หากพูดถึงอาชีพ “ประมง” หลายคนจะนึกถึงคนที่ต้องออกเรือพร้อมเครื่องมือจับสัตว์ทะเลในทุก ๆ วัน ก่อนจะกลับขึ้นฝั่งเพื่อนำสัตว์ทะเลที่จับได้มาคัดแยกประเภท และส่งขายไปยังท้องตลาดเพื่อให้ผู้บริโภคมาเลือกซื้ออาหารทะเลกลับไปทานกันสด ๆ ซึ่งเราเคยทราบกันหรือไม่ว่าทำไมอาหารทะเลถึงมีราคาแพง และทำไมปริมาณสัตว์ทะเลที่จับได้กลับลดลงจากเมื่อก่อนมาก

“คนที่จะเป็นแบบอย่างผู้นำที่ดีต้องคุณสมบัติสำคัญส่วนหนึ่งที่จำเป็นมากก็คือ ต้องกล้าตัดสินใจ และการตัดสินใจใด ๆ นั้นต้องประเมินเวลาและเหตุการณ์ให้ได้ด้วยว่าเหมาะสมหรือไม่” ธนินท์ เจียรวนนท์

ผศ.ดร.จรวย สุขแสงจันทร์  รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวถึงสาเหตุที่ชาวประมงจับสัตว์ทะเลได้ในปริมาณน้อย มีหลายปัจจัยทั้งสิ่งแวดล้อมรวมถึงเครื่องมือที่ใช้ในการจับที่มีหลากหลาย โดยปี 2549 ผลผลิตจากการทำประมงอยู่ที่ประมาณ 2,484 ล้านตัน และช่วงปี 2549-2558 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของผลจับ ลดลงเฉลี่ยร้อยละ 6.42 ต่อปี โดยปี 2559 มีผลผลิตจากการทำประมงอยู่ที่ประมาณ 1,343 ล้านตัน

ซึ่งก่อนหน้านี้ภาครัฐยังไม่มีมาตรการคุมเข้มเครื่องมือการทำประมงโดยเฉพาะตาอวน ทำให้สามารถจับสัตว์น้ำตั้งแต่ขนาดใหญ่ไปจนถึงขนาดเล็กได้หากชาวประมงเพิ่มความถี่ในการจับสัตว์น้ำมากขึ้นการเจริญเติบโตของสัตว์ทะเลทั้งพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่จะสืบทอดต่อไปในอนาคตถูกตัดวงจรลงผลกระทบที่จะตามมาคือปริมาณทรัพยากรสัตว์ทะเลก็น้อยลงตามไปด้วย

คลิกเลย! แนะนำบทความน่าอ่าน

นอกจากนี้ รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ปัจจุบันมีมาตรการของภาครัฐเข้ามากำกับดูแลโดยเฉพาะกรมประมงที่ได้ออกประกาศกำหนดมาตรฐานเครื่องมือประมงบางประเภทที่กำหนดให้มีขนาดตาอวนตั้งแต่ 1 นิ้ว หรือ 2.5 เซนติเมตรขึ้นไปเพื่อลดผลกระทบการจับลูกสัตว์น้ำขึ้นมาด้วย ซึ่งข้อกำหนดดังกล่าวจะช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลให้ยั่งยืนต่อไปได้

อย่างไรก็ตาม แม้ภาครัฐจะออกมาตรการกำหนดให้ผู้ประกอบการนำเรือประมงมาขึ้นทะเบียนเรือ ใบอนุญาตการทำประมงอย่างถูกต้องตามกฎหมาย รวมถึงกำหนดเครื่องมือการทำประมงที่ไม่เข้าไปรบกวนวงจรสัตว์น้ำในอนาคตแล้ว สิ่งสำคัญคือการปลูกจิตสำนึกทั้งชาวบ้านที่อยู่ติดทะเลและชาวประมงเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยจะต้องปรับตัวทั้งการเรียนรู้ข้อมูลเรื่องชีววิทยาของสัตว์น้ำ, การใช้เครื่องมือต่าง ๆ, ช่วงระยะเวลาการออกเรือทำประมงและอื่น ๆ มาประกอบเข้าด้วยกันเพื่อให้สัตว์น้ำสามารถสืบพันธุ์ต่อไปได้โดยที่มนุษย์เองก็มีทรัพยากรเหล่านี้ใช้ไปจนถึงลูกหลาน หากชาวบ้านและชาวประมงสามารถเรียนรู้และปรับตัวได้ก็จะเป็นการทำประมงอย่างยั่งยืนได้ในที่สุด

ติดตามเรื่องราวดี ๆ เกี่ยวกับ “Blue Carbon” เพียงคลิก www.bluecarbonsociety.org

คลิกเลย! แนะนำบทความน่าอ่าน

Passion in this story