Categories: Blue Carbon Society

Global Warming วิกฤตแน่! – หากน้ำทะเลเพิ่มสูง

5 / 5 ( 1 vote )

“เป็นไปได้หรือไม่…ว่าน้ำจะท่วมโลก?” นี่คือคำถามที่มักเกิดขึ้นในใจเราเสมอเวลาที่เราออกมาจากโรงภาพยนตร์หลังสนุกสนานกับเนื้อเรื่องของการผจญภัยของพระเอก-นางเอกที่ต้องเอาชีวิตรอดจากมหันตภัยน้ำท่วมโลกดังกล่าวซึ่งบนพื้นฐานความเป็นจริง…ปริมาณน้ำของโลกที่เพิ่มขึ้นเกิดจากการละลายของธารน้ำแข็งบนพื้นดินและการขยายตัวของผิวน้ำทะเลที่อุ่นขึ้น

เป็นผลกระทบของภาวะโลกร้อน (Global Warming)

การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลในแต่ละพื้นที่แตกต่างกันไปด้วยปัจจัยหลายอย่าง เช่น แรงโน้มถ่วงการยกตัว และทรุดตัวของแผ่นดินข้อมูลที่ปรากฏในเว็บไซต์ขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ในปี พ.ศ. 2561 ระบุว่า ระดับน้ำทะเลเฉลี่ยของโลกในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาเพิ่มสูงขึ้นระหว่าง 10-25 เซนติเมตร และคาดการณ์กันว่าอุณหภูมิของโลกที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นอีกประมาณ 50 เซนติเมตรในปี พ.ศ. 2643

ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นอาจทำให้เกิดน้ำท่วมใกล้ชายฝั่ง หรือเกิดพายุรุนแรงจากสภาพอากาศแปรปรวน จนสร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศชายฝั่งที่มีคุณค่าอย่างป่าชายเลน หมู่ปะการัง และหญ้าทะเล ส่วนชายฝั่งก็ถูกกัดเซาะมากขึ้น

จะทำอย่างไร เพื่อไม่ให้โลกร้อนไปกว่านี้ ?

ภาวะโลกร้อน (Global Warming) เกิดจากมีก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศมากเกินไปโดยก๊าซเรือนกระจกตัวหนึ่งที่สำคัญ คือ คาร์บอนไดออกไซด์ และวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ คือ การสร้างพื้นที่กักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ เช่น การปลูกป่าชายเลน ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าชายเลนกระจัดกระจายตามชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้โดยจะพบทั้งทางด้านฝั่งอ่าวไทย และฝั่งทะเลอันดามัน

สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมเริ่มสำรวจพื้นที่ป่าชายเลนของประเทศไทยครั้งแรกในปี พ.ศ. 2504 โดยพบว่ามีพื้นที่ป่าชายเลนประมาณ 2,299,3752 ไร่ แต่ในปี พ.ศ. 2539 เหลือพื้นที่ป่าชายเลนเพียง 1,047,390 ไร่เท่านั้น

หลังจากปี พ.ศ. 2539 รัฐบาลจึงมีนโยบายการฟื้นฟูป่าชายเลน ในปี พ.ศ. 2543 ไทยมีพื้นที่ป่าชายเลนเพิ่มขึ้นเป็น 1,525,997.67 ไร่ แต่การสำรวจล่าสุดเมื่อปี พ.ศ. 2547 ซึ่งมีรายงานในแผนแม่บทจัดการป่าชายเลนประเทศไทยของสำนักอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งพื้นที่ป่าชายเลนเริ่มลดลงอีกครั้งโดยเหลืออยู่เพียง 1,460,621.86 ไร่

ป่าชายเลนช่วยลดภาวะโลกร้อนได้จริงหรือ ?

แน่นอน! เพราะป่าชายเลนเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนที่ดีมาก รายงานในนิตยสาร Nature Geo-science เมื่อปี พ.ศ. 2544 ของคณะนักวิจัยจากกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา ซึ่งศึกษาป่าชายเลน 25 แห่ง บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ระบุว่า ป่าชายเลนคือป่าไม้ที่สามารถกักเก็บก๊าซคาร์บอนได้ดีที่สุดในโลกโดยคาร์บอนส่วนใหญ่จะถูกกักเก็บไว้ใต้ดินในรากของต้นโกงกาง

ป่าชายเลนสามารถกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่าป่าไม้เขตหนาวหรือป่าฝนเขตร้อนชื้น 3-4 เท่า เมื่อเทียบต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่เท่า ๆ กัน ต้นไม้ในป่าชายเลนมีอัตราการสังเคราะห์แสงสูงจึงช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ และเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้กับโลกช่วยลดความรุนแรงของภาวะโลกร้อนได้

  • ป่าชายเลน เป็นทั้งแหล่งอาหารแหล่งอนุบาลตัวอ่อนของสัตว์บางชนิด และเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ต่าง ๆ รวมถึงมนุษย์พืชในป่าชายเลนหลายชนิดสามารถนำมาประกอบอาหารเป็นยา และใช้ประโยชน์อื่น ๆ ได้มากมาย
  • ป่าชายเลน ช่วยรักษาความสมดุลของระบบนิเวศชายฝั่ง และพื้นที่ใกล้เคียงซึ่งจะส่งผลถึงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรประมง
  • ป่าชายเลน ช่วยลดความรุนแรงของคลื่น และลมที่พัดเข้าสู่ชายฝั่งรากของต้นไม้ในป่าชายเลนช่วยป้องกันน้ำกัดเซาะชายฝั่งช่วยชะลอความเร็วของกระแสน้ำ และทำหน้าที่เป็นตะแกรงธรรมชาติ คอยกรองสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ จากบนบกไม่ให้ไหลลงสู่ทะเล

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับ Blue Carbon Society ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเล และชายฝั่ง รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติให้กลับมาสมบูรณ์อีกครั้ง ง่ายๆ เพียงคลิก www.bluecarbonsociety.org

ที่มา : 
- Green Peace
- องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
- สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.