Patom Organic Living “ออร์แกนิค ดีต่อสุขภาพ ดีต่อใจ กับธุรกิจแนวคิดใหม่ ที่ใส่ใจต่อสุขภาพ”

Patom Organic Living “ออร์แกนิค ดีต่อสุขภาพ ดีต่อใจกับธุรกิจแนวคิดใหม่ ที่ใส่ใจต่อสุขภาพ”

“You are what you eat”

คุณรับประทานอะไรเข้าไป คุณก็จะได้รับผลเช่นนั้น

ผลจากการใช้ชีวิตด้วยความเร่งรีบ เพื่อก้าวให้ทันโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การรับประทานอาหารจานด่วน และการทานอาหารที่ผิดหลักโภชนาการเป็นประจำ ส่งผลเสียต่อสุขภาพและก่อให้เกิดโรคภัยร้ายแรงตามมา อาทิ เบาหวาน ความดัน และโรคมะเร็ง ทำให้ปัจจุบัน คนเราหันมาใส่ใจกับสุขภาพมากขึ้น ด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่ดี มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหาร “ออร์แกนิค” หรืออาหารที่ทำจากวัตถุดิบประเภทเกษตรอินทรีย์ ปราศจากสารเคมี ที่กำลังได้รับความนิยมในกลุ่มคนรักสุขภาพ

เราขอพาคุณไปรู้จักร้าน Patom (ปฐม) คาเฟ่ใจกลางเมืองกรุงฯ ที่มีแนวคิดธุรกิจ และการบริหารจัดการที่โดดเด่น พร้อมส่งตรงวัตถุดิบออร์แกนิคจากเกษตรกรถึงมือผู้บริโภคโดยตรง ถือเป็น “ปลายน้ำ” ที่สำคัญของวิถีออร์แกนิค นอกจากนี้เรายังพาไปรู้จักถึง ”ต้นน้ำ” ได้แก่ ตัวแทนเกษตรกรผู้ปลูกพืชผักออร์แกนิคที่ส่งให้กับร้าน Patom อีกด้วย

 

เริ่มต้นธุรกิจ เพราะรักสุขภาพ

ปฐม ออร์แกนิค ลีฟวิ่ง” (Patom Organic Living) ธุรกิจปลายน้ำของวิถีออร์แกนิคที่เราพามารู้จักในครั้งนี้ เป็นการต่อยอดจากมาธุรกิจหลักของครอบครัว “นวราช” ที่บริหารงานโรงแรมสามพราน ริเวอร์ไซด์ อ.สามพราน จ.นครปฐม หรือที่เราคุ้นเคยและเรียกสั้นๆ ว่า “สวนสามพราน”

“จุดเริ่มต้นของแนวคิด เกิดจากการที่คุณอรุษ นวราช กรรมการผู้จัดการ สามพราน ริเวอร์ไซด์ เป็นคนรักสุขภาพ จึงได้ปรับพื้นที่ส่วนหนึ่งสำหรับปลูกผักและผลไม้ไว้ทานเองและใช้ในโรงแรม เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเป็นผักและผลไม้ที่เป็นออร์แกนิคแท้ๆ นอกจากนี้ เรายังได้นำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ Body Care ได้แก่ สบู่ แชมพู โลชั่น ไว้ในในโรงแรมอีกด้วย” คุณบัณฑิดา โภคสุวรรณ Business Development Assistant Manager ร้านปฐม ออร์แกนิค ลีฟวิ่ง กล่าวถึงที่มาของธุรกิจ

 

เปิดตลาดสุขใจ สนับสนุนเกษตรกร

ไม่เพียงแค่ลงมือทำฟาร์มออร์แกนิคของตัวเอง ครอบครัว “นวราช” ยังมองเห็นช่องว่างทางการตลาด จึงได้เปิด “ตลาดสุขใจ” ขึ้นในบริเวณโรงแรม เพื่อเปิดโอกาสให้เกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงและปลูกพืชผักออร์แกนิคเช่นเดียวกัน สามารถนำผลผลิตไปจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยวได้โดยตรง เพื่อเป็นการสนับสนุนให้เกษตรกรมีแหล่งจำหน่ายสินค้า เกิดความมั่นคงด้านรายได้ และที่สำคัญคือ เกษตรกรสามารถตั้งราคาจำหน่ายสินค้าได้อย่างเหมาะสม

พร้อมกันนี้ ยังได้จัดตั้ง “มูลนิธิสังคมสุขใจ” ขึ้น เพื่อเป็นองค์กรขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ (ออร์แกนิค) อย่างจริงจัง และดำเนินโครงการ “สามพรานโมเดล” เพื่อสนับสนุนเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดนครปฐมและจังหวัดใกล้เคียงเห็นความสำคัญและหันมาปลูกพืชผักออร์แกนิกเพิ่มขึ้น สอนการปลูกและจัดหาช่องทางการตลาดและการขายสินค้าให้

เกษตรกรได้จำหน่ายผลผลิตของตนเองได้โดยตรงกับผู้บริโภค โดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรผู้ปลูกพืชผักออร์แกนิค ซึ่งปัจจุบันดำเนินงานมาเป็นปีที่ 8 แล้ว

เปิดธุรกิจร้าน Patom เสิร์ฟวัตถุดิบจากเกษตรกรสู่คนเมือง

หลังจากที่ลุยทำฟาร์มออร์แกนิคและตลาดสุขใจ ที่ จ.นครปฐม จนเริ่มอยู่ตัวและเป็นที่รู้จักมากขึ้นแล้ว จึงได้มีการขยับขยายเข้าสู่เมืองกรุงฯ เพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายคนเมืองและกลุ่มคนรุ่นใหม่ โดยได้ทำการเปิดคาเฟ่ออร์แกนิคขึ้น ณ ใจกลางย่านทำเลทอง ซ.สุขุมวิท 49 ภายใต้ชื่อร้าน Patom (ปฐม) ซึ่งมีความหมายว่า “จุดเริ่มต้น” ซึ่งตรงกับคอนเซ็ปท์ของร้าน คือ สินค้าของร้านมาจากจุดเริ่มต้น นำส่งวัตถุดิบจากมือเกษตรกรสู่คนเมืองโดยตรง

จุดเด่นของร้าน Patom คือ ความเป็น Organic Living ตั้งแต่เมนูอาหารจนถึงผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวัน โดยอาหารที่จำหน่ายในแต่ละวัน จะถูกปรุงสดใหม่ ใส่ปิ่นโตเพื่อลดการใช้พลาสติกและนำส่งมาจากสวนสามพรานแต่เช้า และเพื่อให้ลูกค้ามั่นใจว่าอาหารทุกจาน น้ำทุกแก้ว และผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นที่จำหน่ายในร้าน ถูกปรุงด้วยวัตถุดิบออร์แกนิคจริงๆ ทางร้านจึงได้วาดแผนที่ขนาดใหญ่บนกำแพง บอกเล่าเรื่องราว และสถานที่ที่มาของวัตถุดิบแต่ละชนิดว่ามาจากที่ใด เช่น ผลไม้มาจากชุมชนใด ผักแต่ละชนิดใครเป็นผู้ปลูก เพื่อให้ลูกค้าสามารถตรวจสอบได้ถึงต้นน้ำเลยทีเดียว

นอกจากนี้ ร้าน Patom ยังโดดเด่นด้วยการจัดการขยะแบบ Zero Waste คือ มีการแนะนำให้ลูกค้าแยกขยะ ขยะเศษอาหารจะถูกนำกลับไปใช้เป็นปุ๋ย ซึ่งนอกจากจะช่วยลดปริมาณขยะกองโต ยังเป็นการช่วยรักษาสภาพแวดล้อมเป็นอย่างดี

“ทั้งหมดที่เราทำ ก็เพื่อให้ลูกค้าได้รับอาหารที่ดีต่อสุขภาพและดีต่อใจ” บัณฑิดากล่าวทิ้งท้าย

พลิกวิกฤตเป็นโอกาส ด้วยไอเดียทำธุรกิจเกษตรอินทรีย์เพื่อสุขภาพ

คุณอรุณี พุทธรักษา ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรทฤษฎีใหม่ หัวใจอินทรีย์ เกษตรกรซึ่งเปรียบเป็นต้นน้ำของวิถีออร์แกนิคหรือเกษตรอินทรีย์ เล่าให้ฟังถึงแรงบันดาลใจในการเข้ามาทำเกษตรอินทรีย์ว่า ครอบครัวของตนทำอาชีพเกษตรกรอยู่ที่ อ.เมือง จ.นครปฐม ซึ่งเดิมการปลูกพืชผักก็ใช้วิถีเช่นเดียวกับเกษตรกรทั่วไป คือใช้สารเคมีบ้าง แต่ระยะหลังเริ่มพบว่าคนในหมู่บ้านหลายรายป่วยเป็นโรคปอด โรคมะเร็ง บางรายหนักถึงขั้นเสียชีวิต อันมีสาเหตุจากสารเคมีที่ใช้ในการเกษตร

จากจุดนี้เองที่ทำให้อรุณี ต้องหันมาเปลี่ยนแปลงวิถีการทำการเกษตรของตัวเองครั้งใหญ่ ด้วยการหันมาพึ่งพาวิถีเกษตรอินทรีย์ เพื่อสุขภาพของตัวเอง คนในครอบครัว ตลอดจนผู้บริโภค ซึ่งอรุณียอมรับว่าในช่วงแรกที่เข้ามาทำเกษตรอินทรีย์ ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีรายละเอียดมากมายที่ต้องให้ความสำคัญ ตั้งแต่การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ ซึ่งแม้แต่น้ำที่ใช้รดพืชผัก ก็ต้องมีเป็นของตัวเอง ไม่ปะปนกับใคร และต้องปราศจากสารเคมีจริงๆ

จับมือ…รวมกลุ่มหัวใจอินทรีย์ เพื่อธุรกิจที่มั่นคงยั่งยืน

ผลผลิตจากแปลงเกษตรอินทรีย์ของอรุณี ได้รับการตอบรับอย่างดีและมีแหล่งจำหน่ายสำคัญคือ ตลาดสุขใจและโรงแรมสามพราน ริเวอร์ไซด์

หลังจากดำเนินการมาได้ระยะหนึ่ง ความต้องการผลผลิตปลอดสารพิษเริ่มเพิ่มสูงขึ้น อรุณีจึงได้ชักชวนเพื่อนๆ ที่มีวิถีเกษตรอินทรีย์เช่นเดียวกัน รวมตัวตั้งกลุ่ม รวบรวมผลผลิตส่งให้ตลาดสุขใจและโรงแรมฯ

“การรวมกลุ่มมันทำให้มีพลัง มีความยั่งยืน มีการช่วยเหลือกัน มีการแบ่งปันกัน กลุ่มของเราใช้ชื่อว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรทฤษฎีใหม่ หัวใจอินทรีย์ ปัจจุบันมีสมาชิกอยู่ 16 ราย คิดเป็นพื้นที่รวมกัน 120 ไร่ กระจายอยู่ในหลายจังหวัด หลายอำเภอ เช่นที่ จ.นครปฐม จ.สุพรรณบุรี จ.นนทบุรี เป็นต้น แต่และรายก็ปลูกพืชผักตามที่ตนถนัดไป เช่น ที่นี่ถนัดปลูกถั่วงอก บางเจ้าถนัดปลูกผักใบก็ปลูกไป” อรุณีกล่าว

 

รายได้พอพียง ถ้ารู้จักเพียงพอ

หากถามว่า การทำเกษตรอินทรีย์คุ้มหรือไม่ อรุณีกล่าวว่า ทุกวันนี้มีรายได้พอเพียง เพราะเรารู้จักเพียงพอ ผลผลิตจากฟาร์มเกษตรอินทรีย์เมื่อเทียบกับเกษตรเคมี ได้น้อยกว่า แต่เราไม่มีต้นทุนสารเคมีเลย ที่สำคัญ การที่เรามีสุขภาพที่ดีขึ้น เพราะทานข้าว พืชผักออร์แกนิคที่เราปลูกเอง กินเอง และวิธีการปลูกที่ไม่ต้องไปสัมผัสสารเคมี เป็นกำไรที่ได้กลับคืนมาอย่างเห็นได้ชัด

Key Takeaway:

โอกาส และแนวคิดในการทำธุรกิจ บางครั้งก็ไม่ต้องไปหาไอเดียที่ไหนไกลๆ ขอแค่มีแนวคิดปรับปรุงรูปแบบธุรกิจแบบเดิมๆ ให้ตอบโจทย์กับปัญหา และใส่ใจสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมรอบๆ มากขึ้น นักธุรกิจอย่างคุณ ก็สามารถหยิบเล็ก ผสมน้อยเพื่อสร้างธุรกิจแนวคิดใหม่ได้ อย่างการร่วมมือกันตั้งแต่ต้นน้ำ ซึ่งคือเกษตรชาวไร่ชาวสวนในท้องถิ่น ไปจนถึงปลายน้ำ อย่างร้านจำหน่ายอาหารออร์แกนิคอย่าง Patom เพื่อการเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกันอย่างยั่งยืน

 

 

Passiongen

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

9 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

1 year ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

1 year ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

1 year ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

2 years ago

This website uses cookies.