ทราบหรือไม่ ? โลกของเราใบนี้ถูกห่อหุ้มด้วยชั้นบรรยากาศ ซึ่งประกอบด้วยก๊าซหลายชนิดเรียงตัวเป็นชั้นๆ ทำหน้าที่เสมือน “เรือนกระจก” คอยดูดคลื่นรังสีความร้อนในเวลากลางวัน แล้วค่อยๆ แผ่รังสีความร้อนออกมาในเวลากลางคืน โลกจึงมีวัฏจักรน้ำ อากาศ และอุณหภูมิที่สมดุล รวมถึงฤดูกาลหมุนเวียนเหมาะแก่การเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตบนโลก
ก๊าซในชั้นบรรยากาศที่เรียกว่า “ก๊าซเรือนกระจก” เหล่านี้ มีทั้งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และเกิดจากฝีมือมนุษย์เช่น การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิล และการตัดไม้ทำลายป่า พฤติกรรมเหล่านี้จะสร้างคาร์บอนไดออกไซต์ (CO2) หลายตันขึ้นสู่บรรยากาศ(1)
“ภาวะเรือนกระจก” (Greenhouse effect) เหมือนไกล…แต่เป็นเรื่องใกล้ตัว
ก๊าซเรือนกระจกทำหน้าที่อย่างไร
ก๊าซเรือนกระจกบนโลก ประกอบด้วยไอน้ำ และก๊าซชนิดต่างๆ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ ไนตรัสออกไซด์ โอโซน และ มีเทน ซึ่งทำหน้าที่กรองรังสีคลื่นสั้นบางชนิดให้ผ่านลงมายังผิวโลกแล้วดูดกลืนรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดที่แผ่ออกจากพื้นผิวโลกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ จากนั้นก็คายพลังงานความร้อนให้กระจายอยู่ภายในชั้นบรรยากาศและผิวโลก
ปัจจุบัน มีก๊าซบางชนิดสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศของโลกมากเกินสมดุล ความร้อนจึงสะสมอยู่บริเวณผิวโลกและชั้นบรรยากาศมากขึ้นทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น (2)
ประโยชน์ของก๊าซเรือนกระจก
จะเป็นอย่างไร หากโลกนี้ไม่มี “ก๊าซเรือนกระจก”
เป็นที่น่าสนใจ และเป็นคำถามเรื่อยมาว่า หากโลกใบนี้ไม่มีก๊าซเรือนกระจกคอยปกป้อง หรือมีในปริมาณมากเกินไป แน่นอนว่า ระบบนิเวศ วัฏจักร และการเกิดฤดูกาลต่างๆ จะเกิดการแปรปรวนครั้งใหญ่
ก๊าซเรือนกระจกบางชนิด เช่น ไอน้ำ สามารถสลายไปในเวลาไม่กี่วัน แต่ก๊าซเรือนกระจกส่วนใหญ่มีอายุในชั้นบรรยากาศหลายร้อยปีถึงหลายหมื่นปี เช่น คลอโรฟลูออโรคาร์บอน ไนตรัสออกไซด์ และคาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนมีเทนแม้จะมีอายุในชั้นบรรยากาศไม่กี่สิบปีมันก็จะเสื่อมสลายกลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ก็ตาม ซึ่งความไม่สมดุลของปริมาณก๊าซเรือนกระจก จะส่งผลกระทบโดยตรงต่ออุณหภูมิบนผิวโลก และส่งผลกระทบทางอ้อมในกรณีที่ก๊าซเรือนกระจกบางตัวทำปฏิกิริยาเคมีกับก๊าซอื่นๆ จนเกิดก๊าซเรือนกระจกชนิดใหม่ นอกจากนั้น ก๊าซเรือนกระจกบางชนิดอาจรวมตัวกับโอโซนจนโอโซนในชั้นบรรยากาศลดลง ทำให้คลื่นรังสีสั้น และรังสีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก ส่องผ่านลงมาสู่ผิวโลกได้มากขึ้น (3)
มนุษย์สามารถแก้ปัญหา “ภาวะโลกร้อน” ที่เกิดจาก “ก๊าซเรือนกระจก” ด้วยการหยุดพฤติกรรมสร้างคาร์บอนทั้งทางตรง และทางอ้อม เช่น ลดการใช้พลังงาน ลดการใช้สารเคมี และลดการสร้างขยะ
ที่สำคัญ! ต้องเร่งสร้างพื้นที่ Blue Carbon เพื่อช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศควบคู่ไปด้วย !
ที่มา :
- (1) www.greenpeace.org
- (2) www.tmd.go.th
- (3) www.csuwan.weebly.com
- Blue Carbon คือ อะไร? ถ้าอยากรู้… คลิก
Category:
Tags:
- Blue Carbon Society
- bsc
- Social Impact
- การรับมือปัญหาโลกร้อน
- ก๊าซที่ทําให้เกิดเรือนกระจก
- ก๊าซเรือนกระจก
- ก๊าซเรือนกระจก 7 ชนิด
- นโยบายแก้ปัญหาโลกร้อน
- ปรากฏการณ์เรือนกระจก pdf
- ปรากฏการณ์เรือนกระจก ผลกระทบ
- ปัญหาภาวะโลกร้อนใกล้ตัว
- ปัญหาโลกร้อน
- ภาวะโลกร้อน
- ภาวะโลกร้อน ผลกระทบ
- วิธีแก้ปัญหา ภาวะเรือนกระจก
- วิธีแก้ปัญหาโลกร้อน
- สาเหตุภาวะโลกร้อนที่เกิดจากมนุษย์
- แก้ปัญหาโลกร้อน อย่างยั่งยืน
- แก๊สเรือนกระจก 6 ชนิด