Categories: Blue Carbon Society

“ประเสริฐสุข จามรมาน” กับ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ยับยั้งโลกร้อน

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เชื่อว่าหลายท่านจะคุ้นเคยกับคำว่า “โลกร้อน” และ “ปรากฏการณ์ก๊าซเรือนกระจก” เป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นต้นเหตุสำคัญในการเกิดภัยธรรมชาติ อาทิ แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด น้ำท่วมใหญ่ คลื่นความร้อนที่รุนแรงและบ่อยครั้งขึ้นทุกปี

ล่าสุด คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change หรือ IPCC) ซึ่งทำงานในส่วนหนึ่งของสหประชาชาติ  ได้ให้ข้อมูลว่า ทั่วโลกต้องช่วยกันยับยั้งไม่ให้อุณหภูมิโลกโดยเฉลี่ยสูงเกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียส มิฉะนั้นสถานการณ์ภัยธรรมชาติจะยิ่งรุนแรงขึ้นจนเกินเยียวยา

“เรา” ในฐานะประชาชนตัวเล็กๆ บนโลกใบนี้ จะมีส่วนช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และลดภาวะโลกร้อนได้หรือไม่ และจะช่วยได้อย่างไร ทีมงาน “Passiongen” จะพาไปไขคำตอบกับ คุณประเสริฐสุข จามรมาน ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.)

 

ก๊าซเรือนกระจกมาจากไหน

ก๊าซเรือนกระจก เกิดจากฝีมือและกิจกรรมของมนุษย์ทั้งสิ้น ทั้งจากการใช้พลังงานที่เราคุ้นเคยกันในชีวิตประจำวัน ได้แก่ พลังงานที่เรานำมาใช้ผลิตไฟฟ้า ผลิตความร้อน และการเดินทาง ซึ่งกิจกรรมที่กล่าวมา มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจกที่มีความสำคัญ

 

สถานการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกในปัจจุบัน

สถานการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลกรุนแรงขึ้นทุกขณะ เพราะทุกประเทศมีการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง มีความจำเป็นในการใช้พลังงานรูปแบบต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ที่ดิน โดยการตัดไม้ทำลายป่ามาสร้างเป็นเมือง สร้างโรงงานอุตสาหกรรม สร้างที่อยู่อาศัย ทำให้จำนวนต้นไม้ที่จะมาดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดน้อยลงไปด้วย

และเมื่อเร็วๆ นี้ หลายคนอาจจะได้เห็นข่าวจากองค์การสหประชาชาติและจากนักวิทยาศาสตร์หลายหน่วยงาน แสดงให้เห็นว่า หากเราไม่สามารถควบคุมและปล่อยให้โลกมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นเกิน 1.5 – 2 องศาภายในปี 2643 ก็จะเกิดสถานการณ์รุนแรงจนเราไม่สามารถจะแก้ไขได้ ค่าใช้จ่ายและเงินลงทุนที่เราจะเข้าไปช่วยปรับปรุงและแก้ไขสถานการณ์ก็จะเพิ่มมากขึ้น สถานะความเป็นอยู่ของประชาชนก็จะลำบาก

ในส่วนของโรคภัยที่เคยสูญหายไปก็จะกลับมาใหม่อย่างเช่น โรคมาลาเรีย ไข้เลือดออก ก็กลับมารุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ก็จะลดน้อยลงเรื่อยๆ ภาวะแห้งแล้งและการขาดแคลนน้ำจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หรือภาพคลื่นความร้อนที่ไม่เคยเกิดขึ้นในหลายๆ เมืองก็เกิดขึ้น ทำให้ประชาชนเสียชีวิต โดยเฉพาะผู้สูงอายุ

 

ประเทศไทยกับการจัดการปัญหาก๊าซเรือนกระจก

ปัจจุบัน ประเทศไทยมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ  0.9-1%  ลำดับที่ 20 ของโลก ซึ่งเรามีนโยบายและเป้าหมายชัดเจนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 24 ล้านตันภายในปี 2563 และเป็นที่น่ายินดีว่า จากการติดตามประเมินผล พบว่าในปี 2558-59 ประเทศไทยสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 45 ล้านตันจากภาคคมนาคมและภาคขนส่ง สูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้

แต่เรามีเป้าหมายสำคัญกว่าคือ ประเทศไทยจะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 111 ล้านตัน  ในปี 2573 ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้ประกาศไว้ในที่ประชุมสมัชชารัฐภาคี ของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 21 เพื่อควบคุมอุณหภูมิของโลกไม่ให้เพิ่มเกิน 2 องศา

 

ภาคอุตสาหกรรมไทยไม่ใช่ผู้ร้าย

ต้องยอมรับว่าในประเทศไทย ผู้ที่มีบทบาทในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากคือ ภาคเอกชนและภาคอุตสาหกรรม ซึ่งอย่ามองว่าเขาเป็นผู้ร้าย แต่เพราะความจำเป็นในการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมยังมีอยู่ ที่สำคัญคือ ประเทศไทยไม่ได้มีกฎหมายบังคับ เราเชิญชวนให้ทุกคนช่วยกันและทำด้วยความสมัครใจ ซึ่งเป็นที่น่ายินดีว่าในหลายๆ หน่วยงานเต็มใจร่วมลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ

เรามีกิจกรรมที่ได้รับการยอมรับคือ โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคความสมัครใจ (Thailand Voluntary Emission Reduction : T-VER) เป็นโครงการที่ อบก. พัฒนาขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศโดยความสมัครใจ และสามารถนำปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้น ที่เรียกว่าคาร์บอนเครดิตไปขายในตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจในประเทศได้ โดยปัจจุบันมีหน่วยงานต่างๆ รวม 200 แห่งเข้าร่วมโครงการฯ และสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึงปีละ 3 ล้านตันคาร์บอนฯ

 

เราจะมีส่วนช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างไร

ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า ก๊าซเรือนกระจกเกิดจากกิจกรรมการใช้พลังงานในชีวิตประจำวันของเรา ดังนั้นการลดการใช้พลังงาน ก็จะมีส่วนช่วยลดการเกิดก๊าซเรือนกระจกได้

เริ่มต้นง่ายๆ จากตัวเราเอง ตื่นนอนตอนเช้า อาบน้ำแปรงฟัน เราก็ควรประหยัดน้ำ เพราะในกระบวนการผลิตน้ำประปา มีการใช้พลังงาน การใช้ชีวิตประจำวันของเรา ผูกพันกับการใช้พลังงานมาก การใช้โทรศัพท์มือถือ อินเตอร์เน็ท เป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้ พวกนี้จะใช้ได้ ก็ต้องมีพลังงาน มีไฟฟ้า ถ้าเราช่วยกันและใช้เท่าที่จำเป็น ก็จะช่วยลดการใช้พลังงานและช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้

นอกจากนี้ เราสามารถลดการเกิดก๊าซเรือนกระจกอย่างง่ายๆ ได้อีกทาง ด้วยการลดการสร้างขยะ และคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง เนื่องจากพบว่าขยะและของเสียที่ได้รับการจัดการไม่ถูกวิธีและไม่สมบูรณ์ จะมีการปล่อยก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นส่วนประกอบของก๊าซเรือนกระจก ดังนั้น การลดการสร้างขยะเพิ่ม และการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางจึงมีความสำคัญ เพราะนอกจากจะช่วยลดปัญหาขยะซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศในปัจจุบัน ยังช่วยลดการเกิดโลกร้อนและก๊าซเรือนกระจกได้อีกด้วย

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.