คนไทยมีวิถีชีวิตที่เกี่ยวพันกับสายน้ำมาอย่างยาวนาน เราใช้สายน้ำในการดำรงชีวิตทั้งการอุปโภค บริโภค เส้นทางสัญจร การอยู่อาศัยและการประกอบสัมมาอาชีพ
ดังนั้น เพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณของสายน้ำและขอขมาที่ล่วงเกินด้วยการทิ้งสิ่งสกปรกลงแม่น้ำลำคลอง ชาวไทยจึงได้จัดประเพณี “ลอยกระทง” ขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 หรือวันเพ็ญเดือน 12 ซึ่งเป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงงดงามที่สุด และน้ำสมบูรณ์ที่สุด ปัจจุบัน ประเพณีลอยกระทงถือเป็นประเพณีเก่าแก่และสืบทอดกันมายาวนาน จนกลายเป็นมรดกวัฒนธรรมชิ้นสำคัญของไทย
ประเพณีลอยกระทง เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยที่มีการสืบทอดต่อกันมาเป็นเวลาหลายร้อยปี ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยใด
แต่มีบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือตำรับนางนพมาศ ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ว่า ท้าวศรีจุฬาลักษณ์หรือนางนพมาศได้ประดิษฐ์โคมลอยเป็นรูปดอกกระมุท ประดับด้วยประทีปหรือน้ำมันจากไขโค เรียกว่าน้ำมันเปรียง เพื่อจุดบูชาในวันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งชาวไทยทุกชนชั้นตั้งแต่พระมหากษัตริย์จนถึงชาวบ้าน จะมีพิธีบูชาแม่น้ำ หรือขอขมาแม่น้ำ นายบุญชัย ทองเจริญบัวงาม ผู้ทรงคุณวุฒิอำนวยการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม เล่าถึงที่มาของประเพณีลอยกระทงกับ Passiongen
ในการประดิษฐ์กระทงของชาวไทยสมัยก่อน นิยมทำเป็นกระทงกลีบ ทรงดอกบัวสอดคล้องกับตำนานที่ว่านางนพมาศประดิษฐ์กระทงเป็นรูปดอกโกมุท หรือดอกบัวที่บานรับแสงพระจันทร์ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ โดยใช้วัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่ายตามท้องถิ่น เช่น ต้นกล้วย กาบกล้วย ซึ่งเป็นวัสดุที่ลอยน้ำได้ ส่วนกลีบกระทง นิยมใช้ใบตอง หรือใบไม้อื่นๆ เช่น ในช่วงเดือน 12 ใบกระท้อนจะมีสีแดง ก็จะนิยมนำมาพับเป็นกลีบกระทงด้วยเช่นกัน
สำหรับประเภทของกระทง สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ กระทงตามความเชื่อทางพุทธศาสนา และกระทงตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ ซึ่งกระทงตามความเชื่อทางศาสนาพุทธ นิยมบรรจุดอกไม้ ธูป เทียน เพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาท ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงประทับไว้ ณ หาดทรายริมฝั่งนัมมทานที ซึ่งปัจจุบันคือ แม่น้ำเนรพุททา ในประเทศอินเดีย
ส่วนกระทงตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ นิยมใส่ดอกไม้ ธูป เทียน หมาก พลู และข้าวตอก เพื่อบูชาพระเจ้า 3 พระองค์ ก็คือ พระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อกันว่า เป็นการลอยเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ ดังนั้นผู้ลอยจึงต้องตัดผม เล็บมือ เล็บเท้า ใส่ลงในกระทงให้พ้นเคราะห์ พ้นโศก รวมถึงใส่ปัจจัยเพื่อเป็นการให้ทาน
“การลอยกระทงในปัจจุบัน มีความเข้าใจที่ผิดเพี้ยนไปบ้าง อย่างเรื่องการนำกระทงแบบพุทธและแบบพราหมณ์มารวมเข้าด้วยกัน เพราะคนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่า การลอยกระทงเป็นการบูชารอยพระพุทธบาท จึงได้ใส่เล็บมือ เล็บเท้าลงไปด้วย ซึ่งไม่ถูกต้อง จึงอยากให้คนทั่วไปได้รู้ความหมายของกระทงแต่ละแบบ”
นอกจากนี้ รูปแบบของกระทงสมัยก่อนกับปัจจุบัน ก็จะแตกต่างกันตามยุคสมัย กระแสวัฒนธรรม และสภาพเศรษฐกิจ ซึ่งสมัยก่อนกระทงจะทำจากวัสดุธรรมชาติ ซึ่งย่อยสลายง่าย ยุคต่อมามีการใช้โฟมและ กระดาษเพราะหาง่าย ราคาไม่แพง ปัจจุบันคนเริ่มเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากขึ้น กระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติจึงได้กลับมาได้รับความนิยม รวมถึงกระทงที่ย่อยสลายง่าย ไม่ทำลายธรรมชาติ อย่าง กระทงขนมปัง กระทงจากน้ำแข็ง ก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน
“ประเพณีลอยกระทง เป็นประเพณีที่ดีงาม ที่เราต้องรักษาไว้ให้คงอยู่ต่อไป พร้อมๆ กับการที่เราต้องร่วมกับดูแลรักษาแม่น้ำลำคลองให้สะอาด เพื่อให้ธรรมชาติยังคงความงามอยู่เช่นเดิม สำหรับใครที่จะไปลอยกระทง ผมแนะนำว่า 1 ครอบครัวต่อ 1 กระทงก็พอ และกระทงไม่จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่ แค่ใบเล็กๆ ก็ลอยได้ เพราะถึงอย่างไร กระทงมันงามในความหมาย และใสซื่อกับจารีตวัฒนธรรม และอยู่ร่วมกันได้กับวิถีสังคมปัจจุบัน” บุญชัยกล่าวทิ้งท้าย
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.