ปัจจุบัน… ความก้าวหน้าทำให้มนุษย์ทราบถึงผลเสียของที่สิ่งมนุษย์เราสร้าง หรือ จากผลลัพธ์ของกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ โดย “คาร์บอนไดออกไซด์” (Carbon Dioxide) ดูจะกลายเป็นสิ่งที่ใครๆ ก็ไม่ต้องการ หลายคนตั้งข้อรังเกียจก๊าซไร้สีชนิดนี้ แม้จะยังมีเรื่องราวอีกมากมายเกี่ยวกับก๊าซนี้ที่เรายังยังไม่รู้…
“คาร์บอนไดออกไซด์” เป็นสารประกอบของคาร์บอนและออกซิเจน โดย คาร์บอน(1) (Carbon) เป็นธาตุสำคัญของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด และมีความสำคัญอย่างมากต่อระบบนิเวศ โดยสามารถพบได้ทุกแห่งในธรรมชาติ ซึ่งส่วนใหญ่ปรากฏในอัญรูปหรือรูปแบบที่ต่างๆ กันของธาตุชนิดเดียวกัน เช่น แกรไฟต์ และ เพชร รวมถึงในรูปสารประกอบคาร์บอน ทั้งที่เป็นก๊าซ ของแข็ง และของเหลว
คาร์บอนถูกแลกเปลี่ยนจากระบบหนึ่งไปสู่ระบบหนึ่งตลอดเวลาระหว่างสิ่งมีชีวิต พื้นดิน น้ำ และบรรยากาศของโลก ด้วยกระบวนการเคมีและการย่อยสลายของจุลินทรีย์ กลายเป็นองค์ประกอบในอากาศ แร่ธาตุ น้ำ พืชและสัตว์ต่างๆ วัฏจักรชีวธรณีเคมีนี้ เรียกว่า “วัฏจักรคาร์บอน (Carbon Cycle)”
“วัฏจักรคาร์บอน” ทำงานอย่างไร ?
คาร์บอน วนเวียนอยู่ในชีวิตประจำวันของเรา คาร์บอนที่รวมกับออกซิเจน จะกลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเข้าสู่ชั้นบรรยากาศจากการหายใจของสิ่งมีชีวิต จากการเผาไหม้ และจากการย่อยสลายซากของสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชบกและพืชน้ำ ใช้คาร์บอนไดออกไซด์และพลังงานแสงแดด สร้างคาร์โบไฮเดรตเพื่อการเจริญเติบโต โดยคาร์บอนไดออกไซด์จะละลายลงสู่ผืนน้ำด้วยฝนและกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช
สัตว์ทุกชนิดทั้งบนบกและในน้ำ รวมถึงคน ต่างกินพืชและสัตว์เป็นอาหาร ส่งผ่านสารประกอบคาร์บอนจากพืชผ่านห่วงโซ่อาหาร คาร์บอนที่เข้าสู่ร่างกายสัตว์และคนที่กินพืชและสัตว์เป็นอาหาร จะเปลี่ยนสภาพเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ ผ่านกระบวนการหายใจของสัตว์นั้นๆ เมื่อพืชและสัตว์ตาย คาร์บอนในซากพืชซากสัตว์ที่ถูกทำลายโดยการเผาไหม้ หรือถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ในดิน จะเปลี่ยนสภาพเป็นคาร์บอนไดออกไซด์
ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ประมาณกว่า 300 ล้านปีที่ผ่านมา ระหว่างเกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวโลก เช่น แผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิด ซากพืชซากสัตว์อยู่ภายใต้สภาวะแวดล้อมที่ขัดขวางกระบวนการย่อยสลายตามปกติ จึงตกตะกอนทับถมเป็นชั้นๆ อยู่ใต้ดินนานหลายล้านปี แล้วกลายสภาพเป็นเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์หรือเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และแก๊สธรรมชาติ ซึ่งมีองค์ประกอบหลักเป็นธาตุคาร์บอน เมื่อมนุษย์เผาไหม้เชื้อเพลิงเหล่านี้มาใช้เป็นพลังงาน คาร์บอนในเชื้อเพลิงก็กลายเป็นคาร์บอนออกไซด์ กลับคืนสู่บรรยากาศอีกครั้ง
“คาร์บอนไดออกไซด์” ตัวร้าย หรือ ฮีโร่ ?
ข้อมูลต่างๆ ที่เราเคยได้รับ ตอกย้ำอยู่เสมอว่าคาร์บอนไดออกไซด์สร้างผลเสียแก่โลกมหาศาล จนเราแทบจำประโยชน์ของมันไม่ได้ แต่ประโยชน์ที่เรารู้กันดี เช่น คาร์บอนไดออกไซด์จำเป็นต่อการสังเคราะห์แสงเพื่อสร้างอาหารของพืช ซึ่งจะเป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ต่อไป
ในภาคอุตสาหกรรมมีการนำคาร์บอนไดออกไซด์มาใช้ประโยชน์หลายอย่าง(2) เช่น ใช้ผลิตน้ำอัดลม ใช้บรรจุในถังดับเพลิง ส่วนคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็งเรียกว่า น้ำแข็งแห้ง (Dry Ice) ก็สามารถใช้เพื่อถนอมอาหาร หรือเป็นวัตถุดิบในการทำฝนเทียมได้
นอกจากนี้ คาร์บอนไดออกไซด์ยังถูกนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ (3) อาทิ ในการผ่าตัดที่มีการเปิดแผลขนาดเล็ก แพทย์จะใช้เพื่อขยายช่องท้อง หรือช่องอกให้มีช่องว่างมากพอสำหรับสอดเครื่องมือผ่าตัด หรือ ใช้ระหว่างและหลังจากการดมยาสลบ ส่วนก๊าซผสมระหว่างคาร์บอนไดออกไซด์กับออกซิเจน ช่วยกระตุ้นการหายใจของผุ้ป่วยโรคทางเดินหายใจ
แต่สิ่งใดก็ตามถ้ามีมากเกินไป หรือน้อยเกินไป ย่อมเกิดผลกระทบด้านลบตามมา วันนี้โลกของเรามีปริมาณ “คาร์บอนไดออกไซด์” มากเกินไป จนทำให้สมดุลการหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง และนำไปสู่ภาวะโลกร้อน
ทำอย่างไรให้โลกของเรากลับมามีสมดุล ?
โลกมีมหาสมุทรและระบบนิเวศทางทะเลโดยเฉพาะระบบนิเวศชายฝั่งเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนแหล่งใหญ่ เรียกว่า “Blue Carbon” ซึ่งช่วยควบคุมปริมาณคาร์บอนที่มีการแลกเปลี่ยนกันอยู่เสมอในวัฎจักรคาร์บอน
ถึงเวลาที่เราควรหันมาใส่ใจ ฟื้นฟู ดูแลรักษาท้องทะเลและระบบนิเวศทางทะเล พร้อมๆ กับปรับพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์โดยไม่จำเป็น เพื่อให้สิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลกได้อยู่ร่วมกันอย่างสมดุลใน Blue Carbon Society
อยากทราบเรื่อง Blue Carbon ให้มากกว่านี้ ง่ายๆ เพียงคลิก bit.ly/bcs-fb-web
ที่มา
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.