Categories: Blue Carbon Society

ลดขยะพลาสติกคนละชิ้น คืนความบริสุทธิ์ให้แหล่งน้ำ

4 / 5 ( 13 votes )

ปัจจุบันเราเคยชินกับการใช้พลาสติกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากตัวเลขของกรมควบคุมมลพิษ ประเทศไทยมีขยะมูลฝอยทั่วประเทศ 27.06 ล้านตัน คิคง่ายๆ เราสร้างขยะ 1.14 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน คิดเป็น 74,130 ตันต่อวัน โดยมีการกำจัดอย่างถูกวิธี 9.57 ล้านตัน หรือ 35.4% กำจัดไม่ถูกวิธี 11.40 ล้านตัน หรือ 42.1% มีการนำกลับมาใช้ประโยชน์ 5.81 ล้านตัน หรือ 21.5% ที่เหลือเป็นขยะที่ตกค้างสะสม 9.96 ล้านตัน

ที่น่าสนใจคือ ขยะบกที่ตกค้าง จะเริ่มลงสู่ทะเลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะขยะพลาสติก เช่น ขยะที่เกิดจากกิจกรรมชายฝั่งและการผักผ่อน คิดเป็น 41% และขยะที่มาจากกิจกรรมทางน้ำ คิดเป็น 8%  

มลภาวะจากพลาสติก

“พลาสติก” คือ วัสดุที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นจากธาตุพื้นฐาน 2 ชนิด คือ คาร์บอน และไฮโดรเจน ซึ่งเมื่อเติมสารบางอย่างลงไปจะทำให้พลาสติกมีคุณสมบัติพิเศษแตกต่างกันไปตามสัดส่วนและกรรมวิธี โดยสังเคราะห์จากโพลีเมอร์อินทรีย์ที่ได้จากการสกัดน้ำมันและแก๊ส

“พลาสติก” สามารถสร้างมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อมได้ เพราะหากกระบวนการจัดการพลาสติกใช้แล้ว เป็นไปอย่างไม่เหมาะสม หรือไม่ถูกวิธี รวมถึงการทิ้งขยะอย่างไร้ความรับผิดชอบลงแหล่งน้ำต่างๆ เป็นสาเหตุของการปนเปื้อนในแหล่งน้ำ และทำให้เกิดมลพิษ

นอกจากนี้เมื่อพลาสติกผ่านการรีไซเคิลคุณภาพจะด้อยลง จึงไม่สามารถนำกลับมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เดิมได้ เช่น โฟมบรรจุอาหารจะถูกรีไซเคิลกลายเป็นโฟมกันกระแทก (ไม่ควรนำกลับมาใส่อาหารอีก)

น้ำดื่มทุกวันนี้ มีพลาสติกจิ๋วแฝงอยู่

เรื่องนี้กลายเป็นเรื่องน่ากังวลมากขึ้น เมื่อผลวิจัยในโครงการของ ออร์บ มีเดีย (Orb Media) โดยทีมนักวิทยาศาสตร์ของ State University of New York Fredonia พบการปนเปื้อนของ ไมโครพลาสติก (Microplastic) ในน้ำดื่มบรรจุขวดจากการสุ่มตัวอย่างน้ำ 11 ยี่ห้อที่มาจาก 9 ประเทศและมีชื่อประเทศไทยอยู่ในนั้นด้วย

“คุณภาพของน้ำ” มีอิทธิพลอย่างมากต่อมนุษย์ เพราะน้ำไม่ได้เป็นเพียงเครื่องดื่มคลายกระหาย แต่เป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตของเรา ไม่ว่าจะใช้ดื่มกิน ทำอาหาร ทำความสะอาด หรือเพาะปลูกพืช

พลาสติกจิ๋วเหล่านี้ อยู่ในน้ำดื่มเราได้อย่างไร

ผู้เชี่ยวชาญด้านไมโครพลาสติก “เชอร์รี่ เมสัน” เผย อนุภาคพลาสติกที่พบกว่า 65% มีลักษณะเป็นเศษพลาสติกไม่ใช่เส้นใยพลาสติก จึงเชื่อว่าอนุภาคเหล่านี้อาจปนเปื้อนในขั้นตอนการบรรจุขวด หรือหลุดมาจากตัวขวดน้ำดื่มหรือจากการเปิดฝาขวด โดยน้ำดื่ม 1 ลิตร จะพบไมโครพลาสติก เฉลี่ย 10.4 ชิ้น และเชื่อว่าอนุภาคพลาสติกมีความเชื่อมโยงกับการเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งบางชนิด ปัญหาจำนวนอสุจิลดลง โรคสมาธิสั้น และโรคออทิสติก

ทั้งนี้ ไมโครพลาสติกปนเปื้อนในน้ำประปาได้อย่างไรยังคงเป็นปริศนา แต่เป็นไปได้ว่าการปนเปื้อนนี้มาจากสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติ รวมทั้งจากเสื้อผ้า โดยอาจปนเปื้อนผ่านน้ำที่ปล่อยมาจากเครื่องซักผ้า ก่อนระบายลงสู่ระบบบำบัดน้ำเสีย หรือมาจากเครื่องอบผ้าที่ปล่อยใยพลาสติกลอยปนเปื้อนในอากาศ

แล้ว…เราจะดื่มน้ำจากที่ไหนดี

นพ.วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ยืนยันว่า “น้ำดื่มบรรจุขวดในประเทศไทยยังคงมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค”

ขณะที่ อาจารย์เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวถึงงานวิจัยของ German Institute for Risk Assessment (BfR) ซึ่งทำการทดลองโดยให้หนูกินไมโครพลาสติกขนาดต่างๆ จำนวนมาก ติดต่อกัน 28 วัน ก็ยังไม่พบผลกระทบในเชิงลบ แต่การประเมินผลที่จะเกิดขึ้นกับมนุษย์ในระยะยาวนั้นยังต้องศึกษากันอีกมาก

แม้ยังไม่มีหลักฐานใดยืนยันชัดว่าการปนเปื้อนดังกล่าวเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์หรือไม่ แต่เชื่อว่าเรื่องนี้มีผลกระทบต่อจิตใจคนอ่านไม่มากก็น้อย

วันนี้ไมโครพลาสติกย้อนกลับมาหาเราผ่านแหล่งน้ำที่ใช้อุปโภคบริโภค ซึ่งเป็นภัยใกล้ตัวที่คาดไม่ถึงแต่เราสามารถหลีกเลี่ยงและลดความเสี่ยงจากไมโครพลาสติกเหล่านี้ได้

เริ่มจากการสำรวจของใช้ใกล้ตัวเรามีผลิตภัณฑ์จากพลาสติกอยู่กี่ชิ้น ชิ้นไหนพอจะเปลี่ยนไปใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้บ้าง ค่อยๆปรับวันละนิด ลดการใช้ ลดการทิ้งขยะพลาสติกอย่างมักง่ายทั้งบนบก และชายฝั่งทะเลปกป้องแหล่งน้ำใส่ใจสิ่งแวดล้อม ดูแลท้องทะเล และชายฝั่งทะเล เพื่อทุกชีวิตที่ปลอดภัย

ร่วมรักษาท้องทะเลและชายฝั่งของเราไปพร้อมกับ Blue Carbon Society เพื่อท้องทะเลสีน้ำเงินของพวกเรากันเถอะ คลิกเลยที่ www.bluecarbonsociety.org

ที่มา

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Share
Published by
อภินัทธ์ เชงสันติสุข

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.