Categories: Blue Carbon Society

อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล – ด้วยการทำประมงอย่างยั่งยืน

5 / 5 ( 1 vote )

หากพูดถึงอาชีพ “ประมง” หลายคนจะนึกถึงคนที่ต้องออกเรือพร้อมเครื่องมือจับสัตว์ทะเลในทุก ๆ วัน ก่อนจะกลับขึ้นฝั่งเพื่อนำสัตว์ทะเลที่จับได้มาคัดแยกประเภท และส่งขายไปยังท้องตลาดเพื่อให้ผู้บริโภคมาเลือกซื้ออาหารทะเลกลับไปทานกันสด ๆ ซึ่งเราเคยทราบกันหรือไม่ว่าทำไมอาหารทะเลถึงมีราคาแพง และทำไมปริมาณสัตว์ทะเลที่จับได้กลับลดลงจากเมื่อก่อนมาก

“คนที่จะเป็นแบบอย่างผู้นำที่ดีต้องคุณสมบัติสำคัญส่วนหนึ่งที่จำเป็นมากก็คือ ต้องกล้าตัดสินใจ และการตัดสินใจใด ๆ นั้นต้องประเมินเวลาและเหตุการณ์ให้ได้ด้วยว่าเหมาะสมหรือไม่” ธนินท์ เจียรวนนท์

ผศ.ดร.จรวย สุขแสงจันทร์  รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวถึงสาเหตุที่ชาวประมงจับสัตว์ทะเลได้ในปริมาณน้อย มีหลายปัจจัยทั้งสิ่งแวดล้อมรวมถึงเครื่องมือที่ใช้ในการจับที่มีหลากหลาย โดยปี 2549 ผลผลิตจากการทำประมงอยู่ที่ประมาณ 2,484 ล้านตัน และช่วงปี 2549-2558 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของผลจับ ลดลงเฉลี่ยร้อยละ 6.42 ต่อปี โดยปี 2559 มีผลผลิตจากการทำประมงอยู่ที่ประมาณ 1,343 ล้านตัน

ซึ่งก่อนหน้านี้ภาครัฐยังไม่มีมาตรการคุมเข้มเครื่องมือการทำประมงโดยเฉพาะตาอวน ทำให้สามารถจับสัตว์น้ำตั้งแต่ขนาดใหญ่ไปจนถึงขนาดเล็กได้หากชาวประมงเพิ่มความถี่ในการจับสัตว์น้ำมากขึ้นการเจริญเติบโตของสัตว์ทะเลทั้งพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่จะสืบทอดต่อไปในอนาคตถูกตัดวงจรลงผลกระทบที่จะตามมาคือปริมาณทรัพยากรสัตว์ทะเลก็น้อยลงตามไปด้วย

คลิกเลย! แนะนำบทความน่าอ่าน

นอกจากนี้ รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ปัจจุบันมีมาตรการของภาครัฐเข้ามากำกับดูแลโดยเฉพาะกรมประมงที่ได้ออกประกาศกำหนดมาตรฐานเครื่องมือประมงบางประเภทที่กำหนดให้มีขนาดตาอวนตั้งแต่ 1 นิ้ว หรือ 2.5 เซนติเมตรขึ้นไปเพื่อลดผลกระทบการจับลูกสัตว์น้ำขึ้นมาด้วย ซึ่งข้อกำหนดดังกล่าวจะช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลให้ยั่งยืนต่อไปได้

อย่างไรก็ตาม แม้ภาครัฐจะออกมาตรการกำหนดให้ผู้ประกอบการนำเรือประมงมาขึ้นทะเบียนเรือ ใบอนุญาตการทำประมงอย่างถูกต้องตามกฎหมาย รวมถึงกำหนดเครื่องมือการทำประมงที่ไม่เข้าไปรบกวนวงจรสัตว์น้ำในอนาคตแล้ว สิ่งสำคัญคือการปลูกจิตสำนึกทั้งชาวบ้านที่อยู่ติดทะเลและชาวประมงเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยจะต้องปรับตัวทั้งการเรียนรู้ข้อมูลเรื่องชีววิทยาของสัตว์น้ำ, การใช้เครื่องมือต่าง ๆ, ช่วงระยะเวลาการออกเรือทำประมงและอื่น ๆ มาประกอบเข้าด้วยกันเพื่อให้สัตว์น้ำสามารถสืบพันธุ์ต่อไปได้โดยที่มนุษย์เองก็มีทรัพยากรเหล่านี้ใช้ไปจนถึงลูกหลาน หากชาวบ้านและชาวประมงสามารถเรียนรู้และปรับตัวได้ก็จะเป็นการทำประมงอย่างยั่งยืนได้ในที่สุด

ติดตามเรื่องราวดี ๆ เกี่ยวกับ “Blue Carbon” เพียงคลิก www.bluecarbonsociety.org

คลิกเลย! แนะนำบทความน่าอ่าน

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.