สงครามระหว่าง รัสเซีย และ ยูเครน ได้ปลุกตลาดค้าอาวุธ หรือที่เรียกว่า อุตสาหกรรมเพื่อการป้องกันประเทศให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง ปัจจุบันนวัตกรรมการผลิตอาวุธได้ก้าวสู่ยุคของ AI และ Robotic อาวุธอัจฉริยะที่มีอำนาจทำลายล้างสูง แม่นยำสูง และไม่ต้องใช้คนบังคับ
🚀และแม้ประเทศไทยจะเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ แต่ในอีกมุมหนึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่มีโอกาส มีศักยภาพที่จะก้าวเป็นผู้นำในการส่งออกอาวุธในภูมิภาคได้ Burin Journey จะมาเจาะลึก ถึงโอกาส และศักยภาพของประเทศไทยในเวทีโลก ให้เข้าใจว่า แท้จริงแล้ว…ประเทศไทยมีโอกาสแค่ไหน
🚀ไทยเป็นประเทศหนึ่งในอาเซียนที่มีศักยภาพในการก้าวเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ภายใต้ภูมิรัฐศาสตร์ที่โดดเด่น และความสัมพันธ์อันดีกับประเทศมหาอำนาจ อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมของไทยยังเผชิญกับความท้าทาย ที่ต้องเร่งปรับตัว ประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ภายใต้การสนับสนุนจากภาครัฐ เพื่อให้อุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทย เติบโตอย่างก้าวกระโดด แข็งแกร่ง และยั่งยืน
🚀ข้อมูลจาก The Business Research Company ระบุว่า ตลาดอุตสาหกรรมป้องกันประเทศทั่วโลกเติบโตจาก 534,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2565 เป็น 577,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2566 มีอัตราการเติบโตที่ 7.9% และคาดว่าจะมีมูลค่า 718,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2570 ด้วยอัตราการเติบโตต่อปีที่ 5.6% โดยภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เป็นตลาดที่มีอัตราการเติบโตสูงที่สุด และคาดว่าจะครองตลาดอุตสาหกรรมป้องกันประเทศทั่วโลกในไม่ช้า
.
🚀ในระดับโลก ประเทศสหรัฐอเมริกา ยังคงเป็นผู้เล่นรายใหญ่ในอุตสาหกรรม ทั้งการส่งออกและนำเข้าอาวุธยุทธภัณฑ์ ขณะที่กลุ่มประเทศนำเข้าหลักได้แก่ ซาอุดิอารเบีย อินเดีย เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย และกลุ่มประเทศผู้ส่งออกหลักของโลกได้แก่ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย ฝรั่งเศส เยอรมนี และจีน
.
🚀สำหรับประเทศในเอเชียแปซิฟิก ที่มีศักยภาพในการส่งออกอาวุธยุทธภัณฑ์สูงที่สุดได้แก่ ประเทศ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย โดยมีประเทศ อินเดีย จีน และเกาหลีใต้ เป็นประเทศผู้นำเข้าสูงที่สุด ขณะที่ประเทศไทยแม้มีขนาดตลาดอยู่ที่ 7,500 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ยังมีศักยภาพที่จะเป็นผู้เล่นหลักในภูมิภาคจากปัจจัยหลายประการ อาทิ ตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางของอาเซียน และความร่วมมือกับประเทศมหาอำนาจ ทั้งสหรัฐอเมริกา จีน และรัสเซีย ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญ
🚀ในปัจจุบันประเทศไทยมีแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ภายใต้เป้าหมายเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของอุตสาหกรรม ลดการพึ่งพิงยุทโธปกรณ์จากต่างประเทศ รวมถึงสามารถส่งออกยุทโธปกรณ์เพื่อสร้างรายได้ให้กับประเทศ โดย ภาครัฐได้ประกาศให้ 1 ใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่จะเป็น New S Curve ในอนาคต เพื่อผลักประเทศให้หลุดจากกับดักรายได้ปานกลางให้ก้าวสู่เศรษฐกิจใหม่ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถเติบโตในระยะยาวได้อย่างยั่งยืน
.
#อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ #New_S_Curve #อาวุธ
Category:
Tags: