วิสัยทัศน์คุณธนินท์ เจียรวนนท์ สะท้อนให้เราได้ตระหนักว่าแม้จะยิ่งใหญ่และดูมั่นคงเพียงใดก็ยังไม่อาจหลีกหนีพ้นความผันผวนไม่แน่นอนของเศรษฐกิจได้ถึงธุรกิจจะยิ่งใหญ่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่เสี่ยงแต่กลับกันยิ่งใหญ่เพียงใดยิ่งต้องเผชิญปัญหาและความเสี่ยงในทางธุรกิจมากขึ้นเท่านั้นการบริหารความเสี่ยงเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการนักบริหารและผู้นำองค์กรธุรกิจต้องเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมเอาไว้เพราะความไม่แน่นอนทางธุรกิจที่เหมือนดาบสองคมนี้สามารถเกิดและเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาและความไม่แน่นอนนี่เองก็มักจะนำความเสี่ยงมาด้วยเสมอเรามาดูกันว่าเราจะบริหารความเสี่ยงในทางธุรกิจได้อย่างไรกันบ้าง
คิดแบบผู้นำ ธุรกิจต้องมีความชัดเจนจึงบริหารความเสี่ยงได้
แนวคิดผู้นำ “ไม่ควรวางไข่ทั้งหมดไว้ในตระกร้าใบเดียว”
“ไม่ควรวางไข่ทั้งหมดไว้ในตระกร้าใบเดียว” คือแนวคิดของผมในช่วงหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจเอเชียผ่านพ้นไปแล้วผมเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องกระจายความเสี่ยงเพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับธุรกิจ –วิสัยทัศน์ CEO ธนินท์ เจียรวนนท์
ถ้าคุณไม่ต้องการให้ธุรกิจของคุณต้องเข้าไปเสี่ยงกับสภาวะต่าง ๆ โดยไม่จำเป็นล่ะก็ทางเบี่ยงเพื่อหลีกเลี่ยงที่ดีที่สุดประการแรกก็คือ “กำหนดจุดประสงค์ของธุรกิจให้ชัดเจน” ผู้ประกอบการและนักบริหารต้องมั่นใจว่าจุดประสงค์ที่ต้องการนั้นสอดคล้องกับเป้าหมายที่ตั้งไว้แม้ว่าเป้าหมายที่วางเอาไว้แต่แรกมาแล้วอาจจะมีความเสี่ยงก็ตามแต่ความเสี่ยงนี้ต้องสามารถใช้หลักการบริหารและการจัดการเรียกง่าย ๆ ว่าเป็นความเสี่ยงที่ยอมรับได้ไม่ใช่หนักหนาจนทำให้ธุรกิจมีโอกาสพังกากำหนดจุดประสงค์ในธุรกิจต้องมีความชัดเจนว่าต้องการอะไรและต้องทำอย่างไรถึงจะไปถึงเป้าหมายโดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรไว้กำหนดเป็นสัดส่วนจากนั้นค่อยมาดูเรื่องของกลยุทธ์ต้องกำหนดให้ชัดเจนว่าเป็นกลยุทธ์เกี่ยวกับอะไรและกลยุทธ์นั้นจะนำไปสู่เป้าหมายจุดไหนบ้าง
ในส่วนของการปฏิบัติงานต้องปฏิบัติงานอะไรบ้างและต้องการประสิทธิภาพในการทำงานระดับไหนและผลของการปฏิบัติงานควรเป็นอย่างไรสามารถที่จะสร้างผลกำไรให้แก่องค์กรได้มากน้อยแค่ไหนมุ่งเน้นการดำเนินแผนกลยุทธ์ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับพันธกิจและแผนธุรกิจขององค์กรให้ได้ซึ่งคุณจะต้องใส่ความชัดเจนลงไปในงานทุกขั้นตอนแม้กระทั่งขั้นตอนการรายงานต้องชัดเจนไปเลยว่ารายงานนั้นเป็นรายงายเกี่ยวกับอะไรและที่สำคัญเรื่องของกฎระเบียบขององค์กรหรือบริษัทต้องชัดเจนที่สุดอะไรที่ทำได้อะไรที่ทำไม่ได้และถ้าฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะมีบทลงโทษอย่างไรบ้างเพราะความชัดเจนนี่เองจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้การทำงานของทุกฝ่ายในบริษัทเป็นไปได้อย่างราบรื่นโปร่งใสและมีระบบระเบียบตรวจสอบได้พนักงานจะเข้าใจบริษัทได้ไม่ยากว่าบริษัทและผู้บริหารต้องการอะไรสิ่งนี้นับเป็นขั้นตอนแรกในการบริหารความเสี่ยงอย่างได้ผลที่สุด
เปรียบเทียบง่าย ๆ ให้เข้าใจมากขึ้นก็ขอยกเรื่องของกีฬาการต่อสู้อย่างการชกมวยไทยนักมวยทั้งสองฝ่ายก่อนจะขึ้นชกกันนั้นต้องเตรียมตัวฝึกซ้อมในการฝึกซ้อมเทรนด์เนอร์ก็จะคอยสอนเทคนิคการชกที่ถูกต้องเสมอว่าต้องชกอย่างไรที่จะเข้าเป้าชัดเจนชกอย่างไรไม่ให้ผิดกติกาคือนักมวยจะมีความเข้าใจที่ชัดเจนก่อนชกแล้วพอมีความเข้าใจเรื่องกฎกติกาทุกอย่างชัดเจนเทรนด์เนอร์ก็ถึงจะวางกลยุทธ์วางกลมวยแก้ทางคู่ต่อสู้แบบว่าถ้าเอาเตะมาแบบนี้จะแก้อย่างไรหากอีกฝั่งสามารถกำหนดกลวิธีที่เหนือกว่านั่นก็เท่ากับว่าฝ่ายเราเป็นฝ่ายที่ต้องเผชิญความเสี่ยงแล้วนั่นเอง
คลิกเลย! แนะนำบทความน่าอ่าน
- ความคิดสร้างสรรค์ – นิยามของคำว่านวัตกรรม
- เริ่มต้นทำธุรกิจ – ควรรู้เราก่อนรู้เขา
- คิดบวกและมุ่งมั่น – หัวใจสำคัญของความสำเร็จ
- เปิดท้ายขายอะไรดี – เรามีไอเดียเก๋ ๆ มาแนะนำ
- ธุรกิจส่วนตัว – คิดแบบผู้นำ ทำอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ
- ผู้นำธุรกิจ 4.0 บริหารงานคนนำพาธุรกิจให้ยั่งยืน
- เทรนด์ธุรกิจมาแรง 2020 – อาชีพและธุรกิจที่น่าสนใจในอนาคต
จะบริหารความเสี่ยงก็ต้องระบุความเสี่ยงให้ได้
ประการนี้ดูเหมือนจะง่ายแต่คุณเชื่อไหมว่ามีหลายบริษัทที่ล้มลงไปเพราะไม่รู้ว่าตัวเองเล่นอยู่กับความเสี่ยงด้านไหนจึงไม่รู้ว่าจะยึดหลักการบริหารจัดการองค์กรได้อย่างไรความเสี่ยงในทางธุรกิจนั้นเป็นไปได้หลายอย่างเช่นด้านการตลาดด้านการเงินและเครดิตด้านการปฏิบัติการด้านบุคลากรอย่างที่ทราบว่าการทำธุรกิจนั้นไม่มีอะไรที่แน่นอนตายตัวเสมอไปทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาอาจจะไปด้านบวกหรือด้านลบก็ได้
“ความเสี่ยงเกิดจากความไม่รู้ในสิ่งที่คุณทำ” –Warren Buffett
ดังนั้นคุณจะต้องมีการคาดการณ์ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นไว้หลาย ๆ สถานการณ์ดูปัจจัยในทุก ๆ ด้านที่อาจจะเกิดขึ้นและระบุประเภทความเสี่ยงให้ได้จัดกลุ่มให้ดีว่าบริษัทกำลังเจอกับปัญหาด้านไหนเช่นถ้าคุณเจอปัญหา A กับปัญหา C ซึ่งทั้ง 2 ปัญหามีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอาจเกิดขึ้นพร้อมกันคุณก็จัดไว้กลุ่มหนึ่งปัญหา A เกิดขึ้นตามด้วยปัญหา B คุณก็จัดไว้อีกกลุ่มหนึ่งซึ่งเมื่อคุณทำแบบนี้ทำให้คุณจะต้องวางแผนรับมืออย่างละเอียดคือคุณจะมีแผนสำรองซึ่งนั่นเป็นการเตรียมรับมือที่ดีมาก ๆ นั่นเอง
ผู้นำต้องประเมินความเสี่ยงได้
ผู้ประกอบการและนักบริหารต้องประเมินให้ได้ว่าถ้าความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ เกิดขึ้นแล้วมีโอกาสจะทำให้เกิดสิ่งใดที่กระทบกับจุดประสงค์ในการดำเนินงานของบริษัทบ้างโดยต้องแบ่งพิจารณา 2 ส่วนคือ
- โอกาสดูว่ามีโอกาสที่จะเกิดสถานการณ์ต่าง ๆ ขึ้นมากน้อยแค่ไหนและส่วนที่ 2
- ผลกระทบหากเกิดขึ้นแล้วจะส่งผลกระทบอะไรบ้างซึ่งคุณสามารถประเมินได้ทั้งเรื่องคุณภาพและปริมาณและที่สำคัญควรมีการประเมินความเสี่ยงเช่นนี้ทั้งก่อนการเกิดความเสี่ยงและหลังจากเกิดความเสี่ยงด้วยก็จะดี
กระบวนการในการประเมินความเสี่ยงนี้จะต้องเน้นการมีส่วนร่วมของคณะผู้บริหารทุกคนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารความเสี่ยงและเกิดความครอบคลุมความเสี่ยงทั้งหมดที่อาจเกิดขึ้น
ลงมือจัดการกับความเสี่ยง
- หลีกเลี่ยงเหตุการณ์ถ้าทำได้
- ผลักภาระไปให้ผู้อื่นช่วยรับผิดชอบในความเสี่ยงวิธีนี้ควรใช้เมื่อเลี่ยงไม่ได้แล้วเพราะถ้าสาเหตุไม่ได้มาจากคุณโดยตรงก็ไม่เป็นไรแต่ถ้ากลับกันสาเหตุมาจากคุณโดยตรงอันนี้คุณต้องพิจารณาให้ดีว่าจะใช้หรือไม่เพราะอาจมีผลต่อความน่าเชื่อถือของบริษัทได้
- ลดปัจจัยที่จะทำให้เกิดความเสี่ยงเพิ่ม
- เผชิญหน้ายอมรับกับความเสี่ยงอย่างกล้าหาญแต่ต้องประเมินแล้วว่าความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกระทบกับองค์กรไม่มากนัก
ควบคุมความเสี่ยง
แต่ละบริษัทอาจมีวิธีการควบคุมความเสี่ยงที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการกำหนดนโยบายการบริหารและการจัดการแต่สิ่งสำคัญประการหนึ่งของการควบคุมความเสี่ยงก็คือการกำหนดหน้าที่การควบคุมนี้ให้กับคนที่มีความชำนาญซึ่งเมื่อกำหนดหน้าที่แล้วคุณจะต้องมีการแจ้งแก่พนักงานคนอื่น ๆ ในบริษัทให้ทราบถึงการทำงานในส่วนนี้ด้วย
ติดตามผล
นี่คือการป้องกันการเกิดความเสี่ยงที่ดีหากมีความเสี่ยงใหม่ ๆ ที่มิได้คาดการณ์ไว้อาจจำเป็นต้องทบทวนการบริหารความเสี่ยงใหม่ทั้งหมดถ้ามีการติดตามผลการควบคุมความเสี่ยงคุณจะมั่นใจได้ว่าคุณจะสามารถรับมือกับความเสี่ยงได้อยู่เสมอ
การบริหารความเสี่ยงจะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพปัจจัยสำคัญที่สุดก็จะต้องได้รับความสนใจจากผู้บริหารองค์กรเสียก่อนผู้บริหารทุกคนรวมถึงพนักงานต้องมีความเข้าใจในความหมายของความเสี่ยงตรงกันทุกคนคือผู้บริหารต้องสื่อสารให้พนักงานทุกคนเข้าใจตรงกันให้ได้การบริหารความเสี่ยงจึงจะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
แนวคิดผู้นำเพื่อความสำเร็จ
- กำหนดความชัดเจนในจุดประสงค์ของธุรกิจ
- เป้าหมาย
- จะไปถึงเป้าหมายต้องทำอย่างไร
- กลยุทธ์ใดที่เหมาะสม
- ต้องปฏิบัติงานอย่างไรบ้าง
- ระบุความเสี่ยงให้ได้เป็นความเสี่ยงแบบไหนและมีปัจจัยใดที่ทำให้เกิดความเสี่ยง
- ประเมินความเสี่ยงนำวิธีการต่าง ๆ ที่เหมาะสมมาใช้ประเมินความเสี่ยงแต่ต้องเน้นให้คณะผู้บริหารทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมตรงนี้ด้วย
- จัดการกับความเสี่ยง
- หลีกเลี่ยงเหตุการณ์ถ้าทำได้
- ผลักภาระไปให้ผู้อื่นช่วยรับผิดชอบในความเสี่ยงวิธีนี้ควรใช้เมื่อเลี่ยงไม่ได้แล้วเพราะอาจมีผลต่อความน่าเชื่อถือของบริษัทได้
- ลดปัจจัยที่จะทำให้เกิดความเสี่ยงเพิ่ม
- เผชิญหน้ายอมรับกับความเสี่ยงอย่างกล้าหาญแต่ต้องประเมินแล้วว่าความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกระทบกับองค์กรไม่มากนัก
- ควบคุมความเสี่ยงการกำหนดหน้าที่การควบคุมนี้ให้กับคนที่มีความชำนาญและทำการแจ้งแก่ทุกคนในองค์กรให้ทราบติดตามผลซึ่งเป็นวิธีการป้องกันความเสี่ยงที่ดีที่สุด