Categories: Blue Carbon Society

“ป่าของไทย” ความหลากหลาย – ที่ไม่แพ้ชาติใดในโลก

5 / 5 ( 1 vote )

ประเทศไทย…ถือเป็นหนึ่งในโลกที่มีควายั่งยืนด้านทรัพยากรธรรมชาติที่ค่อนข้างหลากหลาย ทั้งเรื่องภูมิศาสตร์และภูมิประเทศส่งผลให้มีความอุดมสมบูรณ์ด้านทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้มาจากป่าไม้หลากหลายชนิดที่กระจายอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศ โดยประเทศไทยจะมีป่าไม้หลักอยู่ 2 ประเภทหลัก ๆ คือ

  1. ป่าผลัดใบ (Deciduous Forest)ระกอบด้วย
  • ป่าเบญจพรรณ (Mixed Deciduous Forest) พบทั่วประเทศตามที่ราบและเนินเขา ฝนตกไม่มากนัก มีฤดูแล้งยาวนาน พรรณไม้ที่พบมีวงปีเด่นชัดที่พบมาก ได้แก่ สัก แดง ประดู่ มะค่าโมง พยุง ชิงชัน พี้จั่น ฯลฯ พืชชั้นล่าง คือ ไผ่หลายชนิด
  • ป่าเต็งรัง (Dry Deciduous Dipterocarp Forest) พบทั่วไปเช่นเดียวกับป่าเบญจพรรณ แต่แห้งแล้งกว่าเนื่องจากดินอุ้มน้ำน้อย พรรณไม้มักทนแล้งและทนไฟ เช่น เต็ง รัง เหียง พลวง กราด มะขามป้อม มะกอก ผักหวาน พืชชั้นล่างเป็นหญ้า ไผ่เพ็ก ปรง กระเจียว เปราะ
  • ป่าหญ้า ( Grassland Forest) ในประเทศไทยป่าหญ้าเกิดภายหลังเมื่อป่าธรรมชาติอื่น ๆ ถูกทำลายดินมีสภาพเสื่อมโทรม หญ้าที่พบมีหญ้าคา แฝก อ้อ แขม มีไม้ต้นบ้าง เช่น ติ้ว แต้ สีเสียดแก่น ซึ่งทนแล้งและทนไฟ
  1. ป่าไม่ผลัดใบ (Evergreen Forest) ประกอบด้วย

–     ป่าดิบชื้น (Tropical Rain Forest) มีอยู่ทั่วไปในทุกภาคของประเทศ และมากที่สุดแถบชายฝั่งภาคตะวันออก และภาคใต้ กระจัดกระจาย ตามความสูงตั้งแต่ 0 – 100 เมตรจากระดับน้ำทะเลซึ่งมีปริมาณน้ำฝนตกมากกว่าภาคอื่น ๆ ลักษณะทั่วไปมักเป็นป่ารกทึบประกอบด้วยพันธุ์ไม้มากมายหลายร้อยชนิด ต้นไม้ส่วนใหญ่เป็นวงศ์ยางไม้ตะเคียน กะบาก อบเชย จำปาป่า ส่วนที่เป็นพืชชั้นล่างจะเป็นพวกปาล์ม ไผ่ ระกำ หวาย บุกขอน เฟิร์น มอส กล้วยไม้ป่า และเถาวัลย์ชนิดต่าง ๆ

–     ป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest) มีอยู่ทั่วไปตามภาคต่าง ๆ ของประเทศตามที่ราบเรียบหรือตามหุบเขา มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 500 เมตร และมีปริมาณน้ำฝนระหว่าง 1,000-1,500 มิลลิเมตร พันธุ์ไม้ที่สำคัญ เช่น ยางแดง มะค่าโมง เป็นต้น พื้นที่ป่าชั้นล่างจะไม่หนาแน่นและค่อนข้างโล่งเตียน

  • ป่าดิบเขา (Hill Evergreen Forest) เป็นป่าที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล ตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไปกปส่วนใหญ่อยู่บนเทือกเขาสูงทางภาคเหนือ บางแห่งในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือฑพพพพพพ เช่น อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง และอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว มีปริมาณน้ำฝนระหว่าง 1,000 ถึง 2,000 เมตร พืชที่สำคัญได้แก่ไม้วงศ์ก่อ เช่น ก่อสีเสียด ก่อตาหมูน้อย อบเชย มีป่าเบญจพรรณด้วย เป็นต้น บางทีก็มีสนเขาขึ้นปะปนอยู่ด้วย ส่วนไม้พื้นล่างเป็นพวกเฟิร์น กล้วยไม้ดิน มอสต่าง ๆ ป่าชนิดนี้มักอยู่บริเวณต้นน้ำลำธาร
  • ป่าสน (Coniferous Forest) มีกระจายอยู่เป็นหย่อม ๆ ตามภาคเหนือ มีอยู่ตามที่เขาและที่ราบบางแห่งที่มีระดับสูงจากน้ำทะเลตั้งแต่ 200 เมตรขึ้นไป บางครั้งพบขึ้นปนอยู่กับป่าแดงและป่าดิบเขา ป่าสนมักขึ้นในที่ดินไม่อุดมสมบูรณ์ เช่น สันเขาที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ประเทศไทยมีสนเขาเพียง 2 ชนิดเท่านั้น คือสนสองใบและสนสามใบ และพวกก่อต่าง ๆ ขึ้นปะปนอยู่ พืชชั้นล่างมีพวกหญ้าต่าง ๆ (วนานันทอุทยาน, 2561)
  • ป่าพรุ (Swamp Forest, Peat Swamp Forest) เป็นสังคมป่าที่อยู่ถัดจากบริเวณสังคมป่าชายเลน โดยอาจจะเป็นพื้นที่ลุ่มที่มีการทับถมของซากพืชและอินทรียวัตถุที่ไม่สลายตัว และมีน้ำท่วมขังหรือชื้นแฉะตลอดปี

และยังมีป่าอีกประเภทที่สำคัญต่อระบบนิเวศอย่างมาก โดยเฉพาะกับระบบนิเวศทางทะเล นั่นก็คือ ป่าชายเลน  (Mangrove Forest) หรือ ป่าโกงกาง  ชื่อนี้เราจะได้ยินมากขึ้นในช่วง 10 -20 ปีที่ผ่านมา เพราะเป็นป่าที่เกี่ยวกับความยั่งยืนโดยตรงด้วยคุณสมบัติแบบป่าชายฝั่งทะเลมีดินโคลนและน้ำทะเลท่วมถึง มีไม้ที่สำคัญจึงไม่ต้องแปลกใจที่พื้นที่แห่งนี้จะเป็นแหล่งอาหารที่สมบูรณ์ของสัตว์ทะเลชนิดต่าง ๆ มากมาย

ประเทศไทย โชดดีที่มีความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติจากป่าประเภทต่าง ๆ เกิดเป็นความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมที่หลาย ๆ ประเทศในโลกไม่มี… คำถาม คือ เราจะรักษาความยั่งยืนของสิ่งที่เรามีได้อีกนานแค่ไหนเท่านั้นเอง
ที่มา
อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.