“เกาะเต่า” เป็นอีกแห่งที่ได้รับผลกระทบเต็ม ๆ เพราะเศรษฐกิจบนเกาะเต่าเกือบ 100% พึ่งพานักท่องเที่ยวต่างชาติ
แต่ละปีมีนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก เดินทางเยือนเกาะเต่ากว่า 3 แสนคน แต่เมื่อเกิดการระบาดของโควิด-19 ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลง
ส่งผลให้ผู้ประกอบการสาขาต่าง ๆ ได้รับผลกระทบอย่างไม่ทันตั้งตัว ซึ่งพวกเขาพยายามเรียกร้องถึงความเดือดร้อนและแนวทางการแก้ไขปัญหา เพื่อเตรียมรับมือหากเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีกในอนาคต
นางสาวสินีนาฏ หลอมประโคน กรรมการผู้จัดการ ทรายรี คอทเทจ ไดฟ์วิ่ง กล่าวว่าธุรกิจการท่องเที่ยวและธุรกิจเกี่ยวเนื่อง เติบโตขึ้นตลอดช่วงก่อนเกิดโควิด-19 แต่พอเกิดโรคระบาดทำให้นักท่องเที่ยวหายไปหมด โดยเฉพาะกลุ่มดำน้ำ ทำให้ผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับดำน้ำกว่า 60 รายทั้งเกาะ ได้รับผลกระทบทันที และหนักกว่าธุรกิจห้องพักเสียอีก ส่งผลให้พนักงาน ลูกจ้าง รวมถึงคนขับเรือ จำเป็นต้องกลับบ้านเกิด
ทั้งนี้ ธุรกิจดำน้ำมีการใช้ต้นทุนสูงกว่าธุรกิจที่พัก โดยเฉพาะการออกใบรับรองดำน้ำที่มีราคาสูง รวมถึงการออกค่าใช้จ่ายเรื่องน้ำมัน กัปตัน และค่าดูแลซ่อมแซมต่าง ๆ ที่มีมูลค่าไม่น้อยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้หันมาจับกลุ่มนักท่องเที่ยวคนไทยที่ชอบการดำน้ำแทน รวมถึงกิจกรรมเดินป่า ปีนเขา เพื่อประคับประคองธุรกิจให้อยู่รอด เป็นต้น
“เราทำธุรกิจมา 30 ปี ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ต้องปรับตัวครั้งใหญ่ เช่นเดียวกับธุรกิจอื่นที่อยู่ในเกาะต่างต้องปรับตัวเช่นกัน”
เช่นเดียวกับ นายโกศล พงศ์ผดุงเกียรติ ผู้ใหญ่บ้าน บ้านโฉลกบ้านเก่า กล่าวว่าธุรกิจท่องเที่ยวบนเกาะเต่าได้รับผลกระทบอย่างมาก หลังจากมีการล็อกดาวน์ ทำให้สัดส่วนของกลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งต่างชาติและไทย หายไปอย่างละ 70% และ 30% เพราะไม่สามารถเดินทางมาเกาะเต่าได้
เมื่อเกิดวิกฤติขึ้น ตอนนี้ชาวเกาะเต่ามีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด เช่น หันไปปลูกผัก เลี้ยงไก่ และออกไปจับปลาในทะเลเพื่อการบริโภค เป็นต้น ซึ่งเดิมมีรายได้หลักจากการให้บริการนักท่องเที่ยวเท่านั้น
“ล่าสุดมีกลุ่มคนไทยเดินทางเข้าเกาะเต่า ทำให้การท่องเที่ยวเริ่มกลับมาอยู่ที่ 30% แล้ว แต่ก็ยังไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตาม การลดจำนวนลงของนักท่องเที่ยวทำให้ธรรมชาติกลับมาฟื้นฟูและอุดมสมบูรณ์ขึ้น”
ผู้ใหญ่บ้านกล่าวเพิ่มเติมว่า อยากให้หน่วยงานภาครัฐเข้ามาช่วยฟื้นฟูการท่องเที่ยว ทั้งในส่วนของผู้ประกอบการและส่วนของลูกค้า เพื่อให้สถานการณ์ท่องเที่ยวดีขึ้น
ขณะที่ นายธวัชชัย ธารพร เจ้าของกิจการ The Queen’s Cabaret ระบุว่า ธุรกิจเริ่มได้รับผลกระทบตั้งแต่เดือนมีนาคม หลังจากที่มีการล็อกดาวน์ ทำให้ขาดรายได้ แต่ช่วงนั้นได้มีการปรับตัว โดยให้พนักงานส่วนหนึ่งลาออกอย่างสมัครใจ ส่วนที่เหลือก็หันไปประกอบอาชีพค้าขายอาหารเพื่อสร้างรายได้เสริม
สำหรับธุรกิจบันเทิงในเกาะเต่า ในช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายนจะเป็นช่วงที่นักท่องเที่ยวนิยมมาเที่ยวมากที่สุด แต่ละวันจะมีลูกค้าเฉลี่ย 200 คน มากสุดเคยถึง 500 คน โดยเฉพาะช่วง 4 เดือนแรกจะเป็นช่วงที่เก็บเกี่ยวรายได้เพื่อสำรองเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับทั้งปี รวมถึงค่าแรงงาน เพราะในช่วงอื่นจะเป็นช่วงมรสุม
“ตอนนี้บอกเลยว่าหนี้ท่วมหัว เพราะเราต้องแบกภาระไว้ที่ตัวเองทั้งหมด แต่โชคดีที่เจ้าของสถานที่ตอนนี้ยกเว้นค่าเช่าที่ไปจนถึงปลายปีนี้”
สำหรับสถานการณ์ท่องเที่ยวในช่วงโควิด เริ่มมีกลุ่มคนไทยมากขึ้น จึงมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการแสดงให้ถูกรสนิยมคนไทย
ส่วน นายเอกชัย กาญจนเพ็ญ เจ้าของร้าน Seaside Bar & Restaurant และห้องพัก DD Hut Resort กล่าวว่า เปิดธุรกิจมากว่า 20 ปี ธุรกิจเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง เพราะลูกค้าส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ
แต่เมื่อเกิดวิกฤตโควิด ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกับธุรกิจอื่น ๆ เพราะลูกค้าลดลงมากเมื่อเทียบกับช่วงปกติ แต่ได้มีการปรับตัวโดยการทำอาหารส่งตามบ้านทั่วเกาะเต่า แต่ก็ทำได้สักพักก็ต้องหยุด เพราะกำลังซื้อของผู้บริโภคเริ่มลดลง
“ตอนนี้เริ่มมีนักท่องเที่ยวกลับมาแล้ว แต่ส่วนใหญ่ยังเป็นกลุ่มคนไทย เราเองก็ต้องปรับตัวเพื่อรองรับ เช่น ปรับเมนูอาหารให้เหมาะกับคนไทย เป็นต้น”
ตอนนี้ผู้ประกอบการทั้งเกาะมีการลดราคาลงมากกว่า 50% บางรายลดราคาถึง 70% ทำให้ดึงดูดกลุ่มลูกค้าคนไทยได้มาก
ด้วยเหตุนี้ โครงการการเงินเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ (BIOFIN) ภายใต้โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ประเทศไทย หรือ UNDP Thailand ธนาคารกรุงไทย และมูลนิธิรักษ์ไทย จึงริเริ่มโครงการระดมทุน Koh Tao, Better Together เพื่อช่วยเหลือกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ในระยะสั้น โดยเน้นกลุ่มคนขับเรือท่องเที่ยวขนาดเล็กบนเกาะเต่า เป็นหลัก
นายเรอโน เมแยร์ ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย หรือ UNDP กล่าวว่า โครงการ Koh Tao, Better Together นี้ ที่กำลังดำเนินการอยู่ เราเริ่มมาตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม 2563 จะสิ้นสุดวันที่ 31 มกราคม 2564
โดยผู้สนใจสามารถร่วมบริจาคได้ทาง สแกน QR Code ในสื่อประชาสัมพันธ์โครงการฯ
โอนเงินเข้าบัญชี มูลนิธิรักษ์ไทย UNDP กรุงไทยรักเกาะเต่า เลขที่ 034-1-81121-1
และบริจาคผ่าน เว็บไซต์ https://www.biodiversityfinance.net/crowdfunding/koh-tao-better-together
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.