเลและชายฝั่งโดยเฉพาะที่เป็นแหล่งดูดซับ Blue Carbon ปัจจุบันนักวิจัยมีการนำเสนอมาตรการต้นแบบที่เป็นรูปธรรมในการนำการดูดซับก๊าซคาร์บอนของระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งอย่างหลากหลาย อาทิ การบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำบริเวณชายฝั่งทะเลอย่างยั่งยืนการซื้อขายบัญชีก๊าซเรือนกระจก (Carbon Credit) กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism) เป็นต้น

มาตรการเหล่านี้อาจถูกออกแบบมาเพื่อจูงใจให้ภาคส่วนต่าง ๆ เล็งเห็งความสำคัญของการอนุรักษ์และดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตร และสร้างความยั่งยืนกับระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งมากยิ่งขึ้น ตลอดจนอาจร่วมกันสร้างกติการ่วมกันในการกำหนดมาตรการการลงโทษรูปแบบต่าง ๆ ต่อการดำเนินกิจกรรมที่ทำลายสมดุลของระบบนิเวศฯ และความสมบูรณ์ของระบบนิเวศทางทะเลที่มีคุณค่าสำคัญต่อการดูดซับและสะสมคาร์บอน

ซึ่งอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญที่มีผลต่อการขับเคลื่อนกิจกรรมด้าน Blue Carbon เพื่อเป็นแนวทางและกำหนดทิศทางในการทำงานคือการศึกษารวบรวมงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อนำไปต่อยอดและปรับใช้ในการทำงาน ซึ่งในส่วนของการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ Blue Carbon ประเทศไทยมีนักวิจัยได้เริ่มทำศึกษา แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก ส่วนในต่างประเทศมีการศึกษาอย่างแพร่หลายและนานาประเทศต่างให้ความสนใจเป็นอย่างมาก

คลิกเลย! แนะนำบทความน่าอ่าน

สหภาพยุโรป (European Union – EU) พบว่าทะเลที่ปกคลุมไปด้วยพืช (Ocean’s Vegetated Habitats) โดยเฉพาะป่าชายเลน ป่าพรุน้ำเค็มและแนวหญ้าทะเล สามารถสะสม Blue Carbon ได้มากกว่าร้อยละ 50 ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งสะสมของคาร์บอนหนาแน่นที่สุดบนโลก แต่อัตราสูญเสียระบบนิเวศน์ดังกล่าวเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้การสะสม Blue Carbon ลดลงราวร้อยละ 2-7 ต่อปี (รวดเร็วกว่าช่วง 50 ปีก่อนหน้านี้ถึง 7 เท่าตัว) หากหยุดยั้งความเสื่อมโทรมและฟื้นฟูการสะสมคาร์บอนของพื้นที่ดังกล่าวได้ จะส่งผลดีต่อการช่วยลดก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปลดปล่อยออกมาได้มากถึงร้อยละ 25

ปัจจุบัน EU ยังไม่ได้มีมาตรการที่เป็นรูปธรรม แต่ในอนาคตอาจจะได้เห็นมาตรการที่เป็นรูปธรรมในการนำการดูดซับก๊าซคาร์บอนของระบบนิเวศน์ทางทะเลและพื้นที่ชายฝั่งทะเลรวมไว้ในการคำนวณบัญชีก๊าซเรือนกระจก หรือ การซื้อขาย Blue Carbon Credit” เช่นเดียวกับ Green Carbon Credit” ซึ่งมาตรการเหล่านี้ อาจจะออกแบบมาเพื่อสร้างแรงจูงใจให้มนุษย์หันมาอนุรักษ์ ฟื้นฟูและบริหารจัดการระบบนิเวศน์ชายฝั่งให้ดีขึ้น

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (National Aeronautics and Space Administration) หรือ องค์การนาซา (NASA) ได้ร่วมกันวิจัยและพัฒนางานที่เกี่ยวข้องกับภูมิสารสนเทศ เพื่อใช้ในการศึกษาแหล่งกักเก็บคาร์บอนในมหาสมุทรเพิ่มเติม ซึ่งการพัฒนางานดังกล่าวได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในงานด้าน Climate Change มากยิ่งขึ้น จะทำให้ข้อมูลมีความถูกต้อง ส่งผลให้การวิเคราะห์ประมวลผลเชิงพื้นที่มีความแม่นยำ เป็นข้อมูลสนับสนุนการแก้ไขปัญหาเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติได้อย่างรวดเร็ว และสามารถตอบโจทย์งานทางด้าน Climate Change ได้ตรงจุดในพื้นที่เป้าหมายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ประเทศญี่ปุ่น เป็นอีหนึ่งในประเทศที่มีการขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าว ผ่านการทดสอบเทคโนโลยีดักจับและกักเก็บคาร์บอน (Carbon capture and storage: CCS) เป็นกระบวนการลำเลียงคาร์บอนไดออกไซด์ผ่านกระบวนการทางเคมีด้วยสารละลายเอมีน (Amine) ทำให้ได้คาร์บอนไดออกไซด์บริสุทธิ์ 99% และนำไปฝังไว้ในชั้นหินที่อยู่ใต้ทะเลความลึก เสมือนการนำคาร์บอนไดออกไซด์กลับคืนสู่แหล่งกำเนิดอีกครั้ง

ส่วนแนวทางการดำเนินการเรื่อง Blue Carbon ในประเทศไทยจะเน้นที่การศึกษาวิจัยศักยภาพการลดก๊าซเรือนกระจกของระบบนิเวศทางทะเลชายฝั่งของประเทศไทย ตลอดจนการหาแหล่งทุนหรือแรงจูงใจทางการเงินอื่น ๆ เช่น โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคทางการหรือภาคสมัครใจ เพื่อเป็นปัจจัยหนึ่งในการดำเนินการอนุรักษ์ทรัพยากรทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ปัจจุบันไทยได้เตรียมความพร้อมไว้ในอนาคตเบื้องต้นแล้ว หากรัฐบาลเห็นว่าประเทศไทยถึงเวลาต้องกักเก็บคาร์บอนฯ อย่างจริงจังที่ต้องนำนโยบายและทิศทางการขับเคลื่อนงานของรัฐบาลเป็นหลัก เนื่องจากต้องอาศัยการลงทุนจากภาครัฐและใช้เงินจำนวนมาก ซึ่งที่ผ่านมาแต่ละประเทศจึงมีแนวทางลดปัญหาคาร์บอนไดออกไซด์ที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสม โดยประเทศไทยยังคงมุ่งเน้นการผลิตและใช้พลังงานทดแทนมากขึ้นเพื่อลดคาร์บอนไดออกไซด์ตามข้อตกลงการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ

แนวคิดผู้นำเพื่อความสำเร็จ

การขับเคลื่อน Blue Carbon ภายใต้ชื่อ สมาคมบลูคาร์บอน (Blue Carbon Society) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร โดยอุทิศตนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของระบบนิเวศ เช่น ป่าชายเลน ทุ่งหญ้าทะเล และที่ราบลุ่มน้ำเค็ม และขับเคลื่อนงาน ตลอดจนกิจกรรมของ Blue Carbon เพื่อการมีส่วนร่วมปกป้องสภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ในบทบาทการเป็นผู้พิทักษ์โลกให้มีธรรมชาติที่สวยงาม น่าอยู่ เพื่อทุกชีวิตทั้งในปัจจุบัน และอนาคตต่อไป

อยากรู้จัก “Blue Carbon Society” ให้มากกว่านี้ คลิกเลย www.bluecarbonsociety.org

Passion in this story