Blue Carbon Society ปลุกพลังสังคมร่วมปฏิบัติการลดขยะปกป้องท้องทะเลกับกิจกรรม Blue Plogging

บลูคาร์บอนโซไซตี้ (Blue Carbon Society) ชวนพนักงานกลุ่มบริษัทดีที เชลล์ฮัท มูลนิธิพุทธรักษา และศิลปินดารา พร้อมสื่อมวลชนกว่า 300 คน วิ่งเก็บขยะ – Blue Plogging ณ สวนศรีนครเขื่อนขันธ์ สมุทรปราการ (คุ้งบางกะเจ้า) ชวนสังคมตระหนักปัญหาขยะทะเลที่มาจากขยะบกโดยเฉพาะขยะพลาสติกซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง เมื่อ 25 พฤษภาคม 2561

จุดเริ่มต้นปลุกพลังสังคม

ดร.ชวัลวัฒน์ และคุณทิพพาภรณ์ อริยวรารมย์ ผู้ร่วมก่อตั้งสมาคม Blue Carbon Society ระบุถึงสาเหตุที่เลือกจัดกิจกรรม Blue Plogging ณ สวนศรีนครเขื่อนขันธ์ สมุทรปราการ หรือคุ้งบางกะเจ้า ว่าเป็นพื้นที่สีเขียวอยู่ใกล้กรุงเทพฯ และได้รับการยกย่องจากนิตยสาร Time ฉบับ The Best of Asia 2006 ให้เป็น The Best Urban Oasis of Asia หรือเป็นโอเอซิสเมืองที่ดีที่สุดในเอเชียจึงเป็นแหล่งดึงดูดให้ท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศเข้ามาสัมผัสอากาศที่บริสุทธิ์แห่งนี้ด้วยเหตุนี้จำนวนนักท่องเที่ยวจึงเพิ่มมากขึ้นปริมาณขยะก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

สอดคล้องกับข้อมูลองค์การบริหารส่วนตำบลบางกะเจ้าที่ระบุว่าพัฒนาตลาดบางน้ำผึ้งเมื่อปี พ.ศ.2547 พบว่าปริมาณขยะเฉลี่ยอยู่ที่ 8,000 กิโลกรัมต่อวันเพิ่มขึ้น 1 เท่าจากเดิมปริมาณขยะเฉลี่ยอยู่ที่ 4,500 กิโลกรัมต่อวันซึ่งสัดส่วนขยะที่พบมากที่สุด ได้แก่ ถุงพลาสติก 40% , ขยะอินทรีย์ 26% , ขยะ รีไซเคิล (แก้ว ,กล่องนม) 24% , ขยะมูลฝอยทั่วไป 8 % และขยะอันตราย 2 % จึงถือว่ามีความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อความสมดุลทางธรรมชาติ และระบบนิเวศทางทะเล และชายฝั่ง

“หากคนไทยทั้งประเทศกว่า 60 ล้านคน ช่วยกันวิ่งเก็บขยะ คาดว่าจะช่วยลดปริมาณขยะได้มากถึง 120 ล้านกิโลกรัม” – ดร.ชวัลวัฒน์

คลิกเลย! แนะนำบทความน่าอ่าน

พลังที่ยิ่งใหญ่คือพลังสังคมที่ลุกขึ้นมาทำสิ่งดี ๆ ให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อมการปกป้องท้องทะเลฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งเป็นพันธกิจที่สมาคม Blue Carbon Society เชิญชวนทุกคนให้หันมาใส่ใจให้ความสำคัญกับการลดปริมาณขยะบกไม่ให้ไหลลงสู่ทะเลเพื่อร่วมปกป้องท้องทะเล และชายฝั่งอย่างยั่งยืน

แนวคิดผู้นำเพื่อความสำเร็จ

Blue Ploging จะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมขององค์กร และยังเป็นสื่อกลางที่จะสร้างจิตสำนึกให้กับคนในประเทศมากยิ่งขึ้นเพื่อที่จะช่วยลดปริมาณขยะบกไม่ให้ไหลลงสู่ทะเล ฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเล และชายฝั่ง ซึ่งการแก้ไขปัญหาดังกล่าวมีหลายวิธี เช่น การแยกขยะ , การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก และการรีไซเคิลซึ่งทุกคนสามารถทำได้ด้วยตนเองหากทุกคนมีจิตสำนึกที่ดีร่วมกันและช่วยลดปริมาณขยะลงคนละเล็กน้อยเชื่อว่าจะส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมทั่วโลก

อ้างอิงข้อมูล: khaosod

Passion in this story