Categories: Blue Carbon Society

ลด “ไมโครพลาสติก” – ฟื้นฟูทุกชีวิตในท้องทะเล

3.7 / 5 ( 3 votes )

เชื่อหรือไม่ ? ชีวิตมนุษย์เรากำลังเผชิญกับภัยที่มองไม่เห็นโดยที่เราไม่รู้ตัวโดยเฉพาะภัยจาก “ไมโครพลาสติก” และบางคนอาจไม่เคยได้ยินคำนี้เลยด้วยซ้ำวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ “ภัยจิ๋ว” ที่ “ไม่จิ๋ว” ในเบื้องต้น

“ไมโครพลาสติก” คืออะไร?

“ไมโครพลาสติก” คือ ชิ้นส่วนพลาสติกที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 นาโนเมตร ถึง 5 มิลลิเมตร ส่วนหนึ่งเกิดจากการย่อยสลายของพลาสติกที่แตกกระจายเป็นชิ้นเล็ก ๆ จนเรามองไม่เห็น แต่โทษของมันร้ายแรงกว่าที่คิด

ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง “วิกฤตขยะบกสู่แพขยะในทะเล” ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2560 ว่า “ไมโครพลาสติก” เป็นภัยเงียบที่เกิดจากขยะในทะเลหากสะสมในปริมาณมาก โทษก็มหาศาล!

“ในช่วง10 ปีที่ผ่านมา นักวิจัยทั่วโลกศึกษาจนพบว่าไมโครพลาสติกมีผลต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในระยะยาว” ผศ.ดร.ธรณ์ กล่าว

ไมโครพลาสติก” มีผลกระทบร้ายแรงขนาดนั้นเลยหรือ ?

ดร.ธรณ์ยืนยันว่า “ไมโครพลาสติก” เป็นปัญหามลพิษทางทะเลที่แพร่กระจายในสิ่งแวดล้อมทางทะเลทั่วโลก และมีแนวโน้มส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งซึ่งเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนที่สำคัญ

ด้วยขนาดเล็กจิ๋วของ “ไมโครพลาสติก” มันจึงสามารถเข้าไปปะปนอยู่ในวงจรห่วงโซ่อาหารได้อย่างง่ายดาย ผ่านการกินของแพลงก์ตอนซึ่งเป็นแหล่งอาหารของสัตว์น้ำต่าง ๆ และยังกระจัดกระจายอยู่ตามตะกอนดิน ท้ายที่สุดสัตว์ทะเลน้อยใหญ่จึงได้รับ “ไมโครพลาสติก” กันถ้วนหน้า

นั่นหมายความว่า กุ้ง หอย ปู ปลา ที่อยู่บนจานอาหารของเรา อาจนำเอา “ไมโครพลาสติก” ที่เกิดจากฝีมือมนุษย์เรา ย้อนมาทำร้ายตัวเราเองได้

ไม่เพียงเท่านั้น สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและป่าชายเลน, กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับคณะเทคโนโลยีทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา ยังเผยแพร่ข้อมูลจากการศึกษา เมื่อปี พ.ศ.2557 ว่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทางทะเลได้รับผลกระทบจาก “ไมโครพลาสติก” เช่นกัน

Blue Carbon Society ต้องการคืนความสมบูรณ์สู่ระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง เราตระหนักถึงภัยจาก “ไมโครพลาสติก” ที่กำลังส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและห่วงโซ่อาหาร และทำลายความสมบูรณ์ของธรรมชาติ

ใครเป็นต้นเหตุของมลพิษอย่าง “ไมโครพลาสติก” ?

ใครกำลังลดพื้นที่ “Blue Carbon”?

แล้วใครต้องเป็นคนรับผิดชอบเรื่องนี้ ?

ไม่ต้องมองหาใครที่ไหนเพราะเราทุกคนคือต้นเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมด! เราร่วมกันสร้าง (ขยะ) เราจึงต้องร่วมกันหยุดปัญหานี้ไปพร้อม ๆ กัน …

ร่วมกันวันนี้ ปกป้องพื้นที่ “Blue Carbon” บริเวณป่าชายเลน หญ้าทะเล และพื้นที่ลุ่มน้ำเค็มที่เหลืออยู่ รวมถึงปกป้องสัตว์ทะเล และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลที่นับวันจะมีจำนวนน้อยลงเรื่อย ๆ ไม่ให้ถูกแทนที่ด้วย “ไมโครพลาสติก”

ติดตามเรื่องราวดี ๆ เกี่ยวกับ “Blue Carbon” เพียงคลิก www.bluecarbonsociety.org

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

View Comments

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.