ประเทศไทย…ถือเป็นหนึ่งในโลกที่มีควายั่งยืนด้านทรัพยากรธรรมชาติที่ค่อนข้างหลากหลาย ทั้งเรื่องภูมิศาสตร์และภูมิประเทศส่งผลให้มีความอุดมสมบูรณ์ด้านทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้มาจากป่าไม้หลากหลายชนิดที่กระจายอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศ โดยประเทศไทยจะมีป่าไม้หลักอยู่ 2 ประเภทหลัก ๆ คือ

  1. ป่าผลัดใบ (Deciduous Forest)ระกอบด้วย
  • ป่าเบญจพรรณ (Mixed Deciduous Forest) พบทั่วประเทศตามที่ราบและเนินเขา ฝนตกไม่มากนัก มีฤดูแล้งยาวนาน พรรณไม้ที่พบมีวงปีเด่นชัดที่พบมาก ได้แก่ สัก แดง ประดู่ มะค่าโมง พยุง ชิงชัน พี้จั่น ฯลฯ พืชชั้นล่าง คือ ไผ่หลายชนิด
  • ป่าเต็งรัง (Dry Deciduous Dipterocarp Forest) พบทั่วไปเช่นเดียวกับป่าเบญจพรรณ แต่แห้งแล้งกว่าเนื่องจากดินอุ้มน้ำน้อย พรรณไม้มักทนแล้งและทนไฟ เช่น เต็ง รัง เหียง พลวง กราด มะขามป้อม มะกอก ผักหวาน พืชชั้นล่างเป็นหญ้า ไผ่เพ็ก ปรง กระเจียว เปราะ
  • ป่าหญ้า ( Grassland Forest) ในประเทศไทยป่าหญ้าเกิดภายหลังเมื่อป่าธรรมชาติอื่น ๆ ถูกทำลายดินมีสภาพเสื่อมโทรม หญ้าที่พบมีหญ้าคา แฝก อ้อ แขม มีไม้ต้นบ้าง เช่น ติ้ว แต้ สีเสียดแก่น ซึ่งทนแล้งและทนไฟ
  1. ป่าไม่ผลัดใบ (Evergreen Forest) ประกอบด้วย

–     ป่าดิบชื้น (Tropical Rain Forest) มีอยู่ทั่วไปในทุกภาคของประเทศ และมากที่สุดแถบชายฝั่งภาคตะวันออก และภาคใต้ กระจัดกระจาย ตามความสูงตั้งแต่ 0 – 100 เมตรจากระดับน้ำทะเลซึ่งมีปริมาณน้ำฝนตกมากกว่าภาคอื่น ๆ ลักษณะทั่วไปมักเป็นป่ารกทึบประกอบด้วยพันธุ์ไม้มากมายหลายร้อยชนิด ต้นไม้ส่วนใหญ่เป็นวงศ์ยางไม้ตะเคียน กะบาก อบเชย จำปาป่า ส่วนที่เป็นพืชชั้นล่างจะเป็นพวกปาล์ม ไผ่ ระกำ หวาย บุกขอน เฟิร์น มอส กล้วยไม้ป่า และเถาวัลย์ชนิดต่าง ๆ

–     ป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest) มีอยู่ทั่วไปตามภาคต่าง ๆ ของประเทศตามที่ราบเรียบหรือตามหุบเขา มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 500 เมตร และมีปริมาณน้ำฝนระหว่าง 1,000-1,500 มิลลิเมตร พันธุ์ไม้ที่สำคัญ เช่น ยางแดง มะค่าโมง เป็นต้น พื้นที่ป่าชั้นล่างจะไม่หนาแน่นและค่อนข้างโล่งเตียน

  • ป่าดิบเขา (Hill Evergreen Forest) เป็นป่าที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล ตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไปกปส่วนใหญ่อยู่บนเทือกเขาสูงทางภาคเหนือ บางแห่งในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือฑพพพพพพ เช่น อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง และอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว มีปริมาณน้ำฝนระหว่าง 1,000 ถึง 2,000 เมตร พืชที่สำคัญได้แก่ไม้วงศ์ก่อ เช่น ก่อสีเสียด ก่อตาหมูน้อย อบเชย มีป่าเบญจพรรณด้วย เป็นต้น บางทีก็มีสนเขาขึ้นปะปนอยู่ด้วย ส่วนไม้พื้นล่างเป็นพวกเฟิร์น กล้วยไม้ดิน มอสต่าง ๆ ป่าชนิดนี้มักอยู่บริเวณต้นน้ำลำธาร
  • ป่าสน (Coniferous Forest) มีกระจายอยู่เป็นหย่อม ๆ ตามภาคเหนือ มีอยู่ตามที่เขาและที่ราบบางแห่งที่มีระดับสูงจากน้ำทะเลตั้งแต่ 200 เมตรขึ้นไป บางครั้งพบขึ้นปนอยู่กับป่าแดงและป่าดิบเขา ป่าสนมักขึ้นในที่ดินไม่อุดมสมบูรณ์ เช่น สันเขาที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ประเทศไทยมีสนเขาเพียง 2 ชนิดเท่านั้น คือสนสองใบและสนสามใบ และพวกก่อต่าง ๆ ขึ้นปะปนอยู่ พืชชั้นล่างมีพวกหญ้าต่าง ๆ (วนานันทอุทยาน, 2561)
  • ป่าพรุ (Swamp Forest, Peat Swamp Forest) เป็นสังคมป่าที่อยู่ถัดจากบริเวณสังคมป่าชายเลน โดยอาจจะเป็นพื้นที่ลุ่มที่มีการทับถมของซากพืชและอินทรียวัตถุที่ไม่สลายตัว และมีน้ำท่วมขังหรือชื้นแฉะตลอดปี

และยังมีป่าอีกประเภทที่สำคัญต่อระบบนิเวศอย่างมาก โดยเฉพาะกับระบบนิเวศทางทะเล นั่นก็คือ ป่าชายเลน  (Mangrove Forest) หรือ ป่าโกงกาง  ชื่อนี้เราจะได้ยินมากขึ้นในช่วง 10 -20 ปีที่ผ่านมา เพราะเป็นป่าที่เกี่ยวกับความยั่งยืนโดยตรงด้วยคุณสมบัติแบบป่าชายฝั่งทะเลมีดินโคลนและน้ำทะเลท่วมถึง มีไม้ที่สำคัญจึงไม่ต้องแปลกใจที่พื้นที่แห่งนี้จะเป็นแหล่งอาหารที่สมบูรณ์ของสัตว์ทะเลชนิดต่าง ๆ มากมาย

ประเทศไทย โชดดีที่มีความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติจากป่าประเภทต่าง ๆ เกิดเป็นความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมที่หลาย ๆ ประเทศในโลกไม่มี… คำถาม คือ เราจะรักษาความยั่งยืนของสิ่งที่เรามีได้อีกนานแค่ไหนเท่านั้นเอง
ที่มา

Passion in this story