Categories: Blue Carbon Society

“แมงกะพรุน” ถ้าเข้าใจฉัน…เธอจะรักฉัน

2.7 / 5 ( 4 votes )

เมื่อกล่าวถึงการท่องเที่ยวในช่วงปลายปีแบบนี้ หลายท่านมึกจะนึกถึงแต่การขึ้นเหนือเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีความกล่าวหนึ่งที่ว่า “เที่ยวทะเลหน้าหนาว สวยไม่แพ้หน้าร้อนเลย” คำกล่าวนั้นเป็นเรื่องจริง หากท่านยังไม่เคย แนะนำว่าต้องหาเวลาสักครั้ง เพื่อไปพิสูจน์คำพูดดังกล่าว …. แต่การเที่ยวทะเลก็มีสิ่งหนึ่งที่ต้องพึงระวัง คือ สิ่งมีชีวิตหนึ่งที่ประชาชนหวาดกลัว และไม่กล้าเข้าไปใกล้หรือไปสัมผัส นั้นก็คือ “แมงกะพรุน”

แมงกะพรุน หรือ กะพรุน จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ซึ่งจัดอยู่ในไฟลัมไนดาเรีย (Phylum Cnidaria) และอยู่ในไฟลัมย่อยลงมาคือเมดูโซซัว (Subphylum Medusozoa) แมงกะพรุนเป็นสัตว์ที่มีลำตัวโปร่งใส ร่างกายส่วนใหญ่ประกอบด้วยเจลาติน ซึ่งลำตัวโปร่งใสจนสามารถมองเห็นเข้าไปถึงอวัยวะภายในได้ แมงกะพรุนเป็นสัตว์ที่ไม่มีทั้งสมองและหัวใจ ลำตัวด้านบนมีลักษณะคล้ายร่ม เรียกว่า เมดูซา (Medusa) ซึ่งศัพท์นี้ก็ใช้เป็นอีกชื่อหนึ่งของแมงกะพรุนด้วยเช่นกัน แมงกะพรุนเป็นสัตว์ที่ถือกำเนิดขึ้นมาบนโลกกว่า 600 ล้านปี โดยถือกำเนิดก่อนไดโนเสาร์ถึง 230 ล้านปี หรือก่อนมนุษย์ราว 500,000 ปี ถือได้ว่าแมงกะพรุนเป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการสูงสุด ซึ่งมีวงจรชีวิตที่ขยายพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ

การดำรงชีวิตของแมงกะพรุนนั้น แมงกะพรุนเมื่อได้ปฏิสนธิแล้ว หลังจากนั้นตัวอ่อนจะพัฒนาขึ้นมา มีลักษณะเหมือนขนหรือหนอนตัวเล็ก ๆ มีขนละเอียดรอบตัว เรียกว่า “ซิเลีย” จากนั้นจะพัฒนาไปเป็น “พลานูลา” จะคืบคลานไปหาที่ ๆ เหมาะสมเพื่อเกาะและเปลี่ยนรูปร่างกลายเป็น “โพลิป” ซึ่งมีสันฐานเหมือนดอกไม้ทะเลขนาดเล็ก คือ มีลำตัวที่เหมือนกับแจกันเกาะอยู่กับวัสดุต่าง ๆ ลำตัวหงายขึ้น โดยมีหนวดอยู่รอบปากด้านบน ซึ่งแตกต่างไปจากแมงกะพรุนตัวเต็มวัย เมื่อโพลิปได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และจำเพาะก็จะเกิดการแตกหน่อซ้อนกันเป็นชั้นๆ ซึ่งคือ แมงกะพรุนขนาดเล็กที่ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ จะหลุดและลอยไปตามกระแสน้ำ ที่เรียกว่า “อีฟีรา” หรือ “เมดูซา” มีลักษณะเหมือนแมงกะพรุนตัวเต็มวัย คือ ลำตัวคว่ำลง หนวดอยู่ด้านล่าง หากแมงกะพรุนในขั้นนี้ได้รับอาหารที่พอเพียง อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม ก็จะเจริญเติบโตกลายเป็นแมงกะพรุนตัวเต็มวัย เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ต่อไปก็จะเข้าสู่วงจรเหล่านี้ใหม่อีกครั้ง

นอกจากนี้แล้ว จากการศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนียพบว่า แมงกะพรุนเป็นสัตว์ที่มีการนอนหลับพักผ่อนเช่นเดียวกับสัตว์ชั้นสูงหรือสัตว์ที่มีโคร่งร่างซับซ้อนชนิดอื่น ๆ ด้วย ทั้งที่เป็นสัตว์ที่ไม่มีสมองหรือระบบประสาทส่วนกลาง แต่มีการพัฒนาของเซลล์ประสาท

โดยทั่วไปแมงกะพรุนที่พบในปัจจุบันมีประมาณ 250 ชนิด แต่ละชนิดจะมีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณตั้งแต่ 2-200 เซนติเมตร ซึ่งพวกที่มีขนาดเล็กมักจะมีสีสดและเข้ม เช่น สีชมพู ม่วง เขียว หรือใสไม่มีสี ส่วนพวกที่มีขนาดใหญ่มักจะมีสีฟ้า น้ำตาล หรือขาวขุ่น บางชนิดสามารถเรืองแสงได้ในที่มืด ชนิดที่สามารถนำมาประกอบอาหารได้ เช่น แมงกะพรุนหนัง แมงกะพรุนหอม แมงกะพรุนลอดช่อง พบในประเทศไทย และเขตน้ำตื้นเขตร้อนทั่วไป ชนิดที่มีพิษร้ายแรง เช่น แมงกะพรุนไฟ แมงกะพรุนสาหร่าย เป็นต้นแมงกะพรุนไฟสายพันธุ์ที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก มีชื่อว่า “Portuguese man-of-war” มีลักษณะเด่นคือ มีร่มที่มีลักษณะคล้ายหมวกของทหารเรือปอร์ตุเกสลอยอยู่บนน้ำ มีหนวดเป็นสายยาว ส่วนอีกชนิดที่มีอันตรายมาก เรียกว่า “Box Jellyfish” หรือ แมงกะพรุนกล่อง แมงกะพรุนชนิดนี้จะมีหนวดอยู่ตามมุมทั้งสี่ พิษของแมงกะพรุนทั้ง ๒ ชนิดหลังนี้มีพิษที่ร้ายแรงมากสามารถทำให้ผู้ถูกพิษหรือสัมผัสกับแมงกะพรุน 2 ชนิดนี้นั้น เสียชีวิตได้ ซึ่งแมงกะพรุนสามารถแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ คือ แมงกะพรุนที่ใช้บริโภคและแมงกะพรุนที่เป็นพิษ

1.แมงกะพรุนที่ใช้บริโภค

  • แมงกะพรุนลอดช่อง (LOBONEMASMITHII) ลำตัวใส สีฟ้า ขาว ชมพู หรือ ม่วงคราม ผิวนอกของร่มมีรยางค์คล้ายวุ้น เป็นเส้นตรงเหมือนเส้นลอดช่องสิงคโปร์ รยางค์ที่อยู่ตรงกลางใต้ร่มมีขนาดใหญ่ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางร่ม ที่พบว่านำมาใช้ทำแมงกะพรุนแห้งอยู่ระหว่าง ๒๐-๕๐ เซนติเมตร
  • แมงกะพรุนหนัง (RHOPILOMAHISPIDUM) หรือแมงกะพรุนส้มโอ ลำตัวสีขาว หรืออาจมีจุดประสีน้ำตาล ผิวหยาบขรุขระค่อนข้างแข็งคล้ายเปลือกส้มโอ
  • แมงกะพรุนหอม (MASTIGIAS SP.) ลำตัวสีน้ำตาลไหม้ ผิวนอกของร่มเป็นปุ่มนูนยาวคล้ายผิวมะกรูด

2. แมงกะพรุนที่เป็นพิษ

ในอ่าวไทยยังไม่มีการจำแนกชนิดที่แน่นอน แต่ที่รู้จักกันดี คือ แมงกะพรุนไฟ มีรูปร่างคล้ายแมงกะพรุนหนังแต่มีขนาดเล็กกว่า มีร่างกายส่วนที่เป็นร่มค่อนข้างแบนบริเวณขอบร่มบาง ส่วนที่คล้ายด้ามร่มเป็นสายพันกันไปมา และบางส่วนพองเป็นถุง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของร่มประมาณ 30 เซนติเมตร และมีสีน้ำตาลอมม่วง นอกจากนี้มีแมงกะพรุนสาหร่าย และแมงกะพรุนหวี ลักษณะที่คล้ายกันของพิษ คือ มีหนวดเป็นสายยาวต่อจากลำตัวหลายเส้น แต่ละเส้นยาวประมาณ 1.50 เมตร ถ้าหนวดนี้ขาดหลุดออกไปก็สามารถทำอันตรายกับผู้ที่ถูกสายนี้ได้ อีกทั้งเมื่อช่วงเดือนกันยายน 2560 มีการแจ้งเตือนนักท่องเที่ยวให้ระวังแมงกระพรุนไฟที่มีการแพร่กระจายบริเวณชายทะเลจังหวัดภูเก็ต ทั้งนี้หากผู้ใดสัมผัสโดนพิษของแมงกระพรุนไฟ จะทำให้เกิดอาการแสบร้อน และเป็นผื่น ได้แต่ไม่มีอันตรายถึงชีวิต วิธีบรรเทาอาการก็เพียงแค่ใช้น้ำส้มสายชูราดลงบริเวณที่โดนก็จะดีขึ้น

ทั้งนี้ประโยชน์ของแมงกะพรุนจากการศึกษาของนักสมุทรศาสตร์ของสถาบันเทคโนโลยี แคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ของแมงกะพรุน พบว่า รูปร่างทรงร่มของแมงกะพรุน มีบทบาทสำคัญในการผสมผสาน ปั่นกวนทั้งความร้อน สารอาหาร และสารเคมีให้แพร่กระจาย รักษาสิ่งแวดล้อมของมหาสมุทร และยังมีอิทธิพลกับการที่อุณหภูมิโลกสูงขึ้นอย่างหนัก อีกทั้งนักวิจัยได้ รายงานในวารสารวิชาการ “ธรรมชาติ” ของสหรัฐอเมริกาว่า สัตว์น้ำชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะมีขนาดและรูปทรงอย่างใด ล้วนแต่มีส่วนช่วยในการปั่นกวนมหาสมุทรด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ เห็นว่า แม้ว่าลมและกระแสน้ำ จะมีส่วนอยู่ในระดับใหญ่ ในการปั่นกวนน้ำทะเล แต่ก็ยังพบว่าบทบาทของสิ่งมีชีวิต อาจจะมีความสำคัญมากกว่า เพราะผลการวิจัยได้แสดงให้เห็นว่า ไม่ว่าจะสัตว์เล็กใหญ่ขนาดไหน ล้วนแต่มีส่วนร่วมกับการปั่นกวนมวลน้ำทั้งสิ้น อย่างเช่น แมงกะพรุน ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 1-10 ซม. เมื่อมันเคลื่อนตัวไป มันก็ได้ช่วยดึงให้น้ำรอบๆตัวตามมันไปด้วย เป็นต้น อีกทั้งแมงกะพรุนยังสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนชายฝั่งทะเล จากการจับแมงกะพรุนไปขายเพื่อนำไปประกอบอาหาร ซึ่งแมงกะพรุนดังกล่าวนี้จะถูกส่งออกไปขายยังตลาดต่างประเทศ เช่น ประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี ต่อไป

รวมไปถึงแมงกะพรุนยังก่อให้เกิดการท่องเที่ยวสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน อาทิ เทศกาลชมแมงกะพรุนหลากสี ของจังหวัดตราด ซึ่งเป็นแหล่งการกระจายแมงกะพรุนถ้วยจำนวนมากมายและหลากสีสัน ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้นทุกปีในช่วงปลายฝนต้นหนาว หรือระหว่างเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนของทุกปี โดยจะมีแมงกะพรุนถ้วยนับพันตัว หลากสีสัน ลอยอยู่ในทะเลบริเวณหาดราชการุณย์และบริเวณหาดต่าง ๆ ซึ่งก่อให้เกิดรายได้ โดยชาวบ้านจะนำนักท่องเที่ยวนั่งเรือชมความงามของแมงกะพรุนที่กระจายตัวอยู่ทั่วทุกบริเวณของทะเล โดยมีค่าใช้จ่ายท่านละ 100 บาท ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้เป็นอย่างดี

ดังที่กล่าวไปข้างต้นนั้น แมงกะพรุนไม่ได้เป็นสิ่งมีชีวิตที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์เพียงอย่างเดียว แต่แมงกะพรุนบางชนิดยังเป็นห่วงโซ่อาหารที่สำคัญของระบบนิเวศทางทะเล รวมไปถึงสามารถก่อให้เกิดรายได้แก่ชุมชนริมชายฝั่งทะเลจากการท่องเที่ยวหรือจากการนำมาจำหน่ายเพื่อนำไปประกอบอาหาร เกิดเป็นอาชีพเพื่อเลี้ยงดูครอบครัว ซึ่งการสร้างการรับรู้และสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนคนไทยต่อองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับแมงกะพรุนย่อมเป็นสิ่งสำคัญ ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมโลกกับมนุษย์ อีกทั้งไม่ทำร้ายแมงกะพรุนเพียงแค่มนุษย์เห็นว่าเป็นอันตราย แต่ถ้ามนุษย์เรียนรู้และเข้าใจ เชื่อได้ว่าเราจะรักและเข้าใจวิถีชีวิตของเพื่อนร่วมโลกที่เราเรียกสิ่งมีชีวิตนี้ว่า “แมงกะพรุน”

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Share
Published by
อภินัทธ์ เชงสันติสุข

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.