ก๊าซเรือนกระจก ปกป้องโลก ปกป้องเรา!

4.3 / 5 ( 36 votes )

ทราบหรือไม่ ? โลกของเราใบนี้ถูกห่อหุ้มด้วยชั้นบรรยากาศ ซึ่งประกอบด้วยก๊าซหลายชนิดเรียงตัวเป็นชั้นๆ ทำหน้าที่เสมือน “เรือนกระจก” คอยดูดคลื่นรังสีความร้อนในเวลากลางวัน แล้วค่อยๆ แผ่รังสีความร้อนออกมาในเวลากลางคืน โลกจึงมีวัฏจักรน้ำ อากาศ และอุณหภูมิที่สมดุล รวมถึงฤดูกาลหมุนเวียนเหมาะแก่การเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตบนโลก

ก๊าซในชั้นบรรยากาศที่เรียกว่า “ก๊าซเรือนกระจก” เหล่านี้ มีทั้งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และเกิดจากฝีมือมนุษย์เช่น การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิล และการตัดไม้ทำลายป่า พฤติกรรมเหล่านี้จะสร้างคาร์บอนไดออกไซต์ (CO2) หลายตันขึ้นสู่บรรยากาศ(1)

“ภาวะเรือนกระจก” (Greenhouse effect) เหมือนไกล…แต่เป็นเรื่องใกล้ตัว

ก๊าซเรือนกระจกทำหน้าที่อย่างไร

ก๊าซเรือนกระจกบนโลก ประกอบด้วยไอน้ำ และก๊าซชนิดต่างๆ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ ไนตรัสออกไซด์ โอโซน และ มีเทน ซึ่งทำหน้าที่กรองรังสีคลื่นสั้นบางชนิดให้ผ่านลงมายังผิวโลกแล้วดูดกลืนรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดที่แผ่ออกจากพื้นผิวโลกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ จากนั้นก็คายพลังงานความร้อนให้กระจายอยู่ภายในชั้นบรรยากาศและผิวโลก

ปัจจุบัน มีก๊าซบางชนิดสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศของโลกมากเกินสมดุล ความร้อนจึงสะสมอยู่บริเวณผิวโลกและชั้นบรรยากาศมากขึ้นทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น (2)

รูปแสดงปรากฎการณ์เรือนกระจก

ประโยชน์ของก๊าซเรือนกระจก

จะเป็นอย่างไร หากโลกนี้ไม่มี “ก๊าซเรือนกระจก”

เป็นที่น่าสนใจ และเป็นคำถามเรื่อยมาว่า หากโลกใบนี้ไม่มีก๊าซเรือนกระจกคอยปกป้อง หรือมีในปริมาณมากเกินไป แน่นอนว่า ระบบนิเวศ วัฏจักร และการเกิดฤดูกาลต่างๆ จะเกิดการแปรปรวนครั้งใหญ่

ก๊าซเรือนกระจกบางชนิด เช่น ไอน้ำ สามารถสลายไปในเวลาไม่กี่วัน แต่ก๊าซเรือนกระจกส่วนใหญ่มีอายุในชั้นบรรยากาศหลายร้อยปีถึงหลายหมื่นปี เช่น คลอโรฟลูออโรคาร์บอน ไนตรัสออกไซด์ และคาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนมีเทนแม้จะมีอายุในชั้นบรรยากาศไม่กี่สิบปีมันก็จะเสื่อมสลายกลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ก็ตาม ซึ่งความไม่สมดุลของปริมาณก๊าซเรือนกระจก จะส่งผลกระทบโดยตรงต่ออุณหภูมิบนผิวโลก และส่งผลกระทบทางอ้อมในกรณีที่ก๊าซเรือนกระจกบางตัวทำปฏิกิริยาเคมีกับก๊าซอื่นๆ จนเกิดก๊าซเรือนกระจกชนิดใหม่ นอกจากนั้น ก๊าซเรือนกระจกบางชนิดอาจรวมตัวกับโอโซนจนโอโซนในชั้นบรรยากาศลดลง ทำให้คลื่นรังสีสั้น และรังสีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก ส่องผ่านลงมาสู่ผิวโลกได้มากขึ้น (3)

มนุษย์สามารถแก้ปัญหา “ภาวะโลกร้อน” ที่เกิดจาก “ก๊าซเรือนกระจก” ด้วยการหยุดพฤติกรรมสร้างคาร์บอนทั้งทางตรง และทางอ้อม เช่น ลดการใช้พลังงาน ลดการใช้สารเคมี และลดการสร้างขยะ

ที่สำคัญ! ต้องเร่งสร้างพื้นที่ Blue Carbon เพื่อช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศควบคู่ไปด้วย !

ที่มา :

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Share
Published by
อภินัทธ์ เชงสันติสุข

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.