Categories: Blue Carbon Society

โลกร้อน โลกรวน – ป่วนสัตว์น้ำ

5 / 5 ( 1 vote )

เคยถามตัวเองกันบ้างไหม ? ว่า “ทำไมอากาศร้อนขนาดนี้ ! … ทำไมวันนี้ฝนตก ! … นี่ฤดูอะไรกันแน่ ?” ถึงแม้ว่าคำตอบจากคำถามต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นพวกเราทุกคนต่างก็มีคำตอบในใจกันอยู่แล้ว ว่าสภาพอากาศที่แปรปรวนอย่างทุกวันนี้ มีสาเหตุมาจาก “Global warming” หรือ “ภาวะโลกร้อน” นั่นเอง

ข้อมูลจากองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกรายงานว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในช่วงเดือนมกราคมถึงกันยายน ปี 2017 มีค่าประมาณ 14.31 องศาเซลเซียสซึ่งสูงกว่าค่าปกติ (ค่าเฉลี่ยปี 1981-2010) ประมาณ 0.47 ± 0.08 องศาเซลเซียส และ ปี 2017 ยังถือเป็นปีที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์โดยปราศจากอิทธิพลจากปรากฏการณ์เอลนีโญอีกด้วย

สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยระบุ อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่เพิ่มสูงขึ้นจะทำให้น้ำทะเลในมหาสมุทร แม่น้ำ ลำธาร และทะเลสาบระเหยมากขึ้น ทำให้วัฏจักรของน้ำมีการเปลี่ยนแปลง เป็นเหตุให้ฝนตกชุกกระจุกตัวในบางพื้นที่ และเกิด “อุทกภัย” ตามมาในทางกลับกันบางพื้นที่เกิดปัญหา “ภัยแล้ง” เนื่องจากฝนตกน้อย

สถานการณ์เหล่านี้ส่งผลต่อภาคการเกษตรในประเทศไทยเนื่องจากปริมาณน้ำในประเทศไทยมีแนวโน้มลดลงประมาณร้อยละ 5 – 10 ผลผลิตด้านการเกษตรต่าง ๆ โดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจสำคัญอย่างข้าวซึ่งต้องอาศัยปริมาณน้ำฝน แสงแดดที่แน่นอนรวมถึงความชื้นของดิน และอุณหภูมิเฉลี่ยที่เหมาะสมจึงได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนของดินฟ้าอากาศไปด้วย

นอกจากนี้ภาคการประมงก็ได้รับผลกระทบไม่น้อยเนื่องจากปริมาณน้ำในแหล่งน้ำต่าง ๆ ที่ลดลงส่งผลต่อการขยายพันธุ์ และการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำนั่นหมายความว่าจำนวนสัตว์น้ำ และความหลากหลายของชนิดสัตว์น้ำก็จะลดลงตามเช่นกัน

คลิกเลย! แนะนำบทความน่าอ่าน

“ระบบนิเวศทางทะเล และชายฝั่งทะเล” เป็นอีกหนึ่งระบบนิเวศที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน เนื่องจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นส่งผลให้พืชตายพื้นที่ป่าชายเลนลดลง แอ่งน้ำเค็มลดลง และถูกแทนที่ด้วยหาดเลน และอุณหภูมิผิวน้ำที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้สัตว์ทะเลบางชนิดสูญพันธุ์

ถึงเวลาแล้วที่เราทุกคนต้องร่วมกันช่วยโลกของเราให้รอดพ้นจากวิกฤต “ภาวะโลกร้อน” เพื่อทุกชีวิตที่มีค่า มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการฟื้นฟู และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไปพร้อมกับ Blue Carbon Society”

อยากรู้จักเรามากกว่านี้ คลิก www.bluecarbonsociety.org #BCS #BlueCarbonSociety #SocialImpact #GlobalWarming ที่มา : WMO Provisional Statement on the State of the Global Climate 2017 และ Green Peace

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.